วันที่ 13 พฤศจิกายน 2567 องค์การจัดการน้ำเสีย โดยศูนย์บริหารจัดการคุณภาพน้ำเทศบาลนครระยอง เข้าร่วมจัดนิทรรศการด้านสิ่งแวดล้อม สำหรับการประเมินสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ระดับประเทศ ประจำปี 2567 ณ เทศบาลนครระยอง จังหวัดระยอง
วันที่ 1 ธันวาคม 2564 ณ บริเวณหน้าศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นำคณะผู้บริหารและบุคลากรของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทย เข้าร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายสักการะพระอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เนื่องในวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ องค์ปฐมเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยเพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระองค์ท่านที่ได้ทรงบำเพ็ญประโยชน์ต่อประเทศชาตินานัปการ ในการนี้ องค์การจัดการน้ำเสีย นำโดยนายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย (อจน.) พร้อมคณะผู้บริหารและพนักงาน อจน. เข้าร่วมในพิธีดังกล่าวด้วย
ระหว่างวันที่ 24 – 25 พฤศจิกายน 2564 คณะกรรมการองค์การจัดการน้ำเสีย มีการประชุมคณะกรรมการองค์การจัดการน้ำเสีย ครั้งที่ 10/2564 และประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนวิสาหกิจองค์การจัดการน้ำเสีย พ.ศ. 2566-2570 ณ โรงแรม Centara Grand Beach Resort & Villas Hua Hin พร้อมทั้งตรวจเยี่ยมการดำเนินงานบริหารจัดการโรงปรับปรุงคุณภาพน้ำ เทศบาลเมืองชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ ลาดพร้าว กรุงเทพฯ ได้มีการจัดพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือการบริหารจัดการน้ำเสียระหว่าง องค์การตลาด สังกัดกระทรวงมหาดไทย โดยนายวิทยา ทรัพย์เย็น รองผู้อำนวยการองค์การตลาด ทำการแทนผู้อำนวยการองค์การตลาด ร่วมกับ นายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย ซึ่งสังกัดกระทรวงมหาดไทย เช่นเดียวกัน โดยมีนายศุภาโชติ มะหลีแก้ว เลขานุการองค์การตลาด ร่วมเป็นสักขีพยาน นายวิทยา ทรัพย์เย็น รองผู้อำนวยการองค์การตลาด ทำการแทนผู้อำนวยการองค์การตลาด กล่าวว่า รู้สึกยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่องค์การจัดการน้ำเสีย และองค์การตลาด ได้มีการบูรณาการความร่วมมือเพื่อให้การบริหารจัดการ ควบคุมดูแล และกำจัดของเสียที่เกิดขึ้นในตลาดมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้ ตามมาตรฐานของตลาดกำหนดให้ต้องมีที่รวบรวมมูลฝอย บ่อดักไขมันหรือบ่อพักน้ำเสีย และระบบบำบัดน้ำเสีย ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ซึ่งการลงนามบันทึกความร่วมมือในวันนี้ จะเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยสนับสนุนให้ตลาดสาธารณะมีการบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียให้เดินระบบอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด ซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจขององค์การตลาด ที่มุ่งเน้นการพัฒนาตลาดสาธารณะในประเทศไทยให้มีมาตรฐาน ทันสมัย ถูกสุขลักษณะ สะอาดและปลอดภัยเพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชน ด้าน นายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย กล่าวถึงความเป็นมาของการลงนามบันทึกความร่วมมือการบริหารจัดการน้ำเสียร่วมกับองค์การตลาด โดยมีเจตนารมณ์เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียขององค์การตลาดให้มีประสิทธิภาพ เนื่องจากน้ำเสียที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมในตลาดมีความสกปรกจำเป็นต้องมีการบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการที่เหมาะสม และน้ำทิ้งที่จะระบายออกสู่ภายนอกต้องมีคุณภาพน้ำเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด เพื่อไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อแหล่งน้ำและเหตุเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ใกล้เคียง โดยการลงนามบันทึกความร่วมมือในวันนี้ จะนำไปสู่การสนับสนุนการดำเนินงานและแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการน้ำเสีย พร้อมทั้งถ่ายทอดองค์ความรู้และทักษะการควบคุมดูแลระบบบำบัดน้ำเสียให้กับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เมื่อเวลา 09.00 น. วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ ลาดพร้าว กรุงเทพฯ ได้มีการจัดพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือการบริหารจัดการน้ำเสียระหว่าง องค์การจัดการน้ำเสีย โดยนายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย สังกัดกระทรวงมหาดไทย ร่วมกับ นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ สังกัด กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีนางสาวปรีญาพร สุวรรณเกษ รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ และนายสุชัย เจนพจนารถ รองผู้อำนวยการวิชาการและแผน องค์การจัดการน้ำเสีย ร่วมเป็นสักขีพยาน นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กล่าวว่า รู้สึกยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่องค์การจัดการน้ำเสีย และกรมควบคุมมลพิษ ได้มีการผนึกกำลังร่วมกัน เพื่อยกระดับคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการน้ำเสียของประเทศไทย โดยการลงนามบันทึกความร่วมมือในวันนี้ จะเป็นก้าวสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการบูรณาการการทำงานร่วมกันในเชิงรุก มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาการจัดการน้ำเสียในระดับพื้นที่ เพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนได้ทันต่อสถานการณ์ รวมทั้งจะเป็นประโยชน์ต่อการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ฐานข้อมูลด้านการจัดการคุณภาพน้ำต่างๆ ซึ่งจะส่งผลให้การบริหารจัดการแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำเกิดความรวดเร็ว และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการควบคุม ป้องกัน และแก้ไขปัญหามลพิษอย่างยั่งยืนต่อไป ด้าน นายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย กล่าวถึงความเป็นมาของการลงนามบันทึกความร่วมมือการจัดการคุณภาพน้ำร่วมกับกรมควบคุมมลพิษ โดยมีเจตนารมณ์เพื่อบูรณาการการเฝ้าระวังและประเมินสถานการณ์คุณภาพน้ำของประเทศ ตลอดจนขับเคลื่อนการก่อสร้างและบริหารจัดการน้ำเสียชุมชน และการบริการจัดการระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ภายใต้แผนปฏิบัติการด้านการจัดการน้ำเสียชุมชน ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561– 2580) ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพน้ำของแหล่งน้ำทั่วประเทศให้อยู่ในเกณฑ์ดี ส่งผลต่อการใช้ประโยชน์ของประชาชนไม่น้อยกว่า 10 ล้านคน นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และฐานข้อมูลที่เกี่ยวกับการดำเนินงานระบบบำบัดน้ำเสียชุมชน และการประเมินสถานการณ์คุณภาพน้ำ ซึ่งจะเป็นการผสานความร่วมมือในการบริหารจัดการ แก้ไขปัญหามลพิษทางน้ำของประเทศไทย ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
วันนี้ (20 ต.ค. 64) เวลา 09.30 น. ที่ห้องประชุมดำรงธรรม อาคารศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานการประชุมติดตามการดำเนินงานพัฒนาคลองแม่ข่า จังหวัดเชียงใหม่ ผ่านระบบ Video Conference โดยมี นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร รองปลัดกระทรวงมหาดไทย หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านสาธารณภัยและพัฒนาเมือง นายพงษ์นรา เย็นยิ่ง รองอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง นายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย นายประจญ ปรัชญ์สกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นายรัฐพล นราดิศร รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นายพิชัย เลิศพงศ์อดิศร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ นายอัศนี บูรณุปกรณ์ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ นายนที ดำรงค์ นายกเทศมนตรีตำบลสันทรายหลวง รองศาสตราจารย์ชูโชค อายุพงศ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานแนวทางตามหลักการทรงงาน ซึ่งได้ทรงเน้นย้ำหลัก “บวร” คือ การทำงานร่วมกันของบ้าน วัด ราชการ และจิตอาสา ซึ่งเป็นหลักการทำงานที่ชาวมหาดไทยยึดถือมาตั้งแต่ในอดีตถึงปัจจุบัน โดยการแก้ไขปัญหาคลองแม่ข่า จังหวัดเชียงใหม่ มีผู้นำท้องถิ่นที่สำคัญ คือ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ และนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ เป็นภาคีสำคัญในการแก้ปัญหาบำบัดน้ำเสียคลองแม่ข่า และการจัดการสิ่งแวดล้อมของจังหวัดเชียงใหม่ นอกจากนี้ วันนี้ได้เชิญนายกเทศมนตรีตำบลสันทรายหลวง ซึ่งประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาลำน้ำคูคลองมาร่วมนำเสนอวิธีขับเคลื่อนการขับเคลื่อนให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งทุกความคิดเห็น ทุกความปรารถนาดีที่ทุกคนมีกับบ้านเมือง จะเป็นแนวทางที่สำคัญในการขับเคลื่อนงาน โดยร่วมระดมสรรพกำลัง สรรพความคิดเห็น ประสบการณ์ ของคนในสังคม มาช่วยกันในการทำสิ่งที่ดีให้เกิดขึ้นกับส่วนรวม ซึ่งผมมีแนวคิดในการขับเคลื่อนงานว่า “Change for good” ซึ่งหมายถึง การจะสร้างสิ่งดีให้เกิดขึ้น ต้องเป็นเป้าหมายที่สำคัญของชีวิตทุกคน ใครที่มีประสบการณ์ มีความรู้ ความสามารถ ไม่ว่าจะอยู่ภาคส่วนไหน และมีจิตอาสาช่วยงาน เมื่อทุกท่านเข้ามามีส่วนร่วมก็จะเกิดสิ่งดีและมีค่าแก่สังคม นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงอยากเห็นบ้านเมืองของเรามีความสะอาด สวยงาม ผู้คนมีความรัก ความสามัคคี ช่วยกันฟื้นฟูสิ่งที่เคยดีงามและเสียหายไป ดังพระราชดำรัสที่พระราชทานให้พวกเราช่วยกัน “แก้ไขในสิ่งผิด” ซึ่ง “คลองแม่ข่า” ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ผิดพลาดอยู่ นั่นคือ แต่เดิมมีความสวยงาม สะอาด ร่มรื่น แต่ปัจจุบันน้ำเน่าเสีย ลำน้ำมีความสกปรก รกรุงรัง ไม่มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ในเรื่องของการเคารพสาธารณสถาน ซึ่งกระทรวงมหาดไทย ได้สนองพระราชดำริ ในการดำเนินงานพัฒนาคลองแม่ข่า โดย พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ลงพื้นที่ติดตามการแก้ไขปัญหาและประชุมหารือร่วมกับทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่อง เพื่อจะได้ร่วมกันดำเนินงานแก้ไขปัญหาบนพื้นฐานของการพยายามทำให้เกิดความเดือดร้อนต่อพี่น้องประชาชนน้อยที่สุด และทุกคนทุกฝ่ายได้รับการดูแลกัน โดยกระทรวงมหาดไทย จะดำเนินการช่วยเหลือ ติดตาม และสนับสนุนการบริหารงานแก้ไขปัญหาคลองแม่ข่าของจังหวัดเชียงใหม่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และพี่น้องประชาชนอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นประเด็นสำคัญในการแก้ไขปัญหาการจัดการน้ำเสียและสิ่งแวดล้อมที่ดีเพื่อพี่น้องประชาชน ซึ่งเราจะให้คลองแม่ข่า เป็นต้นแบบของจังหวัดภาคเหนือในการช่วยกันฟื้นฟูแม่น้ำลำคลอง และคุณภาพชีวิต ชีวิตความเป็นอยู่ สิ่งแวดล้อมชุมชนเมือง ให้มีสภาวะที่ดี เหมาะสมกับการเป็นที่อยู่อาศัย เหมาะสมกับการเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่ไม่เป็นต้นเหตุทำให้เกิดโรคระบาด ซึ่งในขณะนี้ จังหวัดเชียงใหม่ได้ร่วมกับทุกภาคส่วนดำเนินการไปมีความก้าวหน้าพอสมควรแล้ว จากนั้น ที่ประชุมได้นำเสนอความก้าวหน้าของการดำเนินงานพัฒนาคลองแม่ข่า รวมทั้งข้อคิดเห็นในการพัฒนาคลองแม่ข่าให้เกิดประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม และเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนอย่างยั่งยืน นายประจญ ปรัชญ์สกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวต่อว่า จากในอดีตที่ผ่านมาจนถึงทุกวันนี้ การดำเนินงานพัฒนาคลองแม่ข่า มีความก้าวหน้าในระดับหนึ่ง ซึ่งจังหวัดเชียงใหม่จะได้เร่งดำเนินการขับเคลื่อนและต่อยอดให้สมบูรณ์ต่อเนื่อง โดยเน้นชุมชนคนริมคลองและบูรณาการภาคเอกชน โดยใช้ชุมชนช่วยคิด ช่วยทำ ให้เกิดมรรคผล และจะสานต่อแนวคิดการขับเคลื่อนพัฒนาคลองแม่ข่าของท่านอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์ ให้สำเร็จ ซึ่งจะเกิดประโยชน์กับประชาชน และเกิดการพัฒนาสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่ โดยจังหวัดเชียงใหม่ ได้นำเสนอความก้าวหน้าของการดำเนินงานพัฒนาคลองแม่ข่า จำนวน 3 ช่วง ตั้งแต่อำเภอแม่ริม อำเภอเมืองเชียงใหม่ และอำเภอหางดง ความยาวกว่า 30 กิโลเมตร สภาพปัญหาที่สำคัญที่ผ่านมา เช่น การรุกล้ำลำน้ำ คุณภาพน้ำ สภาพตื้นเขิน และการขาดความร่วมมือของผู้ประกอบการ และชุมชน เป็นต้น การขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาของทุกภาคส่วน ตามมาตรการต่าง ๆ มีความก้าวหน้าเป็นลำดับเช่น เช่น การจัดหาน้ำต้นทุน ภายใต้โครงการน้ำดีไล่น้ำเสีย ด้วยการนำน้ำดีจากคลองส่งน้ำแม่แตง การขุดลอกลำห้วย การปรับปรุงระบบ ส่งน้ำ และการปรับปรุงแก้มลิง การแก้ไขการบุกรุกที่ดิน การปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสีย การบังคับใช้กฎหมาย การสร้างจิตสำนึกชุมชน จิตอาสา และการปรับปรุงภูมิทัศน์ ปลูกต้นไม้ เป็นต้น ด้าน รองศาสตราจารย์ชูโชค อายุพงศ์ กล่าวว่า การพัฒนาคลองแม่ข่า ได้ขับเคลื่อนภายใต้วิสัยทัศน์ “ คลองสวย น้ำใส ไหลดี ชุมชนมีสุข” มีความก้าวหน้ากว่าร้อยละ 60 “น้ำเสีย” เป็นประเด็นสำคัญที่ต้อง ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาฯ ขอให้กระทรวงมหาดไทยช่วยเร่งรัดการทำงานใน 3 เรื่อง ได้แก่ (1) กรมโยธาธิการและผังเมือง : การดำเนินงานก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วม ระบบการระบายน้ำ ระยะที่ 2 ที่อยู่ระหว่างดำเนินการให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลา (2) องค์การจัดการน้ำเสีย : การสำรวจ ออกแบบ ระบบบำบัดน้ำเสียรวมของจังหวัดเชียงใหม่ และความพร้อมในทุกด้าน เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณในแหล่งต่าง ๆ และ (3) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น : การปรับปรุงสภาพแวดล้อม ภูมิทัศน์ ตลอดจนการดูแลรักษา ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยว ดังเช่นการพัฒนาคลองโอ่งอ่างที่กรุงเทพมหานคร เป็นต้น นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เน้นย้ำว่า ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ได้นำข้อสั่งการของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้เน้นย้ำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกข้อบัญญัติในการพิจารณาออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารบ้านเรือน
อจน. ร่วมพิธีบำเพ็ญกุศลและน้อมรำลึกเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ประจำปี 2564 วันที่ 13 ตุลาคม 2564 นายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย พร้อมด้วยผู้บริหาร อจน. ร่วมพิธีวางพวงมาลา และถวายบังคมเบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ประจำปี 2564 ณ สำนักงานองค์การจัดการน้ำเสีย อาคารเล้าเป้งง้วน1 ชั้น 23
วันที่ 1 ธันวาคม 2564 ณ บริเวณหน้าศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นำคณะผู้บริหารและบุคลากรของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทย เข้าร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายสักการะพระอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เนื่องในวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ องค์ปฐมเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยเพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระองค์ท่านที่ได้ทรงบำเพ็ญประโยชน์ต่อประเทศชาตินานัปการ ในการนี้ องค์การจัดการน้ำเสีย นำโดยนายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย (อจน.) พร้อมคณะผู้บริหารและพนักงาน อจน. เข้าร่วมในพิธีดังกล่าวด้วย
ระหว่างวันที่ 24 – 25 พฤศจิกายน 2564 คณะกรรมการองค์การจัดการน้ำเสีย มีการประชุมคณะกรรมการองค์การจัดการน้ำเสีย ครั้งที่ 10/2564 และประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนวิสาหกิจองค์การจัดการน้ำเสีย พ.ศ. 2566-2570 ณ โรงแรม Centara Grand Beach Resort & Villas Hua Hin พร้อมทั้งตรวจเยี่ยมการดำเนินงานบริหารจัดการโรงปรับปรุงคุณภาพน้ำ เทศบาลเมืองชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ ลาดพร้าว กรุงเทพฯ ได้มีการจัดพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือการบริหารจัดการน้ำเสียระหว่าง องค์การตลาด สังกัดกระทรวงมหาดไทย โดยนายวิทยา ทรัพย์เย็น รองผู้อำนวยการองค์การตลาด ทำการแทนผู้อำนวยการองค์การตลาด ร่วมกับ นายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย ซึ่งสังกัดกระทรวงมหาดไทย เช่นเดียวกัน โดยมีนายศุภาโชติ มะหลีแก้ว เลขานุการองค์การตลาด ร่วมเป็นสักขีพยาน นายวิทยา ทรัพย์เย็น รองผู้อำนวยการองค์การตลาด ทำการแทนผู้อำนวยการองค์การตลาด กล่าวว่า รู้สึกยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่องค์การจัดการน้ำเสีย และองค์การตลาด ได้มีการบูรณาการความร่วมมือเพื่อให้การบริหารจัดการ ควบคุมดูแล และกำจัดของเสียที่เกิดขึ้นในตลาดมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้ ตามมาตรฐานของตลาดกำหนดให้ต้องมีที่รวบรวมมูลฝอย บ่อดักไขมันหรือบ่อพักน้ำเสีย และระบบบำบัดน้ำเสีย ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ซึ่งการลงนามบันทึกความร่วมมือในวันนี้ จะเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยสนับสนุนให้ตลาดสาธารณะมีการบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียให้เดินระบบอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด ซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจขององค์การตลาด ที่มุ่งเน้นการพัฒนาตลาดสาธารณะในประเทศไทยให้มีมาตรฐาน ทันสมัย ถูกสุขลักษณะ สะอาดและปลอดภัยเพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชน ด้าน นายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย กล่าวถึงความเป็นมาของการลงนามบันทึกความร่วมมือการบริหารจัดการน้ำเสียร่วมกับองค์การตลาด โดยมีเจตนารมณ์เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียขององค์การตลาดให้มีประสิทธิภาพ เนื่องจากน้ำเสียที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมในตลาดมีความสกปรกจำเป็นต้องมีการบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการที่เหมาะสม และน้ำทิ้งที่จะระบายออกสู่ภายนอกต้องมีคุณภาพน้ำเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด เพื่อไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อแหล่งน้ำและเหตุเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ใกล้เคียง โดยการลงนามบันทึกความร่วมมือในวันนี้ จะนำไปสู่การสนับสนุนการดำเนินงานและแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการน้ำเสีย พร้อมทั้งถ่ายทอดองค์ความรู้และทักษะการควบคุมดูแลระบบบำบัดน้ำเสียให้กับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เมื่อเวลา 09.00 น. วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ ลาดพร้าว กรุงเทพฯ ได้มีการจัดพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือการบริหารจัดการน้ำเสียระหว่าง องค์การจัดการน้ำเสีย โดยนายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย สังกัดกระทรวงมหาดไทย ร่วมกับ นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ สังกัด กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีนางสาวปรีญาพร สุวรรณเกษ รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ และนายสุชัย เจนพจนารถ รองผู้อำนวยการวิชาการและแผน องค์การจัดการน้ำเสีย ร่วมเป็นสักขีพยาน นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กล่าวว่า รู้สึกยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่องค์การจัดการน้ำเสีย และกรมควบคุมมลพิษ ได้มีการผนึกกำลังร่วมกัน เพื่อยกระดับคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการน้ำเสียของประเทศไทย โดยการลงนามบันทึกความร่วมมือในวันนี้ จะเป็นก้าวสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการบูรณาการการทำงานร่วมกันในเชิงรุก มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาการจัดการน้ำเสียในระดับพื้นที่ เพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนได้ทันต่อสถานการณ์ รวมทั้งจะเป็นประโยชน์ต่อการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ฐานข้อมูลด้านการจัดการคุณภาพน้ำต่างๆ ซึ่งจะส่งผลให้การบริหารจัดการแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำเกิดความรวดเร็ว และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการควบคุม ป้องกัน และแก้ไขปัญหามลพิษอย่างยั่งยืนต่อไป ด้าน นายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย กล่าวถึงความเป็นมาของการลงนามบันทึกความร่วมมือการจัดการคุณภาพน้ำร่วมกับกรมควบคุมมลพิษ โดยมีเจตนารมณ์เพื่อบูรณาการการเฝ้าระวังและประเมินสถานการณ์คุณภาพน้ำของประเทศ ตลอดจนขับเคลื่อนการก่อสร้างและบริหารจัดการน้ำเสียชุมชน และการบริการจัดการระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ภายใต้แผนปฏิบัติการด้านการจัดการน้ำเสียชุมชน ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561– 2580) ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพน้ำของแหล่งน้ำทั่วประเทศให้อยู่ในเกณฑ์ดี ส่งผลต่อการใช้ประโยชน์ของประชาชนไม่น้อยกว่า 10 ล้านคน นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และฐานข้อมูลที่เกี่ยวกับการดำเนินงานระบบบำบัดน้ำเสียชุมชน และการประเมินสถานการณ์คุณภาพน้ำ ซึ่งจะเป็นการผสานความร่วมมือในการบริหารจัดการ แก้ไขปัญหามลพิษทางน้ำของประเทศไทย ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
วันนี้ (20 ต.ค. 64) เวลา 09.30 น. ที่ห้องประชุมดำรงธรรม อาคารศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานการประชุมติดตามการดำเนินงานพัฒนาคลองแม่ข่า จังหวัดเชียงใหม่ ผ่านระบบ Video Conference โดยมี นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร รองปลัดกระทรวงมหาดไทย หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านสาธารณภัยและพัฒนาเมือง นายพงษ์นรา เย็นยิ่ง รองอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง นายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย นายประจญ ปรัชญ์สกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นายรัฐพล นราดิศร รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นายพิชัย เลิศพงศ์อดิศร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ นายอัศนี บูรณุปกรณ์ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ นายนที ดำรงค์ นายกเทศมนตรีตำบลสันทรายหลวง รองศาสตราจารย์ชูโชค อายุพงศ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานแนวทางตามหลักการทรงงาน ซึ่งได้ทรงเน้นย้ำหลัก “บวร” คือ การทำงานร่วมกันของบ้าน วัด ราชการ และจิตอาสา ซึ่งเป็นหลักการทำงานที่ชาวมหาดไทยยึดถือมาตั้งแต่ในอดีตถึงปัจจุบัน โดยการแก้ไขปัญหาคลองแม่ข่า จังหวัดเชียงใหม่ มีผู้นำท้องถิ่นที่สำคัญ คือ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ และนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ เป็นภาคีสำคัญในการแก้ปัญหาบำบัดน้ำเสียคลองแม่ข่า และการจัดการสิ่งแวดล้อมของจังหวัดเชียงใหม่ นอกจากนี้ วันนี้ได้เชิญนายกเทศมนตรีตำบลสันทรายหลวง ซึ่งประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาลำน้ำคูคลองมาร่วมนำเสนอวิธีขับเคลื่อนการขับเคลื่อนให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งทุกความคิดเห็น ทุกความปรารถนาดีที่ทุกคนมีกับบ้านเมือง จะเป็นแนวทางที่สำคัญในการขับเคลื่อนงาน โดยร่วมระดมสรรพกำลัง สรรพความคิดเห็น ประสบการณ์ ของคนในสังคม มาช่วยกันในการทำสิ่งที่ดีให้เกิดขึ้นกับส่วนรวม ซึ่งผมมีแนวคิดในการขับเคลื่อนงานว่า “Change for good” ซึ่งหมายถึง การจะสร้างสิ่งดีให้เกิดขึ้น ต้องเป็นเป้าหมายที่สำคัญของชีวิตทุกคน ใครที่มีประสบการณ์ มีความรู้ ความสามารถ ไม่ว่าจะอยู่ภาคส่วนไหน และมีจิตอาสาช่วยงาน เมื่อทุกท่านเข้ามามีส่วนร่วมก็จะเกิดสิ่งดีและมีค่าแก่สังคม นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงอยากเห็นบ้านเมืองของเรามีความสะอาด สวยงาม ผู้คนมีความรัก ความสามัคคี ช่วยกันฟื้นฟูสิ่งที่เคยดีงามและเสียหายไป ดังพระราชดำรัสที่พระราชทานให้พวกเราช่วยกัน “แก้ไขในสิ่งผิด” ซึ่ง “คลองแม่ข่า” ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ผิดพลาดอยู่ นั่นคือ แต่เดิมมีความสวยงาม สะอาด ร่มรื่น แต่ปัจจุบันน้ำเน่าเสีย ลำน้ำมีความสกปรก รกรุงรัง ไม่มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ในเรื่องของการเคารพสาธารณสถาน ซึ่งกระทรวงมหาดไทย ได้สนองพระราชดำริ ในการดำเนินงานพัฒนาคลองแม่ข่า โดย พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ลงพื้นที่ติดตามการแก้ไขปัญหาและประชุมหารือร่วมกับทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่อง เพื่อจะได้ร่วมกันดำเนินงานแก้ไขปัญหาบนพื้นฐานของการพยายามทำให้เกิดความเดือดร้อนต่อพี่น้องประชาชนน้อยที่สุด และทุกคนทุกฝ่ายได้รับการดูแลกัน โดยกระทรวงมหาดไทย จะดำเนินการช่วยเหลือ ติดตาม และสนับสนุนการบริหารงานแก้ไขปัญหาคลองแม่ข่าของจังหวัดเชียงใหม่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และพี่น้องประชาชนอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นประเด็นสำคัญในการแก้ไขปัญหาการจัดการน้ำเสียและสิ่งแวดล้อมที่ดีเพื่อพี่น้องประชาชน ซึ่งเราจะให้คลองแม่ข่า เป็นต้นแบบของจังหวัดภาคเหนือในการช่วยกันฟื้นฟูแม่น้ำลำคลอง และคุณภาพชีวิต ชีวิตความเป็นอยู่ สิ่งแวดล้อมชุมชนเมือง ให้มีสภาวะที่ดี เหมาะสมกับการเป็นที่อยู่อาศัย เหมาะสมกับการเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่ไม่เป็นต้นเหตุทำให้เกิดโรคระบาด ซึ่งในขณะนี้ จังหวัดเชียงใหม่ได้ร่วมกับทุกภาคส่วนดำเนินการไปมีความก้าวหน้าพอสมควรแล้ว จากนั้น ที่ประชุมได้นำเสนอความก้าวหน้าของการดำเนินงานพัฒนาคลองแม่ข่า รวมทั้งข้อคิดเห็นในการพัฒนาคลองแม่ข่าให้เกิดประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม และเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนอย่างยั่งยืน นายประจญ ปรัชญ์สกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวต่อว่า จากในอดีตที่ผ่านมาจนถึงทุกวันนี้ การดำเนินงานพัฒนาคลองแม่ข่า มีความก้าวหน้าในระดับหนึ่ง ซึ่งจังหวัดเชียงใหม่จะได้เร่งดำเนินการขับเคลื่อนและต่อยอดให้สมบูรณ์ต่อเนื่อง โดยเน้นชุมชนคนริมคลองและบูรณาการภาคเอกชน โดยใช้ชุมชนช่วยคิด ช่วยทำ ให้เกิดมรรคผล และจะสานต่อแนวคิดการขับเคลื่อนพัฒนาคลองแม่ข่าของท่านอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์ ให้สำเร็จ ซึ่งจะเกิดประโยชน์กับประชาชน และเกิดการพัฒนาสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่ โดยจังหวัดเชียงใหม่ ได้นำเสนอความก้าวหน้าของการดำเนินงานพัฒนาคลองแม่ข่า จำนวน 3 ช่วง ตั้งแต่อำเภอแม่ริม อำเภอเมืองเชียงใหม่ และอำเภอหางดง ความยาวกว่า 30 กิโลเมตร สภาพปัญหาที่สำคัญที่ผ่านมา เช่น การรุกล้ำลำน้ำ คุณภาพน้ำ สภาพตื้นเขิน และการขาดความร่วมมือของผู้ประกอบการ และชุมชน เป็นต้น การขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาของทุกภาคส่วน ตามมาตรการต่าง ๆ มีความก้าวหน้าเป็นลำดับเช่น เช่น การจัดหาน้ำต้นทุน ภายใต้โครงการน้ำดีไล่น้ำเสีย ด้วยการนำน้ำดีจากคลองส่งน้ำแม่แตง การขุดลอกลำห้วย การปรับปรุงระบบ ส่งน้ำ และการปรับปรุงแก้มลิง การแก้ไขการบุกรุกที่ดิน การปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสีย การบังคับใช้กฎหมาย การสร้างจิตสำนึกชุมชน จิตอาสา และการปรับปรุงภูมิทัศน์ ปลูกต้นไม้ เป็นต้น ด้าน รองศาสตราจารย์ชูโชค อายุพงศ์ กล่าวว่า การพัฒนาคลองแม่ข่า ได้ขับเคลื่อนภายใต้วิสัยทัศน์ “ คลองสวย น้ำใส ไหลดี ชุมชนมีสุข” มีความก้าวหน้ากว่าร้อยละ 60 “น้ำเสีย” เป็นประเด็นสำคัญที่ต้อง ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาฯ ขอให้กระทรวงมหาดไทยช่วยเร่งรัดการทำงานใน 3 เรื่อง ได้แก่ (1) กรมโยธาธิการและผังเมือง : การดำเนินงานก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วม ระบบการระบายน้ำ ระยะที่ 2 ที่อยู่ระหว่างดำเนินการให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลา (2) องค์การจัดการน้ำเสีย : การสำรวจ ออกแบบ ระบบบำบัดน้ำเสียรวมของจังหวัดเชียงใหม่ และความพร้อมในทุกด้าน เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณในแหล่งต่าง ๆ และ (3) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น : การปรับปรุงสภาพแวดล้อม ภูมิทัศน์ ตลอดจนการดูแลรักษา ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยว ดังเช่นการพัฒนาคลองโอ่งอ่างที่กรุงเทพมหานคร เป็นต้น นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เน้นย้ำว่า ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ได้นำข้อสั่งการของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้เน้นย้ำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกข้อบัญญัติในการพิจารณาออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารบ้านเรือน
อจน. ร่วมพิธีบำเพ็ญกุศลและน้อมรำลึกเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ประจำปี 2564 วันที่ 13 ตุลาคม 2564 นายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย พร้อมด้วยผู้บริหาร อจน. ร่วมพิธีวางพวงมาลา และถวายบังคมเบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ประจำปี 2564 ณ สำนักงานองค์การจัดการน้ำเสีย อาคารเล้าเป้งง้วน1 ชั้น 23