องค์การจัดการน้ำเสีย กระทรวงมหาดไทย
ข่าวสารประชาสัมพันธ์จาก องค์การจัดการน้ำเสีย

นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) แถลงสรุปยอดอุบัติเหตุ 7 วันอันตรายปีใหม่64 เกิดเหตุรวม 3,333 ครั้ง บาดเจ็บรวม 3,326 คน เสียชีวิตรวม 392 ราย สูงกว่าปีก่อน 19 ราย

นิพนธ์ แถลงสรุปยอดอุบัติเหตุ 7 วันอันตรายปีใหม่64 เกิดเหตุรวม 3,333 ครั้ง บาดเจ็บรวม 3,326 คน เสียชีวิตรวม 392 ราย สูงกว่าปีก่อน 19 ราย จ.เชียงรายครองแชมป์ตายสูงสุด 18 ราย จ.เชียงใหม่แชมป์เกิดอุบัติเหตุและมีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุดเปิดสาเหตุหลักมาจากขับรถเร็ว 33.60% รองลงมาคือเมาแล้วขับ 33.06 และเกิดจากรถจยย.มากที่สุด เร่งแก้ไขสั่งจังหวัดที่เกิดเหตุถอดบทเรียนไม่ให้สูญเสียซ้ำ พร้อมขอบคุณจนท.ทุกฝ่าย ทุ่มเท เสียสละ ปฏิบัติงานช่วงเทศกาลปีใหม่เพื่อสร้างความสุขให้คนไทย

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 5 มกราคม 2564 ที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะประธานแถลงข่าวสรุปผลการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2564 กล่าวว่า ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ.2564 ได้รวบรวมสถิติอุบัติเหตุทางถนนประจำวันที่ 4 มกราคม 2564 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการรณรงค์ “ชีวิตวิถีใหม่ ขับขี่อย่างปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ” เกิดอุบัติเหตุ 265 ครั้ง ผู้เสียชีวิต 22 ราย ผู้บาดเจ็บ 271 คน สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ขับรถเร็ว จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ สุราษฎร์ธานี (12 ครั้ง) จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ ลพบุรี (3 ราย) จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุด ได้แก่ สุราษฎร์ธานี (13 คน)

ขณะที่สรุปอุบัติเหตุทางถนนสะสมในช่วง 7 วันของการรณรงค์ (29 ธ.ค.63 – 4 ม.ค. 64) เกิดอุบัติเหตุรวม 3,333 ครั้ง (ลดลงจากปี 2563 ผู้บาดเจ็บรวม 3,326 คน ผู้เสียชีวิตรวม 392 ราย เพิ่มขึ้นจากปี 2563 จำนวน 19ราย จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิตมี 7 จังหวัด ได้แก่ นครนายก นราธิวาส น่าน แม่ฮ่องสอน ระนอง อำนาจเจริญ และอุตรดิตถ์ จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ (115 ครั้ง) จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงราย (18 ราย) จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ (117 คน) สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ขับรถเร็ว ร้อยละ 33.60 ดื่มแล้วขับ ร้อยละ 33.06 พฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุทางถนนสูงสุด ได้แก่ ไม่สวมหมวกนิรภัย ร้อยละ 59.33 ดื่มแล้วขับ ร้อยละ 25.09 ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 82.54 รถปิคอัพ ร้อยละ 6.19 ส่วนใหญ่เกิดบนเส้นทางตรง 65.7

7 ถนนกรมทางหลวง ร้อยละ 37.80 ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ช่วงเวลา 16.01 – 20.00 น. ร้อยละ 27.45

นายนิพนธ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า “จากสถิติอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2564 เปรียบเทียบอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับปี 2563 การเกิดอุบัติเหตุ ลดลง 88 ครั้ง ผู้บาดเจ็บ ลดลง 173 คน ผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 19 ราย ทั้งนี้สาเหตุหลักของอุบัติเหตุทางถนนยังคงเกิดจากการขับรถเร็วเกินกฎหมายกำหนด และดื่มแล้วขับ รวมถึงผู้ใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะที่มีสถิติการเกิดอุบัติเหตุทางถนนสูงสุด ซึ่งศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนได้ประสานจังหวัดบูรณาการสร้างความปลอดภัยทางถนนอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี ภายใต้กลไกของศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนทุกระดับ ทั้งนี้ได้ให้จังหวัดถอดบทเรียนและวิเคราะห์ข้อมูลสถิติอุบัติเหตุทางถนน เพื่อให้ทราบถึงสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงอุบัติเหตุในเชิงลึกอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง รวมทั้งค้นหาปัญหาอุปสรรคและปัจจัยความสำเร็จในการลดอุบัติเหตุทางถนน เพื่อนำไปสู่การกำหนดมาตรการและแนวทางที่เหมาะสมกับสภาพปัญหาอุบัติเหตุทางถนนในแต่ละพื้นที่ นอกจากนี้ ได้เน้นย้ำให้ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนอำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกับเจ้าหน้าที่ ภาคประชาชน จิตอาสา และอาสาสมัคร ขับเคลื่อนการลดอุบัติเหตุทางถนนในชุมชนและหมู่บ้าน โดยเฉพาะการบังคับใช้กฎหมายจราจรอย่างเคร่งครัด เพื่อคุมเข้มพฤติกรรมเสี่ยงที่เป็นปัจจัยทำให้เกิดอุบัติเหตุรุนแรง คือ ดื่มแล้วขับ ขับรถเร็ว และการไม่ใช้อุปกรณ์นิรภัย ควบคู่กับการรณรงค์ประชาสัมพันธ์อย่างจริงจัง เพื่อสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักในการใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัย ตลอดจนปรับเปลี่ยนทัศนคติ ค่านิยม และสร้างจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งจะเป็นรากฐานในการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนนอย่างยั่งยืนในสังคมไทย

ทั้งนี้ ข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่งเป็นข้อมูลฐานเดียว ได้เปิดเผยจำนวนผู้เสียชีวิตในปี 2562 มีจำนวน 17,176 ราย และในปี 2563 มีจำนวน 15,380 รายซึ่งเปรียบเทียบได้ว่าในปีนี้มีแนวโน้มอัตราการเสียชีวิตที่เริ่มลดลงและเริ่มลดลงต่อเนื่องเมื่อเริ่มนับตั้งแต่ปี 2559 ที่อัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ประมาณ 22,000 ราย อย่างไรก็ตาม ยังต้องรอข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานตำรวจแห่งชาติถึงการสรุปภาพรวมการเสียชีวิตให้ครบเป็นข้อมูลสามฐานอีกครั้ง

“ขอขอบคุณหน่วยงานทุกภาคส่วน เครือข่ายอาสาสมัคร กลุ่มจิตอาสา และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการอำนวยความสะดวกและสร้างความปลอดภัยแก่ประชาชนในการเดินทาง ด้วยความทุ่มเท เสียสละ อดทน และเข้มแข็ง เพื่อร่วมกันสร้างความปลอดภัยทางถนนอย่างยั่งยืนต่อไป”นายนิพนธ์กล่าว

ข่าวสารล่าสุดจากองค์การจัดการน้ำเสีย

นิทรรศการด้านสิ่งแวดล้อม สำหรับการประเมินสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ระดับประเทศ ประจำปี 2567 ณ เทศบาลนครระยอง จังหวัดระยอง

วันที่ 13 พฤศจิกายน 2567 องค์การจัดการน้ำเสีย โดยศูนย์บริหารจัดการคุณภาพน้ำเทศบาลนครระยอง เข้าร่วมจัดนิทรรศการด้านสิ่งแวดล้อม สำหรับการประเมินสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ระดับประเทศ ประจำปี 2567 ณ เทศบาลนครระยอง จังหวัดระยอง

อ่านรายละเอียด »

วันที่ 5 พฤศจิกายน 2567 สำนักงานจัดการน้ำเสียสาขาพะเยา ให้การต้อนรับ และอำนวยความสะดวกในการเก็บตัวอย่างน้ำแต่ละจุด แก่อาจารย์และนิสิต สาขาวิชาจุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา ที่ลงพื้นที่เก็บตัวอย่างน้ำจากระบบบำบัดน้ำเสียเทศบาลเมืองพะเยา เพื่อทำวิจัย เรื่อง “การตรวจหาแบคทีเรียดื้อยา ที่ปนเปื้อนในน้ำเสีย”

วันที่ 5 พฤศจิกายน 2567 องค์การจัดการน้ำเสีย สำนักงานจัดการน้ำเสียสาขาพะเยา โดยนางสาวโรสรินทร์ อินทวงศ์ รักษาการผู้จัดการ และนักวิทยาศาสตร์ ประจำสำนักงานจัดการน้ำเสียสาขาพะเยา ให้การต้อนรับ และอำนวยความสะดวกในการเก็บตัวอย่างน้ำแต่ละจุด แก่อาจารย์และนิสิต สาขาวิชาจุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา ที่ลงพื้นที่เก็บตัวอย่างน้ำจากระบบบำบัดน้ำเสียเทศบาลเมืองพะเยา เพื่อทำวิจัย เรื่อง “การตรวจหาแบคทีเรียดื้อยา ที่ปนเปื้อนในน้ำเสีย”

อ่านรายละเอียด »

วันที่ 30 ตุลาคม 2567 ศูนย์บริหารจัดการคุณภาพน้ำพื้นที่เกาะพีพี ดำเนินการต้อนรับนายประเสริฐ วงษ์นา รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลอ่าวนาง พร้อมด้วยนายวิเชษฐ์ ขวัญข้าว ปลัดอบต.อ่างนาง และนางสาวหทัยทิพย์ วิไลรัตน์ หัวหน้าสำนักปลัด ที่เข้าเยี่ยมชมและรับฟังการบรรยายระบบบำบัดน้ำเสียของศูนย์บริหารจัดการคุณภาพน้ำพื้นที่เกาะพีพี จังหวัดภูเก็ต

วันที่ 30 ตุลาคม 2567 องค์การจัดการน้ำเสีย ศูนย์บริหารจัดการคุณภาพน้ำพื้นที่เกาะพีพี ดำเนินการต้อนรับนายประเสริฐ วงษ์นา รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลอ่าวนาง พร้อมด้วยนายวิเชษฐ์ ขวัญข้าว ปลัดอบต.อ่างนาง และนางสาวหทัยทิพย์ วิไลรัตน์ หัวหน้าสำนักปลัด ที่เข้าเยี่ยมชมและรับฟังการบรรยายระบบบำบัดน้ำเสียของศูนย์บริหารจัดการคุณภาพน้ำพื้นที่เกาะพีพี จังหวัดภูเก็ต

อ่านรายละเอียด »

วันที่ 29 ตุลาคม 2567 สำนักงานจัดการน้ำเสียสาขากระบี่ ให้การต้อนรับนายอธิรักษ์ บุพจันโท รองผู้อำนวยการปฏิบัติการ ที่ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมพร้อมมอบนโยบายในการปฏิบัติงาน

วันที่ 29 ตุลาคม 2567 องค์การจัดการน้ำเสีย สำนักงานจัดการน้ำเสียสาขากระบี่ โดยนายอมรชัย หิรัญรัตน์ รักษาการผู้จัดการสำนักงานจัดการน้ำเสียสาขากระบี่ พร้อมพนักงานและลูกจ้าง ให้การต้อนรับนายอธิรักษ์ บุพจันโท รองผู้อำนวยการปฏิบัติการ ที่ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมพร้อมมอบนโยบายในการปฏิบัติงาน

อ่านรายละเอียด »