องค์การจัดการน้ำเสีย กระทรวงมหาดไทย
ข่าวสารประชาสัมพันธ์จาก องค์การจัดการน้ำเสีย

นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) นำชาวสงขลาร่วมงานบุญใหญ่สมโภช “เสาหลักเมืองสงขลา” ครบรอบ 179 ปี สืบสานวัฒนธรรมประวัติศาสตร์ความดีงาม แทนคุณแผ่นดิน เสริมศิริมงคลให้ชีวิต

“นิพนธ์” นำชาวสงขลาร่วมงานบุญใหญ่สมโภช “เสาหลักเมืองสงขลา” ครบรอบ 179 ปี สืบสานวัฒนธรรมประวัติศาสตร์ความดีงาม แทนคุณแผ่นดิน เสริมศิริมงคลให้ชีวิต

เมื่อเวลา 08.00 น. วันที่ 10 มีนาคม 2564 ที่ บริเวณหน้าศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสงขลาถ.นางงาม อ.เมืองสงขลา นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธีทำบุญตักบาตรเนื่องในพิธีสมโภชเสาหลักเมืองสงขลาครบ 179 ปี โดยมีนายจารุวัฒน์ เกลี้ยงเกลา ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา นางกัญจนา เกลี้ยงเกลา ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดสงขลา นางสุรียพรรณ์ ณ สงขลา นายวรณัฏฐ์ หนูรอต รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ และประชาชนชาวสงขลา เข้าร่วมภายใต้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด-19

สำหรับความเป็นมาของเสาหลักเมืองสงขลา จากการศึกษาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ พบว่า เมืองสงขลาย้ายสถานที่ตั้งเมืองมาแล้ว 3 ครั้ง โดยเริ่มจาก
เมืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดง ซึ่งปรากฎหลักฐานทางโบราณสถานและโบราณวัตถุหลายแห่ง แต่บ้านเมืองถูกทำลายจากภัยสงครามจนหมดสิ้น จึงย้ายเมืองมาตั้งที่ฝั่งแหลมสน แต่ต้องประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ และลักษณะภูมิศาสตร์เป็นพื้นที่ลาดชัน ไม่มีพื้นที่ราบเพียงพอในการขยายเมือง จึงย้ายเมืองอีกครั้งหนึ่งโดยข้ามทะเลมาอยู่ที่ฝั่งบ่อยาง ซึ่งเป็นเมืองสงขลาในปัจจุบัน โดยในสมัยรัชกาลที่ 3 และในประชุมพงศาวตารได้ระบุความตอนหนึ่งว่า “ครั้น ณ วันเดือน 4 ขึ้น 10 ค่ำ เวลาเช้าเก้าโมง 1 กับ 10 นาที ได้ฤกษ์ พระยาสงขลา
(เถี้ยนเส้ง) กับพระครูอัษฎาจารย์พราหมณ์ได้เชิญหลักไม้ชัยพฤกษ์ลงฝังไว้ที่กลางเมืองสงขลา เป็นเสาหลักเมือง
มีปรากฎอยู่จนทุกวันนี้” ซึ่งตามปฏิทินสุริยคติตรงกับวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2385 หรือเมื่อ 179 ปีมาแล้ว และจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ประเพณี วัฒนธรรมดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของเมืองสงขลา รวมทั้งการตั้งถิ่นฐานของเมืองสงขลาในอดีต จึงเห็นควรกำหนดให้วันที่
๑๐ มีนาคมของทุกปีเป็น “วันสงขลา ” เพื่อระลึกถึงการสถาปนาเมืองสงขลาในยุคปัจจุบัน แม้ความจริงจะมี
ประวัติศาสตร์ยาวนานหลายร้อยปีแล้วก็ตาม เพื่อให้ผู้ที่อาศัยบนแผ่นดินนี้ ทั้งที่เป็นถิ่นกำเนิด พักพิง
ศึกษาเล่าเรียน และประกอบอาชีพอยู่ทุกหนแห่งในปัจจุบันได้ตระหนัก มีจิตสำนึก และนำมาซึ่งการรวมพลัง
สร้างความรัก ความสามัคคีดำเนินกิจกรรมร่วมกันเป็นการตอบแทนบุญคุณแผ่นดินสืบไป

นอกจากนี้ ภายในศาลหลักเมืองสงขลา ยังมีองค์เทพศักดิ์สิทธิ์ที่คอยปกป้องรักษาเมืองให้พ้นภัยพิบัติต่างๆ และเป็นที่เคารพสักการะ มีองค์เทพเจ้าศักดิ์สิทธิ์ เสี่ยงฮ๋องเหล่าเอี๋ย เจ้าพ่อหลักเมืองสงขลา พระเสื้อเมือง โบ้เชงไต่เต่ พระหมอรักษา ตี่ฮู่อ๋องเอี๋ย เทพเจ้ารักษาโรค และเฉ่งจุ้ยจ้อ พระหมอเทพรักษาโรคภัยของชาวสงขลา ทั้งนี้กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนศาลหลักเมืองเป็นโบราณสถาน เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2478 และในทุกวันที่ 10 มี.ค.จะมีการจัดสมโภชเป็นประจำทุกปีอีกด้วย

ข่าวสารล่าสุดจากองค์การจัดการน้ำเสีย

วันที่ 7 ตุลาคม 2567 คณะอาจารย์ จากโรงเรียนระนองพัฒนามิตรภาพที่ 60 จังหวัดระนอง เข้าเยี่ยมชมระบบ ณ พื้นที่โรงปรับปรุงคุณภาพน้ำ เเละศูนย์การเรียนรู้อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร จังหวัดเพชรบุรี

วันที่ 7 ตุลาคม 2567 เวลา 14.00 – 14.30 น. คณะอาจารย์ จากโรงเรียนระนองพัฒนามิตรภาพที่ 60 จังหวัดระนอง เข้าเยี่ยมชมระบบรวมทั้งหมด 32 คน ณ พื้นที่โรงปรับปรุงคุณภาพน้ำ เเละศูนย์การเรียนรู้อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร จังหวัดเพชรบุรี

อ่านรายละเอียด »

วันที่ 7 ตุลาคม 2567 ณ ศูนย์บริหารจัดการคุณภาพน้ำเทศบาลตำบลเขาน้อย เด็กๆ จากโรงเรียนบ้านตำหรุ ขออนุญาตใช้สนามบอลเพื่อออกกำลังกาย

วันที่ 7 ตุลาคม 2567 เวลา 13.10 น. – 15.00 น. ณ ศูนย์บริหารจัดการคุณภาพน้ำเทศบาลตำบลเขาน้อย เด็กๆ จากโรงเรียนบ้านตำหรุ ขออนุญาตใช้สนามบอลเพื่อออกกำลังกาย

อ่านรายละเอียด »

วันที่ 6 ตุลาคม 2567 เด็กๆ จากโรงเรียนบ้านตำหรุ ขออนุญาตใช้สนามบอลเพื่อออกกำลังกาย ณ ศูนย์บริหารจัดการคุณภาพน้ำเทศบาลตำบลเขาน้อย

เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2567 เวลา 13.56 น. – 16.00 น. ณ ศูนย์บริหารจัดการคุณภาพน้ำเทศบาลตำบลเขาน้อย เด็กๆ จากโรงเรียนบ้านตำหรุ ขออนุญาตใช้สนามบอลเพื่อออกกำลังกาย

อ่านรายละเอียด »

วันที่ 3 ตุลาคม 2567 คณะนักเรียนและอาจารย์ จากโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน กรุงเทพฯ เข้าเยี่ยมชมระบบ ณ พื้นที่โรงปรับปรุงคุณภาพน้ำ เเละศูนย์การเรียนรู้ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร จังหวัดเพชรบุรี

วันที่ 3 ตุลาคม 2567 เวลา 10.00 – 10.40 น. คณะนักเรียนและอาจารย์ จากโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน กรุงเทพฯ เข้าเยี่ยมชมระบบ โดยเเบ่งการเยี่ยมชมเป็น 3 รอบ รอบละ 112 คน รวมทั้งหมด 336 คน ณ พื้นที่โรงปรับปรุงคุณภาพน้ำ เเละศูนย์การเรียนรู้ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร จังหวัดเพชรบุรี

อ่านรายละเอียด »