องค์การจัดการน้ำเสีย กระทรวงมหาดไทย
ข่าวสารประชาสัมพันธ์จาก องค์การจัดการน้ำเสีย

นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) กำชับ องค์การจัดการน้ำเสีย เร่งจับมือ ท้องถิ่น แก้น้ำเสีย 7 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวันเพื่อรักษาสมดุลน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค พร้อมประสานทุกความร่วมมือ ดำเนินแนวทาง”น้ำเสีย อยู่คู่ชุมชนได้”

นิพนธ์ฯ กำชับ องค์การจัดการน้ำเสีย เร่งจับมือ ท้องถิ่น แก้น้ำเสีย 7 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวันเพื่อรักษาสมดุลน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค พร้อมประสานทุกความร่วมมือ ดำเนินแนวทาง”น้ำเสีย อยู่คู่ชุมชนได้”

 

เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 25 มีนาคม 2564 ที่องค์การจัดการน้ำเสีย (อจน.) สำนักงานใหญ่ กรุงเทพฯ นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมคณะได้เดินทางมาตรวจเยี่ยม เพื่อมอบนโยบายการดำเนินงานขององค์การจัดการน้ำเสีย โดยมี นายพรพจน์ เพ็ญพาส ประธานกรรมการ อจน.พร้อมด้วยคณะกรรมการ นายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการ อจน.ให้การต้อนรับ

นายนิพนธ์ กล่าวว่า “ปัญหาน้ำเสียเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทยและต้องดำเนินการให้เป็นกิจจะลักษณะเป็นปัญหามลพิษทางน้ำที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย และคุณภาพชีวิตของประชาชน รวมถึงคุณภาพสิ่งแวดล้อมของประเทศ ที่ผ่านมารัฐบาลมีความตั้งใจในการแก้ปัญหาน้ำเสียอย่างจริงจัง คณะรัฐมนตรี (ครม.) จึงมีมติเห็นชอบกำหนดเขตพื้นที่จัดการน้ำเสียขององค์การจัดการน้ำเสียให้ครอบคลุมทุกจังหวัดของประเทศไทย เพื่อเร่งรัดการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำเสียของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบูรณาการดำเนินงานร่วมกันระหว่างองค์การจัดการน้ำเสียและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)

นายนิพนธ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ได้เน้นย้ำให้องค์การจัดการน้ำเสีย(อจน.)เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชน รวมถึงการสร้างความตระหนักในการช่วยกันลดความสกปรกของน้ำเสียจากแหล่งกำเนิด การมีส่วนร่วมกันรักษาสิ่งแวดล้อมของชุมชน สร้างความรู้ความเข้าใจให้ประชาชนว่าต้องช่วยกันแก้ไขปัญหาน้ำเสียด้วยกันถึงจะประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาน้ำเสีย พร้อมบูรณาการความร่วมมือหน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทย โดยมุ่งเน้นการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านต่างๆ อย่างจริงจังและเป็นรูปธรรมโดยเร็ว เช่น องค์การจัดการน้ำเสีย ในฐานะหน่วยงานในการบริหารจัดการน้ำเสีย การประปาส่วนภูมิภาค และการประปานครหลวง ในฐานะหน่วยงานที่ผลิตน้ำประปา บูรณาการความร่วมมือระหว่างกันในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการคุณภาพน้ำอย่างเป็นระบบมีประสิทธิภาพเน้นการดำเนินงานตามกรอบแนวทางการกำกับกิจการที่ดีและตามมาตรฐานสากล ดำเนินงานอย่างโปร่งใส สร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน และอีกประการหนึ่งที่สำคัญคือต้องเข้าไปประสานงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆที่มีความพร้อมดำเนินการเพื่อจัดการแก้ไขปัญหาน้ำเสียที่มีมากถึง 7 ล้านลบ.ม.ต่อวัน โดยน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วสามารถนำมาเป็นนำกลับมาใช้ได้อย่างมีคุณภาพและปลอดภัย ดังนั้น จึงถือว่าแนวทางดังกล่าวเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการเพื่อให้การใช้ทรัพยากรน้ำเกิดความคุ้มค่าสูงสุด”

นอกจากนี้ เรื่องบุคลากรถือเป็นกลไกหลักในการสนับสนุนภารกิจขององค์กร ควรมีการเพิ่มศักยภาพความรู้ความสามารถของบุคลากรในองค์กรให้มีทักษะที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กับหน่วยงานภายในประเทศและต่างประเทศ พัฒนาเทคโนโลยีในการบำบัดน้ำเสียให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์ ประชาชนในชุมชนสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม เพื่อสร้างทัศนคติที่ดีต้องทำให้เห็นว่าน้ำเสียสามารถอยู่คู่กับชุมชนได้อย่างเป็นระบบ มุ่งเน้นความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมประยุกต์ใช้พื้นที่ของระบบบำบัดน้ำเสียให้เป็นสถานที่ที่ประชาชน โดยใช้โรงงานน้ำเสียที่บำบัดอยู่ใต้ดิน ส่วนข้างบนเป็นสวนสาธารณะ หรือสนามฟุตบอลตามที่ท้องถิ่นต้องการให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ รวมทั้งมีการนำน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วกลับมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสมต่อไป

ข่าวสารล่าสุดจากองค์การจัดการน้ำเสีย

วันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2568 นายอธิรักษ์ บุพจันโท รองผู้อำนวยการปฏิบัติการ ได้ให้การต้อนรับนางอรุณี ไฮม์ม รองอธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ และคณะศึกษาดูงานจากกลุ่มประเทศหมู่เกาะแปซิฟิก ณ ศูนย์บริหารจัดการคุณภาพน้ำองค์การบริหารส่วนตำบลลำโพ จังหวัดนนทบุรี

วันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2568 นายอธิรักษ์ บุพจันโท รองผู้อำนวยการปฏิบัติการ ได้ให้การต้อนรับนางอรุณี ไฮม์ม รองอธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ และคณะศึกษาดูงานจากกลุ่มประเทศหมู่เกาะแปซิฟิก ณ ศูนย์บริหารจัดการคุณภาพน้ำองค์การบริหารส่วนตำบลลำโพ จังหวัดนนทบุรี

อ่านรายละเอียด »

วันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2568 สำนักงานจัดการน้ำเสียสาขาพะเยา ให้การต้อนรับเจ้าหน้าที่และนักศึกษาฝึกงาน กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองพะเยา ที่เข้าศึกษาดูงานเกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียเทศบาลเมืองพะเยา ณ ศูนย์บริหารจัดการคุณภาพน้ำเทศบาลเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา

วันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2568 น.ส. โรสรินทร์ อินทวงศ์ รักษาการผู้จัดการสำนักงานจัดการน้ำเสียสาขาพะเยา ให้การต้อนรับเจ้าหน้าที่และนักศึกษาฝึกงาน กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองพะเยา ที่เข้าศึกษาดูงานเกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียเทศบาลเมืองพะเยา ณ ศูนย์บริหารจัดการคุณภาพน้ำเทศบาลเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา

อ่านรายละเอียด »

วันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2568 ประชุมคณะกรรมการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อขับเคลื่อนการทบทวนแผนพัฒนาจังหวัดระยอง พ.ศ.2566 –2570 (ฉบับทบทวน พ.ศ.2570) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ณ ห้องประชุมอุตรกิจพิจารณ์ ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดระยอง จัดโดยสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดระยอง

วันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2568 องค์การจัดการน้ำเสีย โดยผู้จัดการสำนักงานจัดการน้ำเสียสาขาบ้านเพ เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อขับเคลื่อนการทบทวนแผนพัฒนาจังหวัดระยอง พ.ศ.2566 –2570 (ฉบับทบทวน พ.ศ.2570) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ณ ห้องประชุมอุตรกิจพิจารณ์ ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดระยอง จัดโดยสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดระยอง

อ่านรายละเอียด »

วันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2568 นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เข้าตรวจเยี่ยมการดำเนินงาน และมอบนโยบายแก่องค์การจัดการน้ำเสีย (อจน.) รัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ณ ศูนย์บริหารจัดการคุณภาพน้ำองค์การบริหารส่วนตำบลลำโพ อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี

วันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2568 เวลา 14.00 น. นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เข้าตรวจเยี่ยมการดำเนินงาน และมอบนโยบายแก่องค์การจัดการน้ำเสีย (อจน.) รัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ณ ศูนย์บริหารจัดการคุณภาพน้ำองค์การบริหารส่วนตำบลลำโพ อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี โดยมี นายเชษฐา โมสิกรัตน์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย และประธานกรรมการองค์การจัดการน้ำเสีย นายเกียรติศักดิ์ ตรงศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี พร้อมด้วยคณะกรรมการองค์การจัดการน้ำเสีย ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย ผู้บริหารและพนักงานองค์การจัดการน้ำเสีย ร่วมให้การต้อนรับ ปัจจุบันปัญหาน้ำเสีย เป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ดังนั้น นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงมอบหมายให้องค์การจัดการน้ำเสียดำเนินงานแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง มีระบบและเข้าถึงทุกพื้นที่ โดยมุ่งเน้นการบำบัดน้ำเสียอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่สร้างภาระให้กับชุมชน และสามารถนำน้ำทิ้งที่ผ่านการบำบัดแล้วได้คุณภาพกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้อย่างเหมาะสม รวมทั้ง มอบหมายให้องค์การจัดการน้ำเสียสนับสนุนชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้สามารถดูแล และลดปัญหาน้ำเสียได้อย่างครอบคลุมและรวดเร็ว โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีความสำคัญเร่งด่วน ภายใต้ 4 กลยุทธ์หลัก ได้แก่ 1. การมีส่วนร่วมของชุมชน 2. สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานรัฐ 3. สร้างความรู้และความยั่งยืน และ 4. มีแผนรับมือความเสี่ยงที่ชัดเจน ในการนี้ นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้กำหนดเป้าหมายขยายโครงการบำบัดน้ำเสียไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีปัญหารุนแรงจำนวน 464 แห่งทั่วประเทศ โดยในปีแรกจะดำเนินการทันทีอย่างน้อย 50 แห่ง ที่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่สุด รวมทั้ง ให้องค์การจัดการน้ำเสียนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการดำเนินงานควบคู่กับการบูรณาการความร่วมมือกับกรุงเทพมหานคร เพื่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนที่ครอบคลุมและเห็นผลชัดเจน โดยจะดำเนินการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลความคืบหน้าทุกไตรมาส

อ่านรายละเอียด »