องค์การจัดการน้ำเสีย กระทรวงมหาดไทย
WMA News
อัพเดทล่าสุด

วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2568 คณะนักเรียน และครู จากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยตรัง จังหวัดตรัง เข้าเยี่ยมชม จำนวน 154 คน ณ พื้นที่ศูนย์บริหารจัดการคุณภาพน้ำ เเละศูนย์การเรียนรู้อุทยานสิ่งแวดล้อมนานา ชาติสิรินธร จังหวัดเพชรบุรี

วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2568 เวลา 13.30 – 14.20 น. คณะนักเรียน และครู จากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยตรัง จังหวัดตรัง เข้าเยี่ยมชม จำนวน 154 คน โดยแบ่งการเข้าเยี่ยมชมเป็น 2 รอบ รอบละ 77 คน ณ พื้นที่ศูนย์บริหารจัดการคุณภาพน้ำ เเละศูนย์การเรียนรู้อุทยานสิ่งแวดล้อมนานา ชาติสิรินธร จังหวัดเพชรบุรี

อ่านรายละเอียด

การจัดสร้างวัตถุมงคล เนื่องในโอกาสสถาปนากระทรวงมหาดไทย ๑๓๐ ปี

กระทรวงมหาดไทยมีอายุครบ ๑๓๐ ปี ไปเมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๕ ภารกิจเมื่อแรกตั้ง เน้นจัดระเบียบงานมหาดไทยให้รวมอยู่ในที่เดียวกัน ดังสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าไว้ว่า “ในยุคสมัยนั้นระเบียบการปฏิบัติงานต่าง ๆ ขาดความชัดเจน งานก็ยังเหลื่อมซ้อนกันกับหน่วยงานอื่น ๆ วิธีการปฏิบัติงานก็ล้าสมัย จนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต้องทรงมีพระราชดำริเป็นยุติให้ฟื้นราชการมหาดไทยทั้งกระทรวง” สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ องค์ปฐมเสนาบดี ทรงริเริ่มแนวคิดการทำงานที่มุ่งเน้นอุดมการณ์ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” โดยทำนุบำรุงบ้านเมืองเสียตั้งแต่ยามปกติ ไม่ต้องรอให้เกิดปัญหาเสียก่อนค่อยดำเนินการ มีการตั้งกรมต่าง ๆ ขึ้น และดึงอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองที่เคยกระจายอยู่หลายหน่วย มาขึ้นกับกระทรวงมหาดไทยเพียงแห่งเดียว ทำหน้าที่ในงานปกครองหัวเมือง งานรักษาความสงบเรียบร้อย งานรักษาความสะอาด งานอัยการ งานสาธารณสุข งานป่าไม้ งานเหมืองแร่และงานเก็บภาษีอากร สถานที่ปฏิบัติงานของกระทรวงมหาดไทย เดิมใช้ศาลาลูกขุนใน (ฝ่ายซ้าย) ที่ตั้งอยู่ภายในเขตพระบรมมหาราชวัง ส่วนบริเวณกระทรวงมหาดไทยในปัจจุบัน เดิมใช้เป็นที่ทำการของการกระทรวงนครบาลและกระทรวงโยธาธิการ ภายหลังได้ยุบรวมมาอยู่ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย แต่ตัวที่ทำการกระทรวงเอง ย้ายมายังที่ตั้งปัจจุบันเมื่อปี ๒๔๗๖ อาณาบริเวณกระทรวงมหาดไทยในทุกวันนี้ ถูกสร้างขึ้นบนพื้นที่วังของเจ้านายชั้นสูง ๓ วัง ได้แก่ “วังริมสะพานช้างโรงสี วังใต้” เป็นวังของพระองค์เจ้าเนียม กับ “วังถนนเฟื่องนคร วังเหนือ” ซึ่งเป็นวังของกรมขุนภูวนัยนฤเบนทราธิบาล ทั้งสองวังนี้ได้ถูกปรับมาสร้างศาลาว่าการกระทรวงนครบาล และสุดท้ายคือ “วังถนนเฟื่องนคร วังใต้” อันเคยเป็นที่ประทับของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชมพูนุท กรมขุนเจริญผลพูลสวัสดิ์ ซึ่งพระองค์ทรงเป็นพระบิดาของพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ อดีตเจ้าอาวาส วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร ต่อมาหลังกรมขุนเจริญผลฯ สิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ ๑เมษายน ๒๔๓๕ ร.๕ รับสั่งถามกรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ฯ ผู้เป็นโอรสได้ความว่า จะผนวชไปตลอดพระชนม์ชีพ จึงโปรดฯให้นำพื้นที่วังเดิมก่อสร้างศาลาว่าการกระทรวงโยธาธิการ ในภายหลังพื้นที่ทั้งหมดได้ถูกโอนมาเป็นของกระทรวงมหาดไทยจนปัจจุบัน ดังนั้น ถือได้ว่ากระทรวงมหาดไทยกับวัดราชบพิธฯ มีความใกล้ชิดผูกพันกันมาแต่ครั้งกระโน้น ในโอกาสอันสำคัญยิ่งนี้ มีการจัดสร้างพระพุทธรูปประจำกระทรวงมหาดไทย ขนาดหน้าตักกว้าง ๓๒ นิ้ว ขึ้นเพื่อเตรียมนำไปประดิษฐาน ณ ศูนย์ราชการกระทรวงมหาดไทยแห่งใหม่ ที่กำลังก่อสร้างในเขตคลองสาน กำหนดแล้วเสร็จปี ๒๕๖๙ โดยสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานนามว่า “พระพุทธมุนีศรีประชานาถ” แปลว่า “พระพุทธเจ้าทรงเป็นที่พึ่ง อันนำมาซึ่งความเจริญของปวงประชา” รวมทั้งจัดสร้างวัตถุมงคลเพื่อตอบแทนแก่ผู้มีจิตศรัทธา บริจาคเงินสมทบ “กองทุนสาธารณกุศล ๑๓๐ ปี กระทรวงมหาดไทย” ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อก่อสร้างสถานปฏิบัติธรรมสมเด็จพระสังฆราช (อมฺพรมหาเถร) ตำบลคลองเก้า อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี จำนวน ๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท และใช้สำหรับสงเคราะห์บุคลากรในสังกัดกระทรวงมหาดไทยและครอบครัว ที่มีปัญหาความเดือดร้อนหรือประสบภัยจากการปฏิบัติหน้าที่ ตลอดจนใช้จ่ายในการช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย ทั้งนี้ ได้รับพระเมตตาจากเจ้าพระคุณสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ในพิธีเททองหล่อพระเกศ “พระพุทธมุนีศรีประชานาถ” และ เททองหล่อราชสีห์มหามงคล เมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๖๕ ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร โดยมีแผ่นทอง-เงิน-นาค ที่ผ่านการจารอักขระและอธิษฐานจิต จากเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคมจากทั้ง ๗๖ จังหวัดและกรุงเทพมหานคร เป็นมวลสารสำคัญ พิธีพุทธาภิเษกจะจัดขึ้นในวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๖๕ ณ ศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยมีพระอาจารย์วราห์ ปุญญวโร เจ้าอาวาสวัดโพธิทอง เขตจอมทอง เป็นเจ้าพิธี และคณาจารย์นั่งปรก ๘ รูป ได้แก่ หลวงพ่อชำนาญ วัดชินวราราม จ.ปทุมธานี หลวงพ่อแป๊ะ วัดสว่างอารมณ์ จ.นครปฐม หลวงปู่ฤษีตาไฟ วัดเทพหิรัญย์ จ.ชัยนาท หลวงพ่ออุดมทรัพย์ วัดประสิทธิเวช จ.นครนายกหลวงพ่ออิฏฐ์ วัดจุฬามณี จ. สมุทรสงคราม หลวงพ่อเจริญ วัดโนนสว่าง จ.อุดรธานี หลวงพ่อพบโชค วัดห้วยปลากั้ง จ.เชียงราย และพระอาจารย์สุริยันต์ วัดป่าวังน้ำเย็น จ. มหาสารคาม วัตถุมงคลที่จัดสร้าง ได้แก่ ราชสีห์มงคลเนื้อทองคำ ๒๖๐ องค์ ( ๙๐,๐๐๐ บาท) เนื้อเงิน ๒,๕๖๕ องค์ ( ๕,๐๐๐ บาท) เนื้อรมดำ ๒๕,๖๕๐ องค์ ( ๕๐๐ บาท) ราชสีห์ใหญ่เนื้อโลหะพิเศษ ๒,๕๖๕ องค์ ( ๑๐,๐๐๐ บาท) พระพุทธมุนีศรีประชานาถ (จำลอง) หน้าตัก ๙ นิ้ว ๑,๓๐๐ องค์ ( ๑๓,๐๐๐ บาท) และเหรียญพระพุทธมุนีศรีประชานาถ ขนาด ๒.๔ ซ.ม. ๒๐,๐๐๐ เหรียญ ( ๑๓๐ บาท) ผู้สนใจวัตถุมงคล “ราชสีห์ทองคำ” ร่วมบริจาคได้ที่ Line Official “ราชสีห์ 130 ปี มท.” ส่วนวัตถุมงคลรายการอื่นบริจาคผ่านบริษัทไปรษณีย์ไทยดิสทริบิวชั่น จำกัด ที่ www.jubjaai.com

อ่านรายละเอียด

นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) ประสานทุกความร่วมมือเดินแนวทาง “น้ำเสีย อยู่คู่ชุมชนได้” ชี้ความสำเร็จอยู่ที่การร่วมมือทุกฝ่ายต้องช่วยกัน ในงานครบรอบ 27 ปี สถาปนาองค์การจัดการน้ำเสีย(อจน.)

เมื่อวันที่ 15 ส.ค. 65 ที่ศูนย์บริหารจัดการคุณภาพน้ำเทศบาลเมืองแพรกษา จังหวัดสมุทรปราการ นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานและมอบนโยบายเนื่องในวาระครบรอบ 27 ปี วันสถาปนาองค์การจัดการน้ำเสีย(อจน.) โดยมี รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ , รองนายกเทศมนตรีเมืองแพรกษา , นายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย, ผู้บริหาร, เจ้าหน้าที่จากกระทรวงมหาดไทย, เจ้าหน้าที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, ผู้นำชุมชน และประชาชน ร่วมให้การต้อนรับ นายนิพนธ์ กล่าวว่า การจัดกิจกรรมเนื่องในวาระครบรอบ 27 ปี วันสถาปนาองค์การจัดการน้ําเสียในวันนี้ นับว่าเป็นโอกาสดีอย่างยิ่งท่ี ภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันจัดกิจกรรมให้ชุมชนได้ตระหนักถึงการดูแลสิ่งแวดล้อมในชุมชน ทำอย่างไรให้น้ำเสียสามารถอยู่คู่กับชุมชนได้ และทำอย่างไรให้ทุกคนได้มีส่วนในการรับผิดชอบในการจัดการน้ำเสียในชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประชาชน เยาวชนได้มาร่วมกันแก้ไขปัญหาน้ําเสีย เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ด้วยความรู้ ความเข้าใจ และให้ความร่วมมือในการลดความสกปรกของน้ําเสียจากแหล่งกําเนิดซึ่งจะช่วยให้คุณภาพน้ําของแหล่งรองรับน้ําในพื้นท่ีดีข้ึน “ องค์การจัดการน้ำเสียเป็นองค์กรรัฐวิสาหกิจที่อยู่ในกำกับการดูแลของกระทรวงมหาดไทยเพื่อที่จะได้ทำงานใกล้ชิดกับท้องถิ่น เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนภารกิจสำคัญในด้านการแก้ไขปัญหาน้ำเสียในชุมชน ต้องทำให้เห็นว่าน้ำเสียสามารถอยู่คู่กับชุมชนได้อย่างเป็นระบบ ซึ่งไม่เพียงแต่ทำหน้าที่บำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดีแต่ยังมุ่งเน้นเรื่อง นวัตกรรมและความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ระบบบำบัดน้ำเสีย สามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้เป็นอย่างดี นอกจากมีระบบจัดการน้ำเสียที่ดีแล้วยังสามารถอยู่ร่วมกับชุมชน จัดทำเป็นสนามกีฬา สนามฟุตบอลหญ้าเทียมเพื่อรองรับกิจกรรมการออกกำลังกายของประชาชนและเยาวชน” ทั้งนี้ศูนย์บริหารจัดการคุณภาพน้ำเทศบาลเมืองแพรกษา จังหวัดสมุทรปราการ เป็นการ ดําเนินงานโดยองค์การจัดการน้ําเสีย ร่วมกับเทศบาลเมืองแพรกษา ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของ รัฐบาลที่ให้ความสําคัญกับการบูรณาการในระดับพื้นที่โดยให้กระทรวงมหาดไทยเป็นกลไกหลักใน การขับเคลื่อนภารกิจสําคัญด้านการแก้ไขปัญหาน้ําเสีย และเป็นตัวอย่างของ “การแก้ไขปัญหา น้ําเสีย” ซึ่งมุ่งเน้นเรื่อง “นวัตกรรม” และ“ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” โดยออกแบบให้พื้นที่ ด้านบนของระบบบําบัดน้ําเสียสามารถใช้ประโยชน์เป็นสนามฟุตบอลสําหรับประชาชน และเยาวชน จึงทําให้ระบบบําบัดน้ําเสียอยู่ร่วมกับชุมชนได้เป็นอย่างดี

อ่านรายละเอียด

พิธีถวายพระพร เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี

วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เวลา 07.00 น. ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย นำคณะหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทย และหัวหน้าหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วยคณะสมาคมแม่บ้านมหาดไทย ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรแด่พระสงฆ์ จำนวน 30 รูป และร่วมพิธีถวายพระพร เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี  โดยมีนายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย และว่าที่ร้อยตรีพัฒนภูมิ อังศุสิงห์ ผู้อำนวยการสำนักผู้อำนวยการ เข้าร่วมในพิธีด้วย

อ่านรายละเอียด

พิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ ถวายพระราชกุศลเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

วันที่ 3 มิถุนายน 2565 เวลา 06.00 น. ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ ถวายพระราชกุศลเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี โดยมีนายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย และว่าที่ร้อยตรีพัฒนภูมิ อังศุสิงห์ ผู้อำนวยการสำนักผู้อำนวยการ เข้าร่วมในพิธีด้วย

อ่านรายละเอียด

คณะกรรมการองค์การจัดการน้ำเสีย ได้เดินทางไปประชุมฯ พร้อมทั้งติดตามตรวจเยี่ยมโครงการก่อสร้างและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการคุณภาพน้ำเทศบาลเมืองราชบุรี

ระหว่างวันที่ 25-26 พฤษภาคม 2565 คณะกรรมการองค์การจัดการน้ำเสีย ได้เดินทางไปประชุมคณะกรรมการองค์การจัดการน้ำเสีย ครั้งที่ 5/2565 ณ จังหวัดราชบุรี พร้อมทั้งติดตามตรวจเยี่ยมโครงการก่อสร้างและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการคุณภาพน้ำเทศบาลเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี  และศึกษาดูงาน ณ สถานีผลิตน้ำเข้างู การประปาส่วนภูมิภาค สาขาราชบุรี โดยได้ให้ข้อเสนอแนะให้องค์การจัดการน้ำเสียไปดำเนินการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานต่อไป

อ่านรายละเอียด

นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นำทีม องค์การจัดการน้ำเสีย โยธาฯ อปท เร่งฟื้นฟูคลองสำโรงสงขลา ช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมขังเมืองสงขลาและน้ำเน่าเสีย

เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 12 พฤษภาคม 2565 นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ลงพื้นที่เพื่อติดตามการแก้ปัญหาน้ำเสียคลองสำโรง เขตเทศบาลนครสงขลา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โดยมีนายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย นายผดุงเดช ลือปิยะพาณิชย์ ผู้ตรวจกรมโยธาธิการและผังเมือง นายสรรเพชญ บุญญามณี ผู้ช่วยดำเนินงานประธานรัฐสภา นายภูรินทร์ ทิพย์มณี รองนายกเทศบาลมนตรีนครสงขลา นายธนรัตน์ ตุละธน รองนายกเทศมนตรีเมืองเขารูปช้าง ผู้แทนกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พมจ.จังหวัดสงขลา หัวหน้าส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมรายงานข้อมูล ณ บริเวณสะพานแยกสำโรง ทั้งนี้ นายนิพนธ์ ได้ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาคลองสำโรงในการที่จะหาแนวทางแก้ไขเพื่อฟื้นฟูคลองสำโรงให้มีความสะอาดมีศักยภาพในการระบายน้ำให้ได้ดีขึ้น ซึ่งจากการสำรวจพบว่าคลองมีปัญหาตื้นเขินคันคลองบางช่วงมีระดับต่ำและมีผู้อาศัยอยู่บริเวณแนวคลองสำโรงอย่างหนาแน่น ซึ่งส่งผลต่อการระบายน้ำ ทั้งยังมีขยะและสิ่งปฏิกูลจำนวนมากที่ถูกนำมาทิ้งลงคลอง จนทำให้น้ำมีคุณภาพต่ำ มีสีดำ เน่าเสียและส่งกลิ่นเหม็น ซึ่งรมช.มท.ได้มอบหมายให้ทางองค์การจัดการน้ำเสีย(อจน.)หาแนวทางแก้ไขปัญหาคลองสำโรงให้ได้เพราะเป็นปัญหาที่เรื้อรังมานาน สำหรับคลองสำโรงเป็นคลองที่เชื่อมระหว่างเทศบาลนครสงขลากับเทศบาลเมืองเขารูปช้างเป็นเส้นทางสัญจรมาตั้งแต่สมัยโบราณ และเชื่อมระหว่างทะเลอ่าวไทยกับทะเลสาบสงขลา และเมื่อมีชุมชนมากขึ้น เส้นทางแห่งนี้ก็เริ่มมีปัญหาในเขตชุมชน จึงต้องมีการวางแผนเรื่องการบำบัดน้ำเสีย ควบคู่ไปกันไป ทั้งนี้นายชีระ วงศบูรณะได้รายงานความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการก่อสร้างและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการคุณภาพน้ำในเขตพื้นที่จัดการน้ำเสีย ระยะที่ 1 เทศบาลนครสงขลา ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โดยจะเป็นการรวมน้ำเสียซึ่งปัจจุบันถูกระบายลงสู่คลองสำโรงโดยตรงเป็นปริมาณมาก เพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ทางราชการกำหนดไว้ ซึ่งโครงการดังกล่าวจะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาน้ำเสียคลองสำโรง รวมทั้งบรรเทาปัญหาด้านความเป็นอยู่ และสุขอนามัยของพี่น้องประชาชนในชุมชนริมคลองสำโรงอย่างเป็นระบบได้อย่างยั่งยืน ต่อจากนั้น รมช.มท.ได้ลงเรือเพื่อติดตามการแก้ไขปัญหาน้ำเสียบริเวณคลองสำโรงอย่างใกล้ชิดบริเวณ ถนนสงขลา-นาทวี ซอย 2 พร้อมทั้ง ร่วมปล่อยจุลินทรีย์ชนิดน้ำ เพื่อเพิ่มจุลินทรีย์ในการบำบัดน้ำเสีย และลดการเกิดกลิ่นจากน้ำขังในคลองสำโรง รมช.มท.กล่าวว่า วันนี้ได้เชิญส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมาสำรวจคลองสำโรงเพื่อแก้ไขปัญหาที่เรื้อรังมานาน โดยการดำเนินการแก้ไขนั้นจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องน้ำท่วมขังในเมืองสงขลา และแก้ปัญหาน้ำเน่าเสียในคลองสำโรง ในส่วนของกรมโยธาฯเองก็ได้ทำเขื่อนป้องกันการกัดเซาะไว้ระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งวันนี้ได้รับการยืนยันจากรองนายกเทศบาลเมืองเขารูปช้างว่า จะสามารถเคลียร์เรื่องพื้นที่ได้แล้วเสร็จ ถ้าสามารถเคลียเรื่องพื้นที่ได้ กรมโยธาธิการและผังเมืองก็สามารถตั้งงบประมาณต่อเนื่องจากโครงการเก่าที่สำเร็จไปแล้วได้ และเนื่องจากก่อนหน้านี้มีปัญหาในเรื่องของที่ดิน ซึ่งถ้าเทศบาลเมืองเขารูปช้างสามารถแก้ปัญหาตรงนี้ได้ ก็จะสามารถหางบประมาณมาทำการต่อไป อันนี้นอกจากจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวแล้ว ยังเป็นสถานที่พักผ่อนออกกำลังกาย และยังเป็นการป้องกันการกัดเซาะชายตลิ่ง ควบคู่ไปกับการทำท่อระบายน้ำเสีย เพื่อไม่ให้ปล่อยน้ำเสียลงไปในคลองสำโรง

อ่านรายละเอียด

การจัดสร้างวัตถุมงคล เนื่องในโอกาสสถาปนากระทรวงมหาดไทย ๑๓๐ ปี

กระทรวงมหาดไทยมีอายุครบ ๑๓๐ ปี ไปเมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๕ ภารกิจเมื่อแรกตั้ง เน้นจัดระเบียบงานมหาดไทยให้รวมอยู่ในที่เดียวกัน ดังสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าไว้ว่า “ในยุคสมัยนั้นระเบียบการปฏิบัติงานต่าง ๆ ขาดความชัดเจน งานก็ยังเหลื่อมซ้อนกันกับหน่วยงานอื่น ๆ วิธีการปฏิบัติงานก็ล้าสมัย จนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต้องทรงมีพระราชดำริเป็นยุติให้ฟื้นราชการมหาดไทยทั้งกระทรวง” สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ องค์ปฐมเสนาบดี ทรงริเริ่มแนวคิดการทำงานที่มุ่งเน้นอุดมการณ์ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” โดยทำนุบำรุงบ้านเมืองเสียตั้งแต่ยามปกติ ไม่ต้องรอให้เกิดปัญหาเสียก่อนค่อยดำเนินการ มีการตั้งกรมต่าง ๆ ขึ้น และดึงอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองที่เคยกระจายอยู่หลายหน่วย มาขึ้นกับกระทรวงมหาดไทยเพียงแห่งเดียว ทำหน้าที่ในงานปกครองหัวเมือง งานรักษาความสงบเรียบร้อย งานรักษาความสะอาด งานอัยการ งานสาธารณสุข งานป่าไม้ งานเหมืองแร่และงานเก็บภาษีอากร สถานที่ปฏิบัติงานของกระทรวงมหาดไทย เดิมใช้ศาลาลูกขุนใน (ฝ่ายซ้าย) ที่ตั้งอยู่ภายในเขตพระบรมมหาราชวัง ส่วนบริเวณกระทรวงมหาดไทยในปัจจุบัน เดิมใช้เป็นที่ทำการของการกระทรวงนครบาลและกระทรวงโยธาธิการ ภายหลังได้ยุบรวมมาอยู่ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย แต่ตัวที่ทำการกระทรวงเอง ย้ายมายังที่ตั้งปัจจุบันเมื่อปี ๒๔๗๖ อาณาบริเวณกระทรวงมหาดไทยในทุกวันนี้ ถูกสร้างขึ้นบนพื้นที่วังของเจ้านายชั้นสูง ๓ วัง ได้แก่ “วังริมสะพานช้างโรงสี วังใต้” เป็นวังของพระองค์เจ้าเนียม กับ “วังถนนเฟื่องนคร วังเหนือ” ซึ่งเป็นวังของกรมขุนภูวนัยนฤเบนทราธิบาล ทั้งสองวังนี้ได้ถูกปรับมาสร้างศาลาว่าการกระทรวงนครบาล และสุดท้ายคือ “วังถนนเฟื่องนคร วังใต้” อันเคยเป็นที่ประทับของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชมพูนุท กรมขุนเจริญผลพูลสวัสดิ์ ซึ่งพระองค์ทรงเป็นพระบิดาของพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ อดีตเจ้าอาวาส วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร ต่อมาหลังกรมขุนเจริญผลฯ สิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ ๑เมษายน ๒๔๓๕ ร.๕ รับสั่งถามกรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ฯ ผู้เป็นโอรสได้ความว่า จะผนวชไปตลอดพระชนม์ชีพ จึงโปรดฯให้นำพื้นที่วังเดิมก่อสร้างศาลาว่าการกระทรวงโยธาธิการ ในภายหลังพื้นที่ทั้งหมดได้ถูกโอนมาเป็นของกระทรวงมหาดไทยจนปัจจุบัน ดังนั้น ถือได้ว่ากระทรวงมหาดไทยกับวัดราชบพิธฯ มีความใกล้ชิดผูกพันกันมาแต่ครั้งกระโน้น ในโอกาสอันสำคัญยิ่งนี้ มีการจัดสร้างพระพุทธรูปประจำกระทรวงมหาดไทย ขนาดหน้าตักกว้าง ๓๒ นิ้ว ขึ้นเพื่อเตรียมนำไปประดิษฐาน ณ ศูนย์ราชการกระทรวงมหาดไทยแห่งใหม่ ที่กำลังก่อสร้างในเขตคลองสาน กำหนดแล้วเสร็จปี ๒๕๖๙ โดยสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานนามว่า “พระพุทธมุนีศรีประชานาถ” แปลว่า “พระพุทธเจ้าทรงเป็นที่พึ่ง อันนำมาซึ่งความเจริญของปวงประชา” รวมทั้งจัดสร้างวัตถุมงคลเพื่อตอบแทนแก่ผู้มีจิตศรัทธา บริจาคเงินสมทบ “กองทุนสาธารณกุศล ๑๓๐ ปี กระทรวงมหาดไทย” ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อก่อสร้างสถานปฏิบัติธรรมสมเด็จพระสังฆราช (อมฺพรมหาเถร) ตำบลคลองเก้า อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี จำนวน ๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท และใช้สำหรับสงเคราะห์บุคลากรในสังกัดกระทรวงมหาดไทยและครอบครัว ที่มีปัญหาความเดือดร้อนหรือประสบภัยจากการปฏิบัติหน้าที่ ตลอดจนใช้จ่ายในการช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย ทั้งนี้ ได้รับพระเมตตาจากเจ้าพระคุณสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ในพิธีเททองหล่อพระเกศ “พระพุทธมุนีศรีประชานาถ” และ เททองหล่อราชสีห์มหามงคล เมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๖๕ ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร โดยมีแผ่นทอง-เงิน-นาค ที่ผ่านการจารอักขระและอธิษฐานจิต จากเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคมจากทั้ง ๗๖ จังหวัดและกรุงเทพมหานคร เป็นมวลสารสำคัญ พิธีพุทธาภิเษกจะจัดขึ้นในวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๖๕ ณ ศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยมีพระอาจารย์วราห์ ปุญญวโร เจ้าอาวาสวัดโพธิทอง เขตจอมทอง เป็นเจ้าพิธี และคณาจารย์นั่งปรก ๘ รูป ได้แก่ หลวงพ่อชำนาญ วัดชินวราราม จ.ปทุมธานี หลวงพ่อแป๊ะ วัดสว่างอารมณ์ จ.นครปฐม หลวงปู่ฤษีตาไฟ วัดเทพหิรัญย์ จ.ชัยนาท หลวงพ่ออุดมทรัพย์ วัดประสิทธิเวช จ.นครนายกหลวงพ่ออิฏฐ์ วัดจุฬามณี จ. สมุทรสงคราม หลวงพ่อเจริญ วัดโนนสว่าง จ.อุดรธานี หลวงพ่อพบโชค วัดห้วยปลากั้ง จ.เชียงราย และพระอาจารย์สุริยันต์ วัดป่าวังน้ำเย็น จ. มหาสารคาม วัตถุมงคลที่จัดสร้าง ได้แก่ ราชสีห์มงคลเนื้อทองคำ ๒๖๐ องค์ ( ๙๐,๐๐๐ บาท) เนื้อเงิน ๒,๕๖๕ องค์ ( ๕,๐๐๐ บาท) เนื้อรมดำ ๒๕,๖๕๐ องค์ ( ๕๐๐ บาท) ราชสีห์ใหญ่เนื้อโลหะพิเศษ ๒,๕๖๕ องค์ ( ๑๐,๐๐๐ บาท) พระพุทธมุนีศรีประชานาถ (จำลอง) หน้าตัก ๙ นิ้ว ๑,๓๐๐ องค์ ( ๑๓,๐๐๐ บาท) และเหรียญพระพุทธมุนีศรีประชานาถ ขนาด ๒.๔ ซ.ม. ๒๐,๐๐๐ เหรียญ ( ๑๓๐ บาท) ผู้สนใจวัตถุมงคล “ราชสีห์ทองคำ” ร่วมบริจาคได้ที่ Line Official “ราชสีห์ 130 ปี มท.” ส่วนวัตถุมงคลรายการอื่นบริจาคผ่านบริษัทไปรษณีย์ไทยดิสทริบิวชั่น จำกัด ที่ www.jubjaai.com

อ่านรายละเอียด

นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) ประสานทุกความร่วมมือเดินแนวทาง “น้ำเสีย อยู่คู่ชุมชนได้” ชี้ความสำเร็จอยู่ที่การร่วมมือทุกฝ่ายต้องช่วยกัน ในงานครบรอบ 27 ปี สถาปนาองค์การจัดการน้ำเสีย(อจน.)

เมื่อวันที่ 15 ส.ค. 65 ที่ศูนย์บริหารจัดการคุณภาพน้ำเทศบาลเมืองแพรกษา จังหวัดสมุทรปราการ นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานและมอบนโยบายเนื่องในวาระครบรอบ 27 ปี วันสถาปนาองค์การจัดการน้ำเสีย(อจน.) โดยมี รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ , รองนายกเทศมนตรีเมืองแพรกษา , นายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย, ผู้บริหาร, เจ้าหน้าที่จากกระทรวงมหาดไทย, เจ้าหน้าที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, ผู้นำชุมชน และประชาชน ร่วมให้การต้อนรับ นายนิพนธ์ กล่าวว่า การจัดกิจกรรมเนื่องในวาระครบรอบ 27 ปี วันสถาปนาองค์การจัดการน้ําเสียในวันนี้ นับว่าเป็นโอกาสดีอย่างยิ่งท่ี ภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันจัดกิจกรรมให้ชุมชนได้ตระหนักถึงการดูแลสิ่งแวดล้อมในชุมชน ทำอย่างไรให้น้ำเสียสามารถอยู่คู่กับชุมชนได้ และทำอย่างไรให้ทุกคนได้มีส่วนในการรับผิดชอบในการจัดการน้ำเสียในชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประชาชน เยาวชนได้มาร่วมกันแก้ไขปัญหาน้ําเสีย เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ด้วยความรู้ ความเข้าใจ และให้ความร่วมมือในการลดความสกปรกของน้ําเสียจากแหล่งกําเนิดซึ่งจะช่วยให้คุณภาพน้ําของแหล่งรองรับน้ําในพื้นท่ีดีข้ึน “ องค์การจัดการน้ำเสียเป็นองค์กรรัฐวิสาหกิจที่อยู่ในกำกับการดูแลของกระทรวงมหาดไทยเพื่อที่จะได้ทำงานใกล้ชิดกับท้องถิ่น เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนภารกิจสำคัญในด้านการแก้ไขปัญหาน้ำเสียในชุมชน ต้องทำให้เห็นว่าน้ำเสียสามารถอยู่คู่กับชุมชนได้อย่างเป็นระบบ ซึ่งไม่เพียงแต่ทำหน้าที่บำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดีแต่ยังมุ่งเน้นเรื่อง นวัตกรรมและความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ระบบบำบัดน้ำเสีย สามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้เป็นอย่างดี นอกจากมีระบบจัดการน้ำเสียที่ดีแล้วยังสามารถอยู่ร่วมกับชุมชน จัดทำเป็นสนามกีฬา สนามฟุตบอลหญ้าเทียมเพื่อรองรับกิจกรรมการออกกำลังกายของประชาชนและเยาวชน” ทั้งนี้ศูนย์บริหารจัดการคุณภาพน้ำเทศบาลเมืองแพรกษา จังหวัดสมุทรปราการ เป็นการ ดําเนินงานโดยองค์การจัดการน้ําเสีย ร่วมกับเทศบาลเมืองแพรกษา ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของ รัฐบาลที่ให้ความสําคัญกับการบูรณาการในระดับพื้นที่โดยให้กระทรวงมหาดไทยเป็นกลไกหลักใน การขับเคลื่อนภารกิจสําคัญด้านการแก้ไขปัญหาน้ําเสีย และเป็นตัวอย่างของ “การแก้ไขปัญหา น้ําเสีย” ซึ่งมุ่งเน้นเรื่อง “นวัตกรรม” และ“ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” โดยออกแบบให้พื้นที่ ด้านบนของระบบบําบัดน้ําเสียสามารถใช้ประโยชน์เป็นสนามฟุตบอลสําหรับประชาชน และเยาวชน จึงทําให้ระบบบําบัดน้ําเสียอยู่ร่วมกับชุมชนได้เป็นอย่างดี

อ่านรายละเอียด

พิธีถวายพระพร เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี

วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เวลา 07.00 น. ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย นำคณะหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทย และหัวหน้าหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วยคณะสมาคมแม่บ้านมหาดไทย ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรแด่พระสงฆ์ จำนวน 30 รูป และร่วมพิธีถวายพระพร เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี  โดยมีนายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย และว่าที่ร้อยตรีพัฒนภูมิ อังศุสิงห์ ผู้อำนวยการสำนักผู้อำนวยการ เข้าร่วมในพิธีด้วย

อ่านรายละเอียด

พิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ ถวายพระราชกุศลเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

วันที่ 3 มิถุนายน 2565 เวลา 06.00 น. ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ ถวายพระราชกุศลเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี โดยมีนายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย และว่าที่ร้อยตรีพัฒนภูมิ อังศุสิงห์ ผู้อำนวยการสำนักผู้อำนวยการ เข้าร่วมในพิธีด้วย

อ่านรายละเอียด

คณะกรรมการองค์การจัดการน้ำเสีย ได้เดินทางไปประชุมฯ พร้อมทั้งติดตามตรวจเยี่ยมโครงการก่อสร้างและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการคุณภาพน้ำเทศบาลเมืองราชบุรี

ระหว่างวันที่ 25-26 พฤษภาคม 2565 คณะกรรมการองค์การจัดการน้ำเสีย ได้เดินทางไปประชุมคณะกรรมการองค์การจัดการน้ำเสีย ครั้งที่ 5/2565 ณ จังหวัดราชบุรี พร้อมทั้งติดตามตรวจเยี่ยมโครงการก่อสร้างและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการคุณภาพน้ำเทศบาลเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี  และศึกษาดูงาน ณ สถานีผลิตน้ำเข้างู การประปาส่วนภูมิภาค สาขาราชบุรี โดยได้ให้ข้อเสนอแนะให้องค์การจัดการน้ำเสียไปดำเนินการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานต่อไป

อ่านรายละเอียด

นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นำทีม องค์การจัดการน้ำเสีย โยธาฯ อปท เร่งฟื้นฟูคลองสำโรงสงขลา ช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมขังเมืองสงขลาและน้ำเน่าเสีย

เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 12 พฤษภาคม 2565 นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ลงพื้นที่เพื่อติดตามการแก้ปัญหาน้ำเสียคลองสำโรง เขตเทศบาลนครสงขลา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โดยมีนายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย นายผดุงเดช ลือปิยะพาณิชย์ ผู้ตรวจกรมโยธาธิการและผังเมือง นายสรรเพชญ บุญญามณี ผู้ช่วยดำเนินงานประธานรัฐสภา นายภูรินทร์ ทิพย์มณี รองนายกเทศบาลมนตรีนครสงขลา นายธนรัตน์ ตุละธน รองนายกเทศมนตรีเมืองเขารูปช้าง ผู้แทนกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พมจ.จังหวัดสงขลา หัวหน้าส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมรายงานข้อมูล ณ บริเวณสะพานแยกสำโรง ทั้งนี้ นายนิพนธ์ ได้ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาคลองสำโรงในการที่จะหาแนวทางแก้ไขเพื่อฟื้นฟูคลองสำโรงให้มีความสะอาดมีศักยภาพในการระบายน้ำให้ได้ดีขึ้น ซึ่งจากการสำรวจพบว่าคลองมีปัญหาตื้นเขินคันคลองบางช่วงมีระดับต่ำและมีผู้อาศัยอยู่บริเวณแนวคลองสำโรงอย่างหนาแน่น ซึ่งส่งผลต่อการระบายน้ำ ทั้งยังมีขยะและสิ่งปฏิกูลจำนวนมากที่ถูกนำมาทิ้งลงคลอง จนทำให้น้ำมีคุณภาพต่ำ มีสีดำ เน่าเสียและส่งกลิ่นเหม็น ซึ่งรมช.มท.ได้มอบหมายให้ทางองค์การจัดการน้ำเสีย(อจน.)หาแนวทางแก้ไขปัญหาคลองสำโรงให้ได้เพราะเป็นปัญหาที่เรื้อรังมานาน สำหรับคลองสำโรงเป็นคลองที่เชื่อมระหว่างเทศบาลนครสงขลากับเทศบาลเมืองเขารูปช้างเป็นเส้นทางสัญจรมาตั้งแต่สมัยโบราณ และเชื่อมระหว่างทะเลอ่าวไทยกับทะเลสาบสงขลา และเมื่อมีชุมชนมากขึ้น เส้นทางแห่งนี้ก็เริ่มมีปัญหาในเขตชุมชน จึงต้องมีการวางแผนเรื่องการบำบัดน้ำเสีย ควบคู่ไปกันไป ทั้งนี้นายชีระ วงศบูรณะได้รายงานความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการก่อสร้างและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการคุณภาพน้ำในเขตพื้นที่จัดการน้ำเสีย ระยะที่ 1 เทศบาลนครสงขลา ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โดยจะเป็นการรวมน้ำเสียซึ่งปัจจุบันถูกระบายลงสู่คลองสำโรงโดยตรงเป็นปริมาณมาก เพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ทางราชการกำหนดไว้ ซึ่งโครงการดังกล่าวจะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาน้ำเสียคลองสำโรง รวมทั้งบรรเทาปัญหาด้านความเป็นอยู่ และสุขอนามัยของพี่น้องประชาชนในชุมชนริมคลองสำโรงอย่างเป็นระบบได้อย่างยั่งยืน ต่อจากนั้น รมช.มท.ได้ลงเรือเพื่อติดตามการแก้ไขปัญหาน้ำเสียบริเวณคลองสำโรงอย่างใกล้ชิดบริเวณ ถนนสงขลา-นาทวี ซอย 2 พร้อมทั้ง ร่วมปล่อยจุลินทรีย์ชนิดน้ำ เพื่อเพิ่มจุลินทรีย์ในการบำบัดน้ำเสีย และลดการเกิดกลิ่นจากน้ำขังในคลองสำโรง รมช.มท.กล่าวว่า วันนี้ได้เชิญส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมาสำรวจคลองสำโรงเพื่อแก้ไขปัญหาที่เรื้อรังมานาน โดยการดำเนินการแก้ไขนั้นจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องน้ำท่วมขังในเมืองสงขลา และแก้ปัญหาน้ำเน่าเสียในคลองสำโรง ในส่วนของกรมโยธาฯเองก็ได้ทำเขื่อนป้องกันการกัดเซาะไว้ระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งวันนี้ได้รับการยืนยันจากรองนายกเทศบาลเมืองเขารูปช้างว่า จะสามารถเคลียร์เรื่องพื้นที่ได้แล้วเสร็จ ถ้าสามารถเคลียเรื่องพื้นที่ได้ กรมโยธาธิการและผังเมืองก็สามารถตั้งงบประมาณต่อเนื่องจากโครงการเก่าที่สำเร็จไปแล้วได้ และเนื่องจากก่อนหน้านี้มีปัญหาในเรื่องของที่ดิน ซึ่งถ้าเทศบาลเมืองเขารูปช้างสามารถแก้ปัญหาตรงนี้ได้ ก็จะสามารถหางบประมาณมาทำการต่อไป อันนี้นอกจากจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวแล้ว ยังเป็นสถานที่พักผ่อนออกกำลังกาย และยังเป็นการป้องกันการกัดเซาะชายตลิ่ง ควบคู่ไปกับการทำท่อระบายน้ำเสีย เพื่อไม่ให้ปล่อยน้ำเสียลงไปในคลองสำโรง

อ่านรายละเอียด