วันที่ 13 พฤศจิกายน 2567 องค์การจัดการน้ำเสีย โดยศูนย์บริหารจัดการคุณภาพน้ำเทศบาลนครระยอง เข้าร่วมจัดนิทรรศการด้านสิ่งแวดล้อม สำหรับการประเมินสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ระดับประเทศ ประจำปี 2567 ณ เทศบาลนครระยอง จังหวัดระยอง
เมื่อวันที่30มกราคม2563 ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย พร้อมด้วยรองผู้อำนวยการปฎิบัติการและผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรมได้เดินทางไปตรวจผลการดำเนินงานของระบบบำบัดน้ำเสียเทศบาลเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรีและติดตามความก้าวหน้าในการนำน้ำที่ผ่านการบำบัดที่ได้คุณภาพตามมาตรฐานไปใช้ประโยชน์ในด้านเกษตรกรรม โดยสรุปดังนี้ 1.ผลการดำเนินงานของระบบบำบัดน้ำเสียเทศบาลเมืองสิงห์บุรี สามารถบำบัดน้ำเสียได้คุณภาพตามมาตรฐาน 2.มีการนำน้ำที่ผ่านการบำบัดที่ได้คุณภาพตามมาตรฐานกลับไปใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตรกรรม ปลูกข้าว จำนวน 100 กว่าไร่ เนื่องจากอยู่ในช่วงขาดแคลนน้ำใช้ และการนำไปรดน้ำต้นไม้เกาะกลางถนน
เมื่อวันจันทร์ที่ 27 มกราคม2563 ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสียและฝ่ายวิศวกรรมได้เดินทางตรวจความก้าวหน้าการก่อสร้างศูนย์บริหารจัดการคุณภาพน้ำเทศบาลเมืองสามพรานจังหวัดนครปฐม ก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนมีนาคม2563จะสามารถบำบัดน้ำเสียได้ปริมาณ1,000ลูกบาศก์เมตรต่อวัน โดยพื้นที่ด้านบนจะใช้ประโยชน์เป็นสนามฟุตซอลมาตรฐานสำหรับเยาวชนใช้ในการแข่งขันออกกำลังกายและพื้นที่ส่วนใต้ดินจะใช้เป็นระบบบำบัดน้ำเสีย
เมื่อ เวลา 09.30 น. วันนี้(17 ก.ค.63) นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) พร้อมด้วย นายศุภชัย โพธิ์สุ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ อธิบดีกรมที่ดิน ผวจ.นครพนม นายกอบจ.นครพนม ร่วมเปิดสำนักงานที่ดินจังหวัดนครพนม สาขานาหว้า(ใหม่) เพื่ออำนวยความสะดวกและลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประชาชนในการมาติดต่อราชการกับสำนักงานที่ดิน จากนั้นในเวลา 10.30 น. นายนิพนธ์ รมช.มท. และคณะได้เดินทางไปยังหอประชุมอำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม เพื่อมอบโฉนดที่ดิน ตามโครงการ “มอบโฉนดที่ดินทั่วไทย นำสุขคลายทุกข์ให้ประชาชน” ณ หอประชุมอำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม จำนวน 150 แปลง ให้แก่พี่น้องประชาชนในพื้นที่ สืบเนื่องจาก เมื่อประมาณ พ.ศ. 2539 ราษฎรหมู่ที่ 2 ตำบลนางัว อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม ได้เรียกร้องเพื่อให้มีการออกเอกสารสิทธิ์ โดยได้นำพนักงานเจ้าหน้าที่เดินสำรวจออกโฉนดที่ดินของตนโดยอาศัยที่ไม่มีหลักฐาน แต่ไม่สามารถดำเนินการออก โฉนดที่ดินให้แล้วเสร็จได้ เนื่องจากตรวจสอบพื้นที่แล้วปรากฏว่า บริเวณท้องที่ดังกล่าวได้มีพระราช กฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในท้องที่อำเภอศรีสงคราม และกิ่งอำเภอนาหว้า อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2519 ต่อมาในปี พ.ศ. 2552 ได้มีพระราชกฤษฎีกา กำหนดเขต ที่ดิน ในท้องที่บางแห่งในเขตอำเภอนาทม อำเภอบ้านแพง อำเภอศรีสงคราม อำเภอนาหว้า อำเภอท่าอุเทน อำเภอโพนสวรรค์ และอำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2552 และยกเลิกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่อำเภอศรีสงคราม และกิ่งอำเภอนาหว้า อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2519 โดยมีแผนที่แนบท้าย และเมื่อทำการ ตรวจสอบแล้วปรากฏว่า บริเวณท้องที่ตำบลนางัว อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม ไม่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินอีกต่อไป ดังนั้น จึงได้ลงพื้นที่ดำเนินการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินให้แก่ราษฎรหมู่ 2 ตำบลนางัว อำเภอนาหว้า ตามมาตรา 58ทวิ(3)แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน รวมทั้งสิ้นจำนวน 201 แปลง ทั้งนี้ ได้ดำเนินการเสร็จพร้อมที่จะมอบให้แก่ราษฎรแล้ว จำนวน 150 แปลง ส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างดำเนินการ ซึ่งจะเร่งรัดให้แล้วเสร็จโดยเร็ว สำหรับ การมอบโฉนดที่ดินในวันนี้ อยู่ในเขตพื้นที่ หมู่ที่ 2 ตำบลนางัว อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม จำนวน 150 แปลง ซึ่งเป็นการออกเอกสารสิทธิ์จาก “พื้นที่ที่ไม่มีหลักฐาน” เนื้อที่ 60-3-20 ไร่ ราคาประเมินไร่ละ 400,000 บาท คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ ประมาณ 24,320,000 บาท โดยพื้นที่ส่วนใหญ่ราษฎรได้เข้าครอบครองทำประโยชน์เป็นที่อาศัย ปลูกบ้านเรือน เต็มแล้วทั้งหมู่บ้าน นายนิพนธ์ รมช.มท. กล่าวว่า การมอบโฉนดที่ดินให้แก่พี่น้องประชาชนนั้น เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเร่งรัดให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพราะทราบว่าพี่น้องประชาชนหลายท่านรอคอยมายาวนาน 20 ปีบ้่าง 30 ปีบ้าง ซึ่งเข้าใจดีว่า โฉนดที่ดินเปรียบเสมือนความหวังของพี่น้องประชาชนที่ต้องการจะมีเอกสารการครอบครองสิทธิ์ที่ดินที่ถูกต้องเพื่อจะได้ใช้ประโยชน์ในการทำกิน สร้างงาน สร้างรายได้ดูแลครอบครัวได้ต่อไป ในส่วนของงบประมาณเพื่อดำเนินโครงการนี้ ตนได้มีการผลักดันอย่างเต็มที่เพื่อให้ขยายผลให้ครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่ที่สามารถดำเนินการได้ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องของการเข้าถึงโอกาสทางทรัพยากรของประเทศ จะมีส่วนช่วยให้ช่องว่างของความเหลื่อมล้ำทางสังคมลดลง แต่สิ่งสำคัญเมื่อพี่น้องประชาชนได้รับโฉนดที่ดินไปแล้ว ขอให้ดูแลรักษาไว้ให้ดี ใช้ทำกินให้เกิดประโยชน์ตามความประสงค์ และขอให้ช่วยกันดูแลรักษาพื้นที่ ดูแลทรัพย์สมบัติของชาติ ต่อไป
ทั้งนี้เมื่อเวลา 08.00 น.วันนี้ 4 กรกฎาคม 2563 ที่ จังหวัดเพชรบูรณ์ นายนิพนธ์ บุญญามณี รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ประธานกิจการสาขา พร้อมด้วย นายนราพัฒน์ แก้วทอง รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ภาคเหนือ นายธนิตพล ไชยนันทร์ อดีตกรรมการบริหารพรรคฯ และกลุ่มแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ภาคเหนือ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ร่วมประชุม โดยเป็นการพบปะกันเพื่อสนับสนุนการทำงานตามนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ ที่มีนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ เป็นหัวหน้าพรรค และ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน เป็นเลขาธิการพรรค รวมถึงกรรมการบริหารพรรค ที่ได้ทำงานในบทบาทของรัฐมนตรีเพื่อขับเคลื่อนนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน อย่างไรก็ตามหลังจากที่นายจุรินทร์ ได้รับเลือกเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้มีการประกาศนโยบายที่มุ่งเน้นการเมืองวิถีใหม่ไม่วิพากษ์วิจารณ์ใคร “ทำแต่งาน” โดยชูยุทธศาสตร์ “ทำได้ไว ทำได้จริง” เพื่อเร่งรัดการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้แก่พี่น้องประชาชน ด้านนายสัมพันธ์ ตั้งเบญจผล หนึ่งในแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ภาคเหนือ จ.สุโขทัย เปิดเผยว่า “กลุ่มภาคเหนือ พวกเราได้มีพบปะเพื่อแลกเปลี่ยนหาแนวทางช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนอยู่ตลอด ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาจากการลงพื้นที่ทุกครั้งสะท้อนให้เห็นร่วมกันว่าเรื่องการส่งเสริมภาคการเกษตร อย่างนโยบาย ” เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด” เป็นสิ่งที่มุ่งเน้นที่จะยกระดับรายได้เกษตรกรให้มีความมั่นคงเป็นหลักประกันในการประกอบอาชีพ “อย่างการส่งออกสินค้า ผลิตภัณฑ์ไปขายยังต่างประเทศ ไม่เพียงแต่จะเพิ่มรายได้แต่ยังมีส่วนช่วยเรื่องของการพัฒนาสินค้าไทยให้ได้มาตรฐานสากล ซึ่งเราไม่อาจปฏิเสธได้ว่าหากราคาพืชผลทางการเกษตรขายได้ราคา ประชาชนก็มีรายได้เพิ่มขึ้น ก็จะทำให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยภาคครัวเรือน เศรษฐกิจเกิดการหมุนเวียน ซึ่งเหล่านี้จะเป็นประโยชน์แก่คนทุกกลุ่มไม่เฉพาะแต่เกษตรกรเท่านั้น” นอกจากนี้ ในส่วนของปัญหาเรื่องที่ดินทำกิน ก็เป็นปัญหาที่ถูกสอบถามและร้องขออันดับต้นๆจากประชาชนที่ต้องการให้เร่งดำเนินการเพื่อให้ประชาชนมีสิทธิ์ในที่ดินทำกินอย่างถูกต้อง อันเป็นการสร้างหลักประกันในชีวิต อีกด้วย โดยสรุปก็คือ นโยบายต่างๆที่รัฐมนตรีพรรคประชาธิปัตย์ได้ลงไปทำ ภายใต้การนำของหัวหน้าพรรคฯจุรินทร์ นั้น แสดงให้เห็นชัดว่าเป็นไปเพื่อการสร้างประโยชน์ให้แก่ประชาชนอย่างแท้จริง “จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ประชาชนต่างหลั่งไหลเข้ามาสมัครเป็นสมาชิกพรรคเพิ่มขึ้นนับหมื่นคนในช่วง1-2เดือนที่ผ่านมา รวมถึงกลุ่มแกนนำทางภาคเหนือก็พร้อมที่จะสนับสนุนการทำงานทุกอย่างเพื่อขับเคลื่อนสิ่งที่มีคุณค่าให้แก่ประชาชนและประเทศชาติต่อไป” ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2563 นายราเมศ รัตนะเชวง โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงผลการประชุมคณะกรรมการบริหารพรรค ครั้งที่ 3/2563 ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคได้มีมติให้มีการประชุมใหญ่สามัญพรรคประชาธิปัตย์ ประจำปี 2563 ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2563 เวลา 09.30 น. ที่โรงแรมรามา การ์เด้นส์ ฉะนั้นจึงน่าจับตาว่าการเดินสร้างแนวร่วมของนายจุรินทร์ เพื่อสร้างแรงหนุนหากต้องมีการเลือกกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ นั่นหมายถึงอาจให้เลือกหัวหน้าพรรคคนใหม่ด้วย
วันนี้ 1 มิถุนายน 2563 เวลา 14.00 น. นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย(มท.2) ร่วมแสดงความยินดี กับ เนชั่นทีวี Nation TV เนื่องในโอกาสครบรอบ 20 ปี วันที่ 1 มิถุนายน 2563 ณ อาคารอินเตอร์ลิงค์ ย่านบางนา
เมื่อเวลา 9.00 น.วันนี้(29 พ.ค.63) นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย(มท.2)พร้อมด้วย พล.ร.ต.สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการศอ.บต. นั่งเฮลิคอปเตอร์บินสำรวจความเสียหายไฟไหม้ป่าพรุบาเจาะ ในพื้นที่อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส โดยไฟไหม้ป่าพรุบาเจาะ นั้น ได้เกิดสถานการณ์มาตั้งแต่วันที่ 15 พ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ในบริเวณพื้นที่ของนิคมสหกรณ์บาเจาะ ตำบลลุโบะบือซา อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส พื้นที่ป่าได้รับความเสียหายกว่า 2,120 ไร่ จากนั้น ในเวลา 10น. นายนิพนธ์ บุญญามณี รมช.มท. ได้ประชุมร่วมกับ นายเอกรัฐ หลีเส็น ผวจ.นราธิวาส, พล.ร.ต.สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการศอ.บต. และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ทั้ง ผู้แทนโครงการชลประทานจังหวัดนราธิวาส สถานีควบคุมไฟป่า นิคมสหกรณ์บาเจาะ รวมถึงกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดนราธิวาส อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส ในที่ประชุม นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้รับฟังการรายงานและแก้ไขสถานการณ์ไฟป่าจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานที่รับผิดชอบ ได้บูรณาการปฏิบัติร่วมกันเพื่อป้องกันการซ้ำซ้อน โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส เป็นผู้ควบคุมการปฏิบัติในภาพรวม และ บริหารจัดการสถานการณ์ให้คลี่คลายโดยเร็วภายใน5-7วัน ในส่วนของการควบคุมสถานการณ์ไฟป่าในพื้นที่ รมช.มท. ได้สั่งการให้ ศูนย์ป้องกันบรรเทาสาธารณภัย เขต 12 สงขลา ส่งเครื่องสูบน้ำระยะไกลเพิ่มอีก 1 เครื่องจากเดิมที่ส่งไปแล้วจำนวน 2 เครื่อง และเจ้าหน้าที่ผู้มีความชำนาญ ดำเนินการทันทีตั้งแต่เกิดสถานการณ์ พร้อมทั้ง ประสานงานร่วมกับศูนย์ชลประทาน เขต17. สำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 8 สงขลา และหน่วยงานอื่นๆสนับสนุน เครื่องสูบน้ำขนาดตามความเหมาะสมของพื้นที่ รถดับเพลิง รถบรรทุกน้ำ รถแบคโฮ เพื่อร่วมบูรณาการดับไฟป่า นอกจากนี้ ในส่วนพื้นที่ที่เข้าไปปฏิบัติงานได้ยากและมีความเสี่ยงสูง ได้มีการสั่งการให้ เฮลิคอปเตอร์ลำเลียง จากหมวดบินเฉพาะกิจภาคใต้ เข้าปฏิบัติภารกิจทิ้งน้ำดับไฟในพื้นที่อีกด้วย สำหรับพื้นที่ป่าพรุในเขตนิคมสหกรณ์บาเจาะ มีพื้นที่ทั้งสิ้น 90,000 ไร่ โดยประมาณ และได้กันไว้เป็นป่าส่วนกลางไว้ร้อยละ 20 ของพื้นที่ โดยมีลำคลองกันเป็นแนวไว้เพื่อป้องกันชาวบ้านบุกรุกในเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ซึ่งการเกิดสถานการณ์ไฟไหม้ป่าพรุอยู่ในขณะนี้ สามารถการไหม้ทั้งแนวราบและแนวดิ่งที่ลงลึกถึงตะกอนที่ทับถมในพื้นที่ป่าพรุ ส่งผลให้การดับไฟในที่ป่าพรุค่อนข้างยากลำบาก และอาจต้องใช้น้ำจำนวนมากเพื่อดับไฟป่าในครั้งนี้ และสถานการณ์โดยรวมยังคงมีไฟคุกรุ่นอยู่ และอาจมีแนวโน้มลุกลามอีก ซึ่งรมช.มท. ได้สั่งการกำชับการปฏิบัติให้มีการจัดเวรยามของชาวบ้านในพื้นที่ จนท.ปภ.ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และหน่วยสนับสนุนเครื่องจักรเตรียมความพร้อม เพื่อป้องกันและควบคุมสถานการณ์
เมื่อวันที่30มกราคม2563 ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย พร้อมด้วยรองผู้อำนวยการปฎิบัติการและผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรมได้เดินทางไปตรวจผลการดำเนินงานของระบบบำบัดน้ำเสียเทศบาลเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรีและติดตามความก้าวหน้าในการนำน้ำที่ผ่านการบำบัดที่ได้คุณภาพตามมาตรฐานไปใช้ประโยชน์ในด้านเกษตรกรรม โดยสรุปดังนี้ 1.ผลการดำเนินงานของระบบบำบัดน้ำเสียเทศบาลเมืองสิงห์บุรี สามารถบำบัดน้ำเสียได้คุณภาพตามมาตรฐาน 2.มีการนำน้ำที่ผ่านการบำบัดที่ได้คุณภาพตามมาตรฐานกลับไปใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตรกรรม ปลูกข้าว จำนวน 100 กว่าไร่ เนื่องจากอยู่ในช่วงขาดแคลนน้ำใช้ และการนำไปรดน้ำต้นไม้เกาะกลางถนน
เมื่อวันจันทร์ที่ 27 มกราคม2563 ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสียและฝ่ายวิศวกรรมได้เดินทางตรวจความก้าวหน้าการก่อสร้างศูนย์บริหารจัดการคุณภาพน้ำเทศบาลเมืองสามพรานจังหวัดนครปฐม ก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนมีนาคม2563จะสามารถบำบัดน้ำเสียได้ปริมาณ1,000ลูกบาศก์เมตรต่อวัน โดยพื้นที่ด้านบนจะใช้ประโยชน์เป็นสนามฟุตซอลมาตรฐานสำหรับเยาวชนใช้ในการแข่งขันออกกำลังกายและพื้นที่ส่วนใต้ดินจะใช้เป็นระบบบำบัดน้ำเสีย
เมื่อ เวลา 09.30 น. วันนี้(17 ก.ค.63) นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) พร้อมด้วย นายศุภชัย โพธิ์สุ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ อธิบดีกรมที่ดิน ผวจ.นครพนม นายกอบจ.นครพนม ร่วมเปิดสำนักงานที่ดินจังหวัดนครพนม สาขานาหว้า(ใหม่) เพื่ออำนวยความสะดวกและลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประชาชนในการมาติดต่อราชการกับสำนักงานที่ดิน จากนั้นในเวลา 10.30 น. นายนิพนธ์ รมช.มท. และคณะได้เดินทางไปยังหอประชุมอำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม เพื่อมอบโฉนดที่ดิน ตามโครงการ “มอบโฉนดที่ดินทั่วไทย นำสุขคลายทุกข์ให้ประชาชน” ณ หอประชุมอำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม จำนวน 150 แปลง ให้แก่พี่น้องประชาชนในพื้นที่ สืบเนื่องจาก เมื่อประมาณ พ.ศ. 2539 ราษฎรหมู่ที่ 2 ตำบลนางัว อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม ได้เรียกร้องเพื่อให้มีการออกเอกสารสิทธิ์ โดยได้นำพนักงานเจ้าหน้าที่เดินสำรวจออกโฉนดที่ดินของตนโดยอาศัยที่ไม่มีหลักฐาน แต่ไม่สามารถดำเนินการออก โฉนดที่ดินให้แล้วเสร็จได้ เนื่องจากตรวจสอบพื้นที่แล้วปรากฏว่า บริเวณท้องที่ดังกล่าวได้มีพระราช กฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในท้องที่อำเภอศรีสงคราม และกิ่งอำเภอนาหว้า อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2519 ต่อมาในปี พ.ศ. 2552 ได้มีพระราชกฤษฎีกา กำหนดเขต ที่ดิน ในท้องที่บางแห่งในเขตอำเภอนาทม อำเภอบ้านแพง อำเภอศรีสงคราม อำเภอนาหว้า อำเภอท่าอุเทน อำเภอโพนสวรรค์ และอำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2552 และยกเลิกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่อำเภอศรีสงคราม และกิ่งอำเภอนาหว้า อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2519 โดยมีแผนที่แนบท้าย และเมื่อทำการ ตรวจสอบแล้วปรากฏว่า บริเวณท้องที่ตำบลนางัว อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม ไม่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินอีกต่อไป ดังนั้น จึงได้ลงพื้นที่ดำเนินการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินให้แก่ราษฎรหมู่ 2 ตำบลนางัว อำเภอนาหว้า ตามมาตรา 58ทวิ(3)แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน รวมทั้งสิ้นจำนวน 201 แปลง ทั้งนี้ ได้ดำเนินการเสร็จพร้อมที่จะมอบให้แก่ราษฎรแล้ว จำนวน 150 แปลง ส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างดำเนินการ ซึ่งจะเร่งรัดให้แล้วเสร็จโดยเร็ว สำหรับ การมอบโฉนดที่ดินในวันนี้ อยู่ในเขตพื้นที่ หมู่ที่ 2 ตำบลนางัว อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม จำนวน 150 แปลง ซึ่งเป็นการออกเอกสารสิทธิ์จาก “พื้นที่ที่ไม่มีหลักฐาน” เนื้อที่ 60-3-20 ไร่ ราคาประเมินไร่ละ 400,000 บาท คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ ประมาณ 24,320,000 บาท โดยพื้นที่ส่วนใหญ่ราษฎรได้เข้าครอบครองทำประโยชน์เป็นที่อาศัย ปลูกบ้านเรือน เต็มแล้วทั้งหมู่บ้าน นายนิพนธ์ รมช.มท. กล่าวว่า การมอบโฉนดที่ดินให้แก่พี่น้องประชาชนนั้น เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเร่งรัดให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพราะทราบว่าพี่น้องประชาชนหลายท่านรอคอยมายาวนาน 20 ปีบ้่าง 30 ปีบ้าง ซึ่งเข้าใจดีว่า โฉนดที่ดินเปรียบเสมือนความหวังของพี่น้องประชาชนที่ต้องการจะมีเอกสารการครอบครองสิทธิ์ที่ดินที่ถูกต้องเพื่อจะได้ใช้ประโยชน์ในการทำกิน สร้างงาน สร้างรายได้ดูแลครอบครัวได้ต่อไป ในส่วนของงบประมาณเพื่อดำเนินโครงการนี้ ตนได้มีการผลักดันอย่างเต็มที่เพื่อให้ขยายผลให้ครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่ที่สามารถดำเนินการได้ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องของการเข้าถึงโอกาสทางทรัพยากรของประเทศ จะมีส่วนช่วยให้ช่องว่างของความเหลื่อมล้ำทางสังคมลดลง แต่สิ่งสำคัญเมื่อพี่น้องประชาชนได้รับโฉนดที่ดินไปแล้ว ขอให้ดูแลรักษาไว้ให้ดี ใช้ทำกินให้เกิดประโยชน์ตามความประสงค์ และขอให้ช่วยกันดูแลรักษาพื้นที่ ดูแลทรัพย์สมบัติของชาติ ต่อไป
ทั้งนี้เมื่อเวลา 08.00 น.วันนี้ 4 กรกฎาคม 2563 ที่ จังหวัดเพชรบูรณ์ นายนิพนธ์ บุญญามณี รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ประธานกิจการสาขา พร้อมด้วย นายนราพัฒน์ แก้วทอง รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ภาคเหนือ นายธนิตพล ไชยนันทร์ อดีตกรรมการบริหารพรรคฯ และกลุ่มแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ภาคเหนือ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ร่วมประชุม โดยเป็นการพบปะกันเพื่อสนับสนุนการทำงานตามนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ ที่มีนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ เป็นหัวหน้าพรรค และ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน เป็นเลขาธิการพรรค รวมถึงกรรมการบริหารพรรค ที่ได้ทำงานในบทบาทของรัฐมนตรีเพื่อขับเคลื่อนนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน อย่างไรก็ตามหลังจากที่นายจุรินทร์ ได้รับเลือกเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้มีการประกาศนโยบายที่มุ่งเน้นการเมืองวิถีใหม่ไม่วิพากษ์วิจารณ์ใคร “ทำแต่งาน” โดยชูยุทธศาสตร์ “ทำได้ไว ทำได้จริง” เพื่อเร่งรัดการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้แก่พี่น้องประชาชน ด้านนายสัมพันธ์ ตั้งเบญจผล หนึ่งในแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ภาคเหนือ จ.สุโขทัย เปิดเผยว่า “กลุ่มภาคเหนือ พวกเราได้มีพบปะเพื่อแลกเปลี่ยนหาแนวทางช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนอยู่ตลอด ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาจากการลงพื้นที่ทุกครั้งสะท้อนให้เห็นร่วมกันว่าเรื่องการส่งเสริมภาคการเกษตร อย่างนโยบาย ” เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด” เป็นสิ่งที่มุ่งเน้นที่จะยกระดับรายได้เกษตรกรให้มีความมั่นคงเป็นหลักประกันในการประกอบอาชีพ “อย่างการส่งออกสินค้า ผลิตภัณฑ์ไปขายยังต่างประเทศ ไม่เพียงแต่จะเพิ่มรายได้แต่ยังมีส่วนช่วยเรื่องของการพัฒนาสินค้าไทยให้ได้มาตรฐานสากล ซึ่งเราไม่อาจปฏิเสธได้ว่าหากราคาพืชผลทางการเกษตรขายได้ราคา ประชาชนก็มีรายได้เพิ่มขึ้น ก็จะทำให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยภาคครัวเรือน เศรษฐกิจเกิดการหมุนเวียน ซึ่งเหล่านี้จะเป็นประโยชน์แก่คนทุกกลุ่มไม่เฉพาะแต่เกษตรกรเท่านั้น” นอกจากนี้ ในส่วนของปัญหาเรื่องที่ดินทำกิน ก็เป็นปัญหาที่ถูกสอบถามและร้องขออันดับต้นๆจากประชาชนที่ต้องการให้เร่งดำเนินการเพื่อให้ประชาชนมีสิทธิ์ในที่ดินทำกินอย่างถูกต้อง อันเป็นการสร้างหลักประกันในชีวิต อีกด้วย โดยสรุปก็คือ นโยบายต่างๆที่รัฐมนตรีพรรคประชาธิปัตย์ได้ลงไปทำ ภายใต้การนำของหัวหน้าพรรคฯจุรินทร์ นั้น แสดงให้เห็นชัดว่าเป็นไปเพื่อการสร้างประโยชน์ให้แก่ประชาชนอย่างแท้จริง “จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ประชาชนต่างหลั่งไหลเข้ามาสมัครเป็นสมาชิกพรรคเพิ่มขึ้นนับหมื่นคนในช่วง1-2เดือนที่ผ่านมา รวมถึงกลุ่มแกนนำทางภาคเหนือก็พร้อมที่จะสนับสนุนการทำงานทุกอย่างเพื่อขับเคลื่อนสิ่งที่มีคุณค่าให้แก่ประชาชนและประเทศชาติต่อไป” ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2563 นายราเมศ รัตนะเชวง โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงผลการประชุมคณะกรรมการบริหารพรรค ครั้งที่ 3/2563 ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคได้มีมติให้มีการประชุมใหญ่สามัญพรรคประชาธิปัตย์ ประจำปี 2563 ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2563 เวลา 09.30 น. ที่โรงแรมรามา การ์เด้นส์ ฉะนั้นจึงน่าจับตาว่าการเดินสร้างแนวร่วมของนายจุรินทร์ เพื่อสร้างแรงหนุนหากต้องมีการเลือกกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ นั่นหมายถึงอาจให้เลือกหัวหน้าพรรคคนใหม่ด้วย
วันนี้ 1 มิถุนายน 2563 เวลา 14.00 น. นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย(มท.2) ร่วมแสดงความยินดี กับ เนชั่นทีวี Nation TV เนื่องในโอกาสครบรอบ 20 ปี วันที่ 1 มิถุนายน 2563 ณ อาคารอินเตอร์ลิงค์ ย่านบางนา
เมื่อเวลา 9.00 น.วันนี้(29 พ.ค.63) นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย(มท.2)พร้อมด้วย พล.ร.ต.สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการศอ.บต. นั่งเฮลิคอปเตอร์บินสำรวจความเสียหายไฟไหม้ป่าพรุบาเจาะ ในพื้นที่อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส โดยไฟไหม้ป่าพรุบาเจาะ นั้น ได้เกิดสถานการณ์มาตั้งแต่วันที่ 15 พ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ในบริเวณพื้นที่ของนิคมสหกรณ์บาเจาะ ตำบลลุโบะบือซา อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส พื้นที่ป่าได้รับความเสียหายกว่า 2,120 ไร่ จากนั้น ในเวลา 10น. นายนิพนธ์ บุญญามณี รมช.มท. ได้ประชุมร่วมกับ นายเอกรัฐ หลีเส็น ผวจ.นราธิวาส, พล.ร.ต.สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการศอ.บต. และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ทั้ง ผู้แทนโครงการชลประทานจังหวัดนราธิวาส สถานีควบคุมไฟป่า นิคมสหกรณ์บาเจาะ รวมถึงกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดนราธิวาส อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส ในที่ประชุม นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้รับฟังการรายงานและแก้ไขสถานการณ์ไฟป่าจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานที่รับผิดชอบ ได้บูรณาการปฏิบัติร่วมกันเพื่อป้องกันการซ้ำซ้อน โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส เป็นผู้ควบคุมการปฏิบัติในภาพรวม และ บริหารจัดการสถานการณ์ให้คลี่คลายโดยเร็วภายใน5-7วัน ในส่วนของการควบคุมสถานการณ์ไฟป่าในพื้นที่ รมช.มท. ได้สั่งการให้ ศูนย์ป้องกันบรรเทาสาธารณภัย เขต 12 สงขลา ส่งเครื่องสูบน้ำระยะไกลเพิ่มอีก 1 เครื่องจากเดิมที่ส่งไปแล้วจำนวน 2 เครื่อง และเจ้าหน้าที่ผู้มีความชำนาญ ดำเนินการทันทีตั้งแต่เกิดสถานการณ์ พร้อมทั้ง ประสานงานร่วมกับศูนย์ชลประทาน เขต17. สำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 8 สงขลา และหน่วยงานอื่นๆสนับสนุน เครื่องสูบน้ำขนาดตามความเหมาะสมของพื้นที่ รถดับเพลิง รถบรรทุกน้ำ รถแบคโฮ เพื่อร่วมบูรณาการดับไฟป่า นอกจากนี้ ในส่วนพื้นที่ที่เข้าไปปฏิบัติงานได้ยากและมีความเสี่ยงสูง ได้มีการสั่งการให้ เฮลิคอปเตอร์ลำเลียง จากหมวดบินเฉพาะกิจภาคใต้ เข้าปฏิบัติภารกิจทิ้งน้ำดับไฟในพื้นที่อีกด้วย สำหรับพื้นที่ป่าพรุในเขตนิคมสหกรณ์บาเจาะ มีพื้นที่ทั้งสิ้น 90,000 ไร่ โดยประมาณ และได้กันไว้เป็นป่าส่วนกลางไว้ร้อยละ 20 ของพื้นที่ โดยมีลำคลองกันเป็นแนวไว้เพื่อป้องกันชาวบ้านบุกรุกในเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ซึ่งการเกิดสถานการณ์ไฟไหม้ป่าพรุอยู่ในขณะนี้ สามารถการไหม้ทั้งแนวราบและแนวดิ่งที่ลงลึกถึงตะกอนที่ทับถมในพื้นที่ป่าพรุ ส่งผลให้การดับไฟในที่ป่าพรุค่อนข้างยากลำบาก และอาจต้องใช้น้ำจำนวนมากเพื่อดับไฟป่าในครั้งนี้ และสถานการณ์โดยรวมยังคงมีไฟคุกรุ่นอยู่ และอาจมีแนวโน้มลุกลามอีก ซึ่งรมช.มท. ได้สั่งการกำชับการปฏิบัติให้มีการจัดเวรยามของชาวบ้านในพื้นที่ จนท.ปภ.ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และหน่วยสนับสนุนเครื่องจักรเตรียมความพร้อม เพื่อป้องกันและควบคุมสถานการณ์