วันที่ 13 พฤศจิกายน 2567 องค์การจัดการน้ำเสีย โดยศูนย์บริหารจัดการคุณภาพน้ำเทศบาลนครระยอง เข้าร่วมจัดนิทรรศการด้านสิ่งแวดล้อม สำหรับการประเมินสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ระดับประเทศ ประจำปี 2567 ณ เทศบาลนครระยอง จังหวัดระยอง
นิพนธ์ นำทีม อจน.ลงใต้ ลุยสำรวจแก้ไขปัญหาน้ำเสียคลองเตย-ตลาดน้ำคลองแห หาดใหญ่ หวัง ขยายต่อ หลัง กรณี คลองสำโรง สงขลา ได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดี เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2563 นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วยนายจารุวัฒน์ เกลี้ยงเกลา ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา นายอมร วงศ์วรรณ ปลัดเทศบาล ปฏิบัติหน้าที่นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ และนายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงาน การจัดการน้ำเสียในพื้นที่เทศบาลนครหาดใหญ่ บริเวณคลองเตย และคลองแห อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา รวมทั้งมอบนโยบายให้องค์การจัดการน้ำเสียและเทศบาลนครหาดใหญ่ร่วมกันแก้ไขปัญหาน้ำเสียอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับการบูรณาการในระดับพื้นที่โดยให้กระทรวงมหาดไทยเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนภารกิจสำคัญด้านการแก้ไขปัญหาน้ำเสีย ทั้งนี้ องค์การจัดการน้ำเสีย หรือ อจน. ได้มีข้อตกลงร่วมกับเทศบาลนครหาดใหญ่ ในการบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนของเทศบาล ด้วยความมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหามลภาวะน้ำเสียของชุมชน และความปรารถนาร่วมมือกันในการบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนอย่างยั่งยืน รวมทั้งร่วมกันเสริมสร้างจิตสำนึกรับผิดชอบของประชาชนในการรักษาสิ่งแวดล้อม นายนิพนธ์ บุญญามณี รมช.มท.กล่าวว่า “วันนี้ได้ลงพื้นที่พร้อมกับผู้อำนวยการจัดการน้ำเสียซึ่งองค์การจัดการน้ำเสียเป็นรัฐวิสาหกิจใหม่ที่สังกัดกระทรวงมหาดไทยมีหน้าที่ในการดูแลน้ำเสียทั้งระบบทั่วประเทศซึ่งตลาดน้ำคลองแหเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของอำเภอหาดใหญ่และคลองแห่งนี้เป็นเสมือนเส้นทางน้ำซึ่งเมื่อก่อนเรามีการค้าขายทางน้ำแต่ปัจจุบันเป็นตลาดการท่องเที่ยวจึงต้องการดูแลระบบนิเวศที่นี่หรือระบบน้ำเสียที่ออกมาจากแม่น้ำ หรือต่อเนื่องมาจากคลองเตยในเทศบาลนครหาดใหญ่ ระบบนี้เราต้องการที่จะดูแลเพื่อให้ระบบน้ำมีคุณภาพที่ดีขึ้นทาง อจน.พร้อมด้วยกรรมการและประธานชมรมตลาดน้ำคลองแห จึงถือโอกาสนี้ให้ทุกคนช่วยกันรักษาสภาพน้ำและเชิญชวนพี่น้องประชาชนที่อยู่ริมฝั่งคลองทั้งหมด ได้มีส่วนร่วมที่จะดูแลรักษาคุณภาพของน้ำก่อนที่จะถ่ายลงมายังคลองแห โดยเราจะร่วมมือร่วมใจในการที่จะไม่ทิ้งของสกปรกหรือสิ่งปฏิกูล ลงในคลองแหเพื่อที่จะให้ คลองแห่งนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดสงขลาต่อไปจึงถือโอกาสนี้ เชิญชวนประชาชนช่วยกันรักษาคุณภาพน้ำตั้งแต่คลองเตยหาดใหญ่ลงมาถึงคลองแห ซึ่งองค์การจัดการน้ำเสียก็จะพยายามดูแลทั้งระบบต่อเนื่องตั้งแต่เทศบาลนครหาดใหญ่ เทศบาลเมืองควนลัง เทศบาลคอหงส์จนถึงเทศบาลเมืองคลองแห เพื่อดูแลระบบน้ำเสียทั้งระบบนำไปสู่การบำบัดก่อนที่จะปล่อยลงสู่แหล่งน้ำต่อไป” ” ซึ่งจากการตรวจสอบคุณภาพน้ำในวันนี้ ตั้งแต่คลองเตยจนถึงคลองแหก็ถือว่าคุณภาพน้ำยังเป็นเกณฑ์ที่รับได้อยู่ แต่ได้รับการบอกกล่าวจากทางชมรมตลาดน้ำคลองแหว่า น้ำในคลองแหยังมีความตื้นเขินจึงอยากให้มีการขุดลอกซึ่งก็จะรับไปปรึกษากับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรมเจ้าท่าหรือประสานกับกรมชลประทาน และทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาเพราะต้องมีเครื่องมือในการขุดลอกลำน้ำนี้ ดังนั้นความพร้อมของสถานที่ตลาดน้ำคลองแหแห่งนี้ในการที่จะเปิดให้นักท่องเที่ยวในวันที่ 3 กรกฎาคมนี้จึงต้องมีความพร้อมในการต้อนรับนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะในเรื่องของความสะอาด ฉะนั้นสิ่งเหล่านี้ก็ยังเป็นสิ่งสำคัญที่ทางรัฐบาลและทางผู้ว่าราชการจังหวัดยังต้องให้ความสำคัญอยู่ การรักษาระยะห่างก็ดี การสวมหน้ากากอนามัย หรือการใช้เจลแอลกอฮอล์ล้างมือสิ่งเหล่านี้ยังต้องปฏิบัติติดต่อกันที่เราบอกว่า “การ์ดต้องไม่ตก” ฉะนั้นเมื่อเราจะเปิดให้มีการท่องเที่ยวสิ่งเหล่านี้ต้องทำควบคู่ไปด้วย” รมช.มท. นิพนธ์ กล่าว
เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2563 นายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย ได้ประชุมร่วมกับ นายจตุพจน์ ปิยัมปุตระ ผู้ว่าราชการจังหวัดระนองที่ศาลากลางจังหวัดระนอง โดยมีผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดระนอง นายกเทศมนตรีเมืองระนอง นายกเทศมนตรีเมืองบางริ้น นายกเทศมนตรีตำบลบางนอนนายกเทศมนตรีตำบลปากน้ำ นายกเทศมนตรีตำบลปากน้ำท่าเรือ เพื่อร่วมหาแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำเสียในพื้นที่จังหวัดระนอง
เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2563 เวลา 13.30 น. นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) นายธนน เวชกรกานนท์ ประธานคณะทำงานรมช.มท. และนายอรัญ วงศ์อนันต์ ที่ปรึกษารมช.มหาดไทย ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานศูนย์บริหารจัดการคุณภาพน้ำ เทศบาลเมืองสามพราน จังหวัดนครปฐมโดยมีนายชาญนะ เอี่ยมแสง ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม นายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย นายไพบูลย์ ภุงชงค์ นายกเทศมนตรีเมืองสามพราน และแขกรับเชิญพิเศษผู้เกี่ยวข้องร่วมให้การตอนรับ นายนิพนธ์ กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาน้ำเสียต้องมีความร่วมมือกับทุกภาคส่วนโดยเฉพาะประชาชน ต้องสร้างความรู้ความเข้าใจความจำเป็นถึงระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำเสียที่ส่งผลกระทบต่อสุขอนามัย โดยให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาน้ำเสีย อาทิ ทำความสะอาดคู คลอง แม่น้ำ ลดความสกปรกของน้ำเสียจากต้นทาง จากที่อยู่อาศัยหรือร้านอาหารก่อนปล่อยลงสู่ท่อระบายน้ำ ศูนย์บริหารจัดการคุณภาพน้ำเทศบาลเมืองสามพรานสามารถบำบัดน้ำเสียได้ 600 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน โดยองค์การจัดการน้ำเสียมีแนวคิดในการออกแบบให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้ โดยใช้พื้นที่ส่วนใต้ดินเป็นระบบบำบัดน้ำเสียส่วนพื้นที่ด้านบนจะใช้ประโยชน์เป็นสนามฟุตซอลหญ้าเทียมสำหรับเยาวชนในพื้นที่น้ำที่ผ่านการบำบัดได้คุณภาพตามมาตรฐานสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในกิจกรรมต่างๆ “ จึงขอเชิญชวนประชาชนช่วยดูแลและรักษาคุณภาพน้ำเพื่อให้ระบบน้ำมีคุณภาพที่ดีขึ้นการแก้ไขปัญหาน้ำเสียจะทำให้เกิดความสำเร็จเป็นรูปธรรม จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนร่วมมือร่วมใจในการที่จะไม่ทิ้งของสกปรก หรือสิ่งปฏิกูล โดยการลดความสกปรกของน้ำเสียจากต้นทางเริ่มจากที่อยู่อาศัย ร้านอาหาร เช่น การดูแลถังดักไขมัน การไม่ทิ้งน้ำเสียหรือขยะลงในแม่น้ำ ลำคลอง จะเป็นการแก้ไขปัญหาน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้น้ำเสียอยู่ร่วมกับชุมชนได้” นายนิพนธ์กล่าว
เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2563 กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ได้จัดงาน OTOP To The Town โอทอป ภูมิปัญญาไทยใจกลางเมือง ช่วยคนไทย หลังฝ่าภัยโควิด เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางการตลาดและสร้างรายได้ให้ชุมชน โดยมี นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เป็นประธานเปิดงานในครั้งนี้ ภายงานมีสินค้าโอทอปที่ผ่านการคัดสรรสุดยอด หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ปี 2562 ในระดับ 1-5 ดาว และผู้ประกอบการ OTOP ชวนชิมเข้าร่วมงาน ในการนี้ นายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย เข้าร่วมงานดังกล่าวด้วย ณ ลานอเนกประสงค์ ชั้น 2 อาคารรัฐประศาสนภักดี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2563 นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย(มท.2) ลงพื้นที่ตรวจความพร้อมสำหรับการเปิดเมืองและสถานที่ท่องเที่ยวทางทะเลในจังหวัดกระบี่ โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ หัวอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องรายงานข้อมูลความพร้อมและสถานการณ์ในพื้นที่ ทั้งนี้ ตามคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019(โควิด-19) ที่ 6/2563 เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 30 มิถุนายน 2563 ได้กำหนดมาตรการป้องกันโรคเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 โดยกำหนดกิจการ/กิจกรรม มาตรการควบคุมหลัก มาตรการเสริม ที่ผ่อนคลายมากขึ้น เพื่อให้ประชาชนทั่วไปและนักท่องเที่ยวสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติมากขึ้น นั้น ในส่วนของสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดกระบี่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ท่องเที่ยวทางทะเล เช่น อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี เกาะลันคา เป็นสถานที่ที่ได้รับความนิยมของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ ซึ่งอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี ได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อการท่องเที่ยววิถีใหม่ โดยกำหนดมาตรการต่าง ๆ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว เช่น การท่องเที่ยวผ่านการลงทะเบียนจองสิทธิ์ การโหลดแอพลิเคชั่นคิวคิว(QueQ) การจำกัดนักท่องเที่ยวลง 50 % เพื่อการตรวจสอบดูแลได้ทั่วถึง เป็นต้น รวมทั้งความพร้อมเพื่อการช่วยเหลือนักท่องเที่ยวหากเกิดกรณีฉุกเฉิน นอกจากนี้ องค์การจัดการน้ำเสีย(อจน.)รัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ภายใต้การกำกับของนายนิพนธ์ บุญญามณี รมช.มท. นั้น ได้อนุมัติงบประมาณเพื่อการจัดทำระบบบำบัดน้ำเสียบนเกาะพีพี เพื่อรักษาสภาพระบบนิเวศบนเกาะ รองรับนักท่องเที่ยวที่มีจำนวนมากในแต่ละปี พร้อมทั้ง ยังได้ให้มีการศึกษา ออกแบบ ระบบบำบัดน้ำเสียในพื้นที่อ่าวนาง อำเภอเมืองกระบี่ เพื่อการรักษาสภาพแวดล้อม อีกด้วย นิพนธ์ รมช.มท. กล่าวว่า ” การเปิดพื้นที่ต่างๆขณะนี้ดำเนินไปเกือบครอบคลุมทั้งประเทศแล้ว อย่างไรก็ตาม ยังมีบางกิจกรรม ที่ยังคงจำเป็นที่จะต้องชะลอไว้ก่อนเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019(COVID-19) ระลอกใหม่ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ สำหรับการผ่อนปรนมาตรการระยะที่5 ตามที่ได้มีประกาศมีผลตั้งแต่ 1 ก.ค. ที่ผ่านมานั้น การปฏิบัติตามมาตรการในข้อควรระวังอย่างเคร่งครัดยังเป็นสิ่งจำเป็นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ชายหาดและเกาะต่างๆ ของจังหวัดกระบี่เป็นที่ทราบกันดีว่านักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาตินิยมท่องเที่ยว เป็นที่รวมกันของกลุ่มคน เช่น การนั่งรถ เรือ เพื่อสัญจร การเล่นน้ำ การใช้ที่พัก เป็นต้น จึงทำให้มีความเสี่ยงสูงกว่าพื้นที่อื่นๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ยังต้องคำนึงและระมัดระวังอย่างมาก การ์ดต้องไม่ตก เพื่อไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดซ้ำอีก นายนิพนธ์ ยังกล่าวอีกว่า ” การเปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ รวมถึง การเปิดพื้นที่ต่างๆ ก็ยังเป็นเรื่องจำเป็น เพราะ ผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 นั้นส่งผลกระทบอย่างรุนแรงให้แก่ภาคธุรกิจ ซึ่งรัฐบาลก็เองตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเข้าใจและพร้อมพิจารณาแนวทางผ่อนปรนการดำเนินกิจกรรมต่างๆที่ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ได้ยื่นเสนอมาในส่วนของกระทรวงมหาดไทยเอง ตนได้กำชับการปฏิบัติไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดต่างๆ รวมถึงนายอำเภอ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ให้มีความพร้อมใน 2 เรื่อง คือ การดูแลความปลอดภัยในพื้นที่ที่เปิดและผ่อนคลายให้ทำกิจกรรมไปแล้ว และดูแลในกิจกรรมใดที่มีหากมีการเรียกร้องและมีความพร้อม มีการเตรียมการเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดฯได้ ให้เข้าช่วยเหลือและรายงานข้อเรียกร้องมายัง ศบค.ของกระทรวงมหาดไทย เพื่อเสนอเรื่องไปยังคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ต่อไป
เมื่อวันที่10มิถุนายน พ.ศ.2563 นายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย กระทรวงมหาดไทยได้เดินทางไปสำรวจข้อมูลในการจัดทำแผนบริหารจัดการแก้ไขปัญหาน้ำเสียคลองสำโรง จังหวัดสงขลา ตามนโยบายของนายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย(มท.2) ที่มอบหมายให้องค์การจัดการน้ำเสียดำเนินการจัดทำแผนบริหารจัดการแก้ไขปัญหาน้ำเสียคลองสำโรง เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำเสียของคลองสำโรงให้มีคุณภาพน้ำได้มาตรฐาน
นิพนธ์ นำทีม อจน.ลงใต้ ลุยสำรวจแก้ไขปัญหาน้ำเสียคลองเตย-ตลาดน้ำคลองแห หาดใหญ่ หวัง ขยายต่อ หลัง กรณี คลองสำโรง สงขลา ได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดี เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2563 นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วยนายจารุวัฒน์ เกลี้ยงเกลา ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา นายอมร วงศ์วรรณ ปลัดเทศบาล ปฏิบัติหน้าที่นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ และนายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงาน การจัดการน้ำเสียในพื้นที่เทศบาลนครหาดใหญ่ บริเวณคลองเตย และคลองแห อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา รวมทั้งมอบนโยบายให้องค์การจัดการน้ำเสียและเทศบาลนครหาดใหญ่ร่วมกันแก้ไขปัญหาน้ำเสียอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับการบูรณาการในระดับพื้นที่โดยให้กระทรวงมหาดไทยเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนภารกิจสำคัญด้านการแก้ไขปัญหาน้ำเสีย ทั้งนี้ องค์การจัดการน้ำเสีย หรือ อจน. ได้มีข้อตกลงร่วมกับเทศบาลนครหาดใหญ่ ในการบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนของเทศบาล ด้วยความมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหามลภาวะน้ำเสียของชุมชน และความปรารถนาร่วมมือกันในการบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนอย่างยั่งยืน รวมทั้งร่วมกันเสริมสร้างจิตสำนึกรับผิดชอบของประชาชนในการรักษาสิ่งแวดล้อม นายนิพนธ์ บุญญามณี รมช.มท.กล่าวว่า “วันนี้ได้ลงพื้นที่พร้อมกับผู้อำนวยการจัดการน้ำเสียซึ่งองค์การจัดการน้ำเสียเป็นรัฐวิสาหกิจใหม่ที่สังกัดกระทรวงมหาดไทยมีหน้าที่ในการดูแลน้ำเสียทั้งระบบทั่วประเทศซึ่งตลาดน้ำคลองแหเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของอำเภอหาดใหญ่และคลองแห่งนี้เป็นเสมือนเส้นทางน้ำซึ่งเมื่อก่อนเรามีการค้าขายทางน้ำแต่ปัจจุบันเป็นตลาดการท่องเที่ยวจึงต้องการดูแลระบบนิเวศที่นี่หรือระบบน้ำเสียที่ออกมาจากแม่น้ำ หรือต่อเนื่องมาจากคลองเตยในเทศบาลนครหาดใหญ่ ระบบนี้เราต้องการที่จะดูแลเพื่อให้ระบบน้ำมีคุณภาพที่ดีขึ้นทาง อจน.พร้อมด้วยกรรมการและประธานชมรมตลาดน้ำคลองแห จึงถือโอกาสนี้ให้ทุกคนช่วยกันรักษาสภาพน้ำและเชิญชวนพี่น้องประชาชนที่อยู่ริมฝั่งคลองทั้งหมด ได้มีส่วนร่วมที่จะดูแลรักษาคุณภาพของน้ำก่อนที่จะถ่ายลงมายังคลองแห โดยเราจะร่วมมือร่วมใจในการที่จะไม่ทิ้งของสกปรกหรือสิ่งปฏิกูล ลงในคลองแหเพื่อที่จะให้ คลองแห่งนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดสงขลาต่อไปจึงถือโอกาสนี้ เชิญชวนประชาชนช่วยกันรักษาคุณภาพน้ำตั้งแต่คลองเตยหาดใหญ่ลงมาถึงคลองแห ซึ่งองค์การจัดการน้ำเสียก็จะพยายามดูแลทั้งระบบต่อเนื่องตั้งแต่เทศบาลนครหาดใหญ่ เทศบาลเมืองควนลัง เทศบาลคอหงส์จนถึงเทศบาลเมืองคลองแห เพื่อดูแลระบบน้ำเสียทั้งระบบนำไปสู่การบำบัดก่อนที่จะปล่อยลงสู่แหล่งน้ำต่อไป” ” ซึ่งจากการตรวจสอบคุณภาพน้ำในวันนี้ ตั้งแต่คลองเตยจนถึงคลองแหก็ถือว่าคุณภาพน้ำยังเป็นเกณฑ์ที่รับได้อยู่ แต่ได้รับการบอกกล่าวจากทางชมรมตลาดน้ำคลองแหว่า น้ำในคลองแหยังมีความตื้นเขินจึงอยากให้มีการขุดลอกซึ่งก็จะรับไปปรึกษากับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรมเจ้าท่าหรือประสานกับกรมชลประทาน และทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาเพราะต้องมีเครื่องมือในการขุดลอกลำน้ำนี้ ดังนั้นความพร้อมของสถานที่ตลาดน้ำคลองแหแห่งนี้ในการที่จะเปิดให้นักท่องเที่ยวในวันที่ 3 กรกฎาคมนี้จึงต้องมีความพร้อมในการต้อนรับนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะในเรื่องของความสะอาด ฉะนั้นสิ่งเหล่านี้ก็ยังเป็นสิ่งสำคัญที่ทางรัฐบาลและทางผู้ว่าราชการจังหวัดยังต้องให้ความสำคัญอยู่ การรักษาระยะห่างก็ดี การสวมหน้ากากอนามัย หรือการใช้เจลแอลกอฮอล์ล้างมือสิ่งเหล่านี้ยังต้องปฏิบัติติดต่อกันที่เราบอกว่า “การ์ดต้องไม่ตก” ฉะนั้นเมื่อเราจะเปิดให้มีการท่องเที่ยวสิ่งเหล่านี้ต้องทำควบคู่ไปด้วย” รมช.มท. นิพนธ์ กล่าว
เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2563 นายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย ได้ประชุมร่วมกับ นายจตุพจน์ ปิยัมปุตระ ผู้ว่าราชการจังหวัดระนองที่ศาลากลางจังหวัดระนอง โดยมีผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดระนอง นายกเทศมนตรีเมืองระนอง นายกเทศมนตรีเมืองบางริ้น นายกเทศมนตรีตำบลบางนอนนายกเทศมนตรีตำบลปากน้ำ นายกเทศมนตรีตำบลปากน้ำท่าเรือ เพื่อร่วมหาแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำเสียในพื้นที่จังหวัดระนอง
เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2563 เวลา 13.30 น. นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) นายธนน เวชกรกานนท์ ประธานคณะทำงานรมช.มท. และนายอรัญ วงศ์อนันต์ ที่ปรึกษารมช.มหาดไทย ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานศูนย์บริหารจัดการคุณภาพน้ำ เทศบาลเมืองสามพราน จังหวัดนครปฐมโดยมีนายชาญนะ เอี่ยมแสง ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม นายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย นายไพบูลย์ ภุงชงค์ นายกเทศมนตรีเมืองสามพราน และแขกรับเชิญพิเศษผู้เกี่ยวข้องร่วมให้การตอนรับ นายนิพนธ์ กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาน้ำเสียต้องมีความร่วมมือกับทุกภาคส่วนโดยเฉพาะประชาชน ต้องสร้างความรู้ความเข้าใจความจำเป็นถึงระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำเสียที่ส่งผลกระทบต่อสุขอนามัย โดยให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาน้ำเสีย อาทิ ทำความสะอาดคู คลอง แม่น้ำ ลดความสกปรกของน้ำเสียจากต้นทาง จากที่อยู่อาศัยหรือร้านอาหารก่อนปล่อยลงสู่ท่อระบายน้ำ ศูนย์บริหารจัดการคุณภาพน้ำเทศบาลเมืองสามพรานสามารถบำบัดน้ำเสียได้ 600 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน โดยองค์การจัดการน้ำเสียมีแนวคิดในการออกแบบให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้ โดยใช้พื้นที่ส่วนใต้ดินเป็นระบบบำบัดน้ำเสียส่วนพื้นที่ด้านบนจะใช้ประโยชน์เป็นสนามฟุตซอลหญ้าเทียมสำหรับเยาวชนในพื้นที่น้ำที่ผ่านการบำบัดได้คุณภาพตามมาตรฐานสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในกิจกรรมต่างๆ “ จึงขอเชิญชวนประชาชนช่วยดูแลและรักษาคุณภาพน้ำเพื่อให้ระบบน้ำมีคุณภาพที่ดีขึ้นการแก้ไขปัญหาน้ำเสียจะทำให้เกิดความสำเร็จเป็นรูปธรรม จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนร่วมมือร่วมใจในการที่จะไม่ทิ้งของสกปรก หรือสิ่งปฏิกูล โดยการลดความสกปรกของน้ำเสียจากต้นทางเริ่มจากที่อยู่อาศัย ร้านอาหาร เช่น การดูแลถังดักไขมัน การไม่ทิ้งน้ำเสียหรือขยะลงในแม่น้ำ ลำคลอง จะเป็นการแก้ไขปัญหาน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้น้ำเสียอยู่ร่วมกับชุมชนได้” นายนิพนธ์กล่าว
เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2563 กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ได้จัดงาน OTOP To The Town โอทอป ภูมิปัญญาไทยใจกลางเมือง ช่วยคนไทย หลังฝ่าภัยโควิด เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางการตลาดและสร้างรายได้ให้ชุมชน โดยมี นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เป็นประธานเปิดงานในครั้งนี้ ภายงานมีสินค้าโอทอปที่ผ่านการคัดสรรสุดยอด หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ปี 2562 ในระดับ 1-5 ดาว และผู้ประกอบการ OTOP ชวนชิมเข้าร่วมงาน ในการนี้ นายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย เข้าร่วมงานดังกล่าวด้วย ณ ลานอเนกประสงค์ ชั้น 2 อาคารรัฐประศาสนภักดี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2563 นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย(มท.2) ลงพื้นที่ตรวจความพร้อมสำหรับการเปิดเมืองและสถานที่ท่องเที่ยวทางทะเลในจังหวัดกระบี่ โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ หัวอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องรายงานข้อมูลความพร้อมและสถานการณ์ในพื้นที่ ทั้งนี้ ตามคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019(โควิด-19) ที่ 6/2563 เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 30 มิถุนายน 2563 ได้กำหนดมาตรการป้องกันโรคเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 โดยกำหนดกิจการ/กิจกรรม มาตรการควบคุมหลัก มาตรการเสริม ที่ผ่อนคลายมากขึ้น เพื่อให้ประชาชนทั่วไปและนักท่องเที่ยวสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติมากขึ้น นั้น ในส่วนของสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดกระบี่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ท่องเที่ยวทางทะเล เช่น อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี เกาะลันคา เป็นสถานที่ที่ได้รับความนิยมของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ ซึ่งอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี ได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อการท่องเที่ยววิถีใหม่ โดยกำหนดมาตรการต่าง ๆ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว เช่น การท่องเที่ยวผ่านการลงทะเบียนจองสิทธิ์ การโหลดแอพลิเคชั่นคิวคิว(QueQ) การจำกัดนักท่องเที่ยวลง 50 % เพื่อการตรวจสอบดูแลได้ทั่วถึง เป็นต้น รวมทั้งความพร้อมเพื่อการช่วยเหลือนักท่องเที่ยวหากเกิดกรณีฉุกเฉิน นอกจากนี้ องค์การจัดการน้ำเสีย(อจน.)รัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ภายใต้การกำกับของนายนิพนธ์ บุญญามณี รมช.มท. นั้น ได้อนุมัติงบประมาณเพื่อการจัดทำระบบบำบัดน้ำเสียบนเกาะพีพี เพื่อรักษาสภาพระบบนิเวศบนเกาะ รองรับนักท่องเที่ยวที่มีจำนวนมากในแต่ละปี พร้อมทั้ง ยังได้ให้มีการศึกษา ออกแบบ ระบบบำบัดน้ำเสียในพื้นที่อ่าวนาง อำเภอเมืองกระบี่ เพื่อการรักษาสภาพแวดล้อม อีกด้วย นิพนธ์ รมช.มท. กล่าวว่า ” การเปิดพื้นที่ต่างๆขณะนี้ดำเนินไปเกือบครอบคลุมทั้งประเทศแล้ว อย่างไรก็ตาม ยังมีบางกิจกรรม ที่ยังคงจำเป็นที่จะต้องชะลอไว้ก่อนเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019(COVID-19) ระลอกใหม่ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ สำหรับการผ่อนปรนมาตรการระยะที่5 ตามที่ได้มีประกาศมีผลตั้งแต่ 1 ก.ค. ที่ผ่านมานั้น การปฏิบัติตามมาตรการในข้อควรระวังอย่างเคร่งครัดยังเป็นสิ่งจำเป็นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ชายหาดและเกาะต่างๆ ของจังหวัดกระบี่เป็นที่ทราบกันดีว่านักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาตินิยมท่องเที่ยว เป็นที่รวมกันของกลุ่มคน เช่น การนั่งรถ เรือ เพื่อสัญจร การเล่นน้ำ การใช้ที่พัก เป็นต้น จึงทำให้มีความเสี่ยงสูงกว่าพื้นที่อื่นๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ยังต้องคำนึงและระมัดระวังอย่างมาก การ์ดต้องไม่ตก เพื่อไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดซ้ำอีก นายนิพนธ์ ยังกล่าวอีกว่า ” การเปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ รวมถึง การเปิดพื้นที่ต่างๆ ก็ยังเป็นเรื่องจำเป็น เพราะ ผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 นั้นส่งผลกระทบอย่างรุนแรงให้แก่ภาคธุรกิจ ซึ่งรัฐบาลก็เองตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเข้าใจและพร้อมพิจารณาแนวทางผ่อนปรนการดำเนินกิจกรรมต่างๆที่ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ได้ยื่นเสนอมาในส่วนของกระทรวงมหาดไทยเอง ตนได้กำชับการปฏิบัติไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดต่างๆ รวมถึงนายอำเภอ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ให้มีความพร้อมใน 2 เรื่อง คือ การดูแลความปลอดภัยในพื้นที่ที่เปิดและผ่อนคลายให้ทำกิจกรรมไปแล้ว และดูแลในกิจกรรมใดที่มีหากมีการเรียกร้องและมีความพร้อม มีการเตรียมการเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดฯได้ ให้เข้าช่วยเหลือและรายงานข้อเรียกร้องมายัง ศบค.ของกระทรวงมหาดไทย เพื่อเสนอเรื่องไปยังคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ต่อไป
เมื่อวันที่10มิถุนายน พ.ศ.2563 นายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย กระทรวงมหาดไทยได้เดินทางไปสำรวจข้อมูลในการจัดทำแผนบริหารจัดการแก้ไขปัญหาน้ำเสียคลองสำโรง จังหวัดสงขลา ตามนโยบายของนายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย(มท.2) ที่มอบหมายให้องค์การจัดการน้ำเสียดำเนินการจัดทำแผนบริหารจัดการแก้ไขปัญหาน้ำเสียคลองสำโรง เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำเสียของคลองสำโรงให้มีคุณภาพน้ำได้มาตรฐาน