องค์การจัดการน้ำเสีย กระทรวงมหาดไทย
ข่าวสารผู้บริหารจาก องค์การจัดการน้ำเสีย

หมวดหมู่: ข่าวผู้บริหาร

อัพเดทล่าสุด

เมื่อวันศุกร์ที่ 15 มีนาคม 2567 นายเกรียง กัลป์ตินันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เดินทางไปตรวจเยี่ยมการดำเนินงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพน้ำคลองแม่ข่า

เมื่อวันศุกร์ที่ 15 มีนาคม 2567 นายเกรียง กัลป์ตินันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เดินทางไปตรวจเยี่ยมการดำเนินงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพน้ำคลองแม่ข่า บริเวณชุมชนหัวฝาย และชุมชนกำแพงงาม จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีนายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย ผศ.ดร.วสันต์ จอมภักดี ที่ปรึกษาคณะกรรมการและคณะทำงานโครงการพัฒนาและแก้ไขปัญหาคลองแม่ข่า จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมผู้นำชุมชน และประชาชนจากชุมชมทั้ง 2 แห่ง ร่วมให้การต้อนรับ ในการนี้ นายเกรียง กัลป์ตินันท์ ได้มอบหมายให้องค์การจัดการน้ำเสียจัดฝึกอบรมการติดตั้งและดูแลรักษาถังดักไขมันให้กับประชาชนในชุมชน เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการลดความสกปรกของน้ำทิ้งจากครัวเรือน และเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่ช่วยสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพน้ำคลองแม่ข่า จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชนและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน อีกทั้งยังสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงมหาดไทยที่กำหนดให้การจัดการน้ำเสียชุมชนเป็นภารกิจสำคัญในระดับพื้นที่โดยมีเป้าหมายบำบัดน้ำเสียจากชุมชนให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้งชุมชนก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะอีกด้วย สามารถรับวีดีโอได้ที่นี่ : https://www.youtube.com/watch?v=v7vwFgQgFf8

อ่านรายละเอียด

นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) สั่งการ อธิบดีปภ.ระดมรถผลิตน้ำดื่ม-รถประกอบอาหาร-เครื่องจักรปภ. เข้าพื้นที่ทันที ห่วงประชาชนใช้ชีวิตยากลำบาก พร้อมติดตามแก้ไขสถานการณ์ให้คลี่คลายโดยเร็ว

เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2564 นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า จากการที่ตนได้ลงพื้นที่เมื่อช่วงเกิดสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานีและจังหวัดสงขลา นั้น เพื่อไปเยี่ยมให้กำลังใจแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานช่วยเหลือพี่น้องประชาชนและเยี่ยมให้กำลังใจพร้อมมอบถุงยังชีพบรรเทาทุกข์ให้แก่ผู้ประสบภัยในพื้นที่จนถึงขณะนี้สถานการณ์น้ำในพื้นที่ยังคงต้องเฝ้าระวังติดตามอย่างใกล้ชิดเพราะยังมีบางจุดที่น้ำยังท่วมสูงอยู่ และภาพรวมพี่น้องประชาชนยังใช้ชีวิตได้อย่างยากลำบาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องดูแลในสิ่งที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต เช่นอาหาร น้ำดื่ม ฯลฯ ที่มีความจำเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ ได้สั่งการไปยังอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) ให้เร่งดำเนินการจัดส่งรถผลิตน้ำดื่มพร้อมขวดบรรจุภัณฑ์ รถประกอบอาหาร(พร้อมรับประทาน) และเครื่องจักรกลของปภ. เช่น เครื่องสูบน้ำ เป็นต้น ระดมลงพื้นที่ประสบภัยอย่างเร่งด่วน นายนิพนธ์ ยังกล่าวอีกว่า “สถานการณ์ในขณะนี้ยังมีหลายพื้นที่ที่น้ำยังท่วมสูงอยู่ ซึ่งเกิดจากฝนตกอย่างต่อเนื่องในตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมาและส่วนใหญ่เป็นฝนที่ตกบนเทือกเขาและตกเหนือเขื่อนทำให้ปริมาณมีมากอยู่เรื่อยๆและไหลเชี่ยวรุนแรง อย่างเขื่อนบางลาง ที่จ.ยะลานั้นทราบว่ามีการปิดการระบายแล้วเมื่อช่วงเช้าวันนี้(11ม.ค.64)เพื่อลดผลกระทบในพื้นที่รับน้ำท้ายเขื่อนอย่างอ.เมืองยะลา และพื้นที่ตามแนวแม่น้ำและจะไหลต่อไปยังจ.ปัตตานี ซึ่งคาดการณ์ว่าหากไม่มีฝนตกลงมาอีกในช่วงสัปดาห์นี้สถานการณ์ในพื้นที่ก็น่าจะคลี่คลายได้ในช่วงไม่เกินสัปดาห์หน้า แต่อย่างไรก็ตาม ต้องดูแลชีวิตความเป็นอยู่ เช่นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาหารสำเร็จรูปและพร้อมรับประทาน น้ำดื่ม ต้องมีการจัดสรรที่เพียงพอและทั่วถึงเพราะมีครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบกว่า 57,000 ครัวเรือนรวมทั้งต้องดูแลสุขภาพอนามัย โรคที่มากับน้ำ และการแพร่ระบาดโควิดให้ครอบคลุมอีกด้วย” “โดยตนได้สั่งการให้นำรถผลิตน้ำดื่ม รถประกอบอาหาร ตลอดจน เครื่องจักรกล เครื่องสูบน้ำเข้าพื้นที่เร่งด่วนเพื่อลดความเดือดร้อนและเร่งการปฏิบัติงานเพื่อให้สถานการณ์ในพื้นที่กลับคืนสู่สภาวะปกติโดยเร็ว”นายนิพนธ์กล่าว

อ่านรายละเอียด

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จเป็นองค์ประธานพิธีเปิดการจัดงาน OTOP City 2020 ครั้งที่ 16

เมื่อ​วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เวลา 14.00 น. ณ อาคารชาเลนเจอร์ 2 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จเป็นองค์ประธานพิธีเปิดการจัดงาน OTOP City 2020 ครั้งที่ 16 ภายใต้แนวคิด “ของขวัญปีใหม่ ล้ำค่าถูกใจ รวมไว้ใน OTOP City 2020” โดยมี พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ดร.ทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน และนายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย พร้อมทั้งผู้บริหารระดับสูงในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ร่วมเฝ้ารับเสด็จ

อ่านรายละเอียด

สำนักงานจัดการน้ำเสียสาขาสงขลา ประชุมคณะกรรมการกำกับดูแลการบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียเทศบาลนครสงขลา ครั้งที่ 2/2563

วันที่ 22 ธันวาคม 2563 เวลา 10.30 น. องค์การจัดการน้ำเสีย โดยสำนักงานจัดการน้ำเสียสาขาสงขลา ประชุมคณะกรรมการกำกับดูแลการบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียเทศบาลนครสงขลา ครั้งที่ 2/2563 ณ ห้องประชุมสารภี 1 ชั้น 2 เทศบาลนครสงขลา โดยมีนายสมศักดิ์ ตัณติเศรณี นายกเทศบาลนครสงขลา เป็นประธาน นายนิวัฒน์ สุขศิริ ปลัดเทศบาลนครสงขลา, นายธวัชชัย ประดิษฐอกฤษฎ์ ผู้อำนวยการส่วนช่างสุขาภิบาล,นายปัณณพัฒน์ จันทร์เจริญสุข ผู้อำนวยการฝ่ายจัดการน้ำเสีย 2 นางปนัดดา ภาณุทัต ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารการจัดเก็บรายได้,นายนรินทร์ รองโสภา รักษาการผู้จัดการสำนักงานจัดการน้ำเสียสาขาสงขลา, พนักงานสาขาสงขลาเเละหาดใหญ่, เจ้าหน้าที่สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16, เจ้าหน้าที่สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสงขลาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม

อ่านรายละเอียด

สำนักงานจัดการน้ำเสียสาขาบางเสร่ ให้การตัอนรับองค์การบริหารส่วนตำบลพะทาย อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม

วันที่ 22 ธันวาคม 2563 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลบางเสร่ องค์การจัดการน้ำเสีย โดยสำนักงานจัดการน้ำเสียสาขาบางเสร่ ให้การตัอนรับองค์การบริหารส่วนตำบลพะทาย อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม จำนวน 35 คน ที่เข้าศึกษาดูงานการมีส่วนร่วมการบริหารจัดการน้ำเสียชุมชนของเทศบาลตำบลบางเสร่

อ่านรายละเอียด

ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสียได้เดินทางเข้าประชุมกับ คณะกรรมาธิการ กิจการศาล องค์อิสระ องค์กรอัยการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนและกองทุน ของรัฐสภา ที่เทศบาลตำบลปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

เมื่อวันที่ 6-8 ธันวาคม  2563 นายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสียได้เดินทางเข้าประชุมกับ คณะกรรมาธิการ  กิจการศาล องค์อิสระ  องค์กรอัยการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนและกองทุน ของรัฐสภา  ที่เทศบาลตำบลปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน  โดยมี ส่วนราชการ เข้าร่วม ได้แก่  ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอนการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน เทศบาลตำบลปาย  โดยได้มีการหารือ เพื่อดำเนินการ  บริหารจัดการ น้ำเสียชุมชน ระหว่างองค์การจัดการน้ำเสียและเทศบาลเมืองแม่ฮองสอนและเทศบาลตำบลปายที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่ได้ความนิยม เพื่อเป็นการร่วมกันป้องกันแก้ไขปัญหาน้ำเสียที่จะเกิดขึ้นจากการท่องเที่ยวในอนาคต

อ่านรายละเอียด

นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงหมาดไทย (มท.2) ลงพื้นที่ นราธิวาสเตรียมแผนรับมืออุทกภัย-ภัยแล้ง-ไฟป่าพรุ พร้อม กำชับ เร่งรัดเดินสำรวจออกโฉนดฯ

นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงหมาดไทย (มท.2)  ลงพื้นที่ นราธิวาสเตรียมแผนรับมืออุทกภัย-ภัยแล้ง-ไฟป่าพรุ พร้อม กำชับ เร่งรัดเดินสำรวจออกโฉนดฯ และแก้ไขปัญหาที่ดินของรัฐทับซ้อนที่ดินประชาชน พร้อม ผลักดันการก่อสร้างรั้วตามแนวชายแดนไทย-มาเลย์เต็มพื้นที่   เมื่อเวลา 14.00 น. วันนี้ (11ก.ย.63) นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) และคณะ เดินทางมาตรวจเยี่ยมติดตามความพร้อม แผนบริหารจัดการสาธารณภัยในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ด้านอุทกภัย ภัยแล้ง และไฟป่า รวมถึงการติดตามการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัย และที่ดินทำกินของราษฎร ในพื้นที่ตำบลสุไหงปาดีทับซ้อนที่ดินของรัฐ ณ ห้องประชุมชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดนราธิวาส โดยมี นายเอกรัฐ หลีเส็น ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ตำบลสุไหงปาดี เข้าร่วมประชุมและรายงานผลการปฏิบัติงาน โดย รมช.มท. ได้มอบนโยบายในเรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย ภัยแล้ง และไฟป่า ว่า “รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการเตรียมความพร้อมรับมือป้องกันเผชิญเหตุ และให้ความช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยอย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพโดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้บูรณาการร่วมกับทุกภาคส่วน ทั้งด้านหน่วยปฏิบัติการ และเครื่องจักรกลสาธารณภัยในพื้นที่ ทั้งในส่วนของด้านกำลังพล เครื่องจักรกล งานระบบสื่อสารเพื่อให้มีความพร้อมรองรับสถานการณ์อุทกภัย ภัยแล้ง ไฟป่าที่อาจเกิดขึ้น ตั้งแต่ให้มีการทบทวนและปรับปรุงแผนที่อุทกภัยของจังหวัดให้สอดคล้องกับอุทกภัยสถานการณ์ปัจจุบัน โดยหน่วยงานต่างๆต้องตรวจสอบและเตรียมความพร้อม วัสดุอุปกรณ์ เครื่องจักรกลสาธารณภัย เครื่องมือสื่อสาร เครื่องมือแจ้งเตือนภัย ให้มีความพร้อมใช้งาน และต้องมีการกำหนดพื้นที่ปลอดภัย เส้นทางอพยพชั่วคราว ศูนย์พักพิงชั่วคราว ตลอดจนการซักซ้อมความเข้าใจของเจ้าหน้าที่ และประชาชน ถึงแนวทางปฏิบัติ เพื่อลดความสับสน รวมถึงเร่งทำการขุดลอกท่อระบายน้ำ กำจัดวัชพืช สิ่งกีดขวางทางน้ำ ให้สามารถรองรับน้ำ และระบายได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมเปิดช่องทางแจ้งเตือนให้ประชาชนทราบทางสื่อต่างๆ ทั้งของชุมชน หอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน เพื่อให้ประชาชนเข้าใจ ถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การเตรียมความพร้อม จึงเป็นกลไกที่สำคัญ ที่จะทำให้การปฏิบัติการเผชิญเหตุ และช่วยเหลือผู้ประสบภัยเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ และมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะสามารถลดความสูญเสีย ทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้ รวมถึงความสำคัญกับการแจ้งเตือนภัยอย่างเป็นระบบ รวดเร็ว และเข้าถึงประชาชนได้ตรงจุด การสร้างเครือข่ายประชาสังคม อาสาสมัคร กู้ภัยในพื้นที่ ทั้งนี้การเตรียมความพร้อมจึงถือเป็นกลไกสำคัญในการบูรณาการ จัดการในภาวะฉุกเฉินตามแผนที่กำหนด รวมถึงการซักซ้อมแผนให้พร้อมดูแลประชาชน และสามารถบริหารจัดการสถานการณ์อุทกภัย ภัยแล้ง และไฟป่าที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างเป็นระบบ” ทั้งนี้ นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงหมาดไทย (มท.2) ยังได้ฝากในเรื่องของความปลอดภัยบนท้องถนน ว่า “ตั้งแต่ต้นปีจนถึงวันนี้การเสียชีวิตบนท้องถนน มีจำนวนประมาณหมื่นกว่ารายแล้ว ฉะนั้นจึงถือเป็นภัยที่คุกคาม ทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนคนไทย ดังนั้นเรื่องการลดอุบัติเหตุบนท้องถนน ยังคงเป็นภารกิจที่ต้องขอความร่วมมือที่ทุกหน่วยงานต้องร่วมกันขับเคลื่อนโครงการเสริมสร้างประสิทธิภาพ การป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในระดับพื้นที่ ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม โดยความร่วมมือระหว่างท้องที่ และ ท้องถิ่นร่วมกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่อย่างจริงจัง โดยการดำเนินการบังคับใช้กฎหมาย อย่างเข้มงวดตลอดทั้งปี และให้หน่วยงานที่รับผิดชอบให้ความสำคัญ กับการออกแบบการแก้ปัญหาจุดเสี่ยง จุดอันตราย ในถนนที่รับผิดชอบ ให้มีความปลอดภัย และกำหนดให้มีการประชุม ศปถ.จังหวัด ศปถ.อำเภอ และศปถ.อปท. เป็นประจำทุกเดือน นอกจากนี้ นายนิพนธ์ บุญญามณีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงหมาดไทย (มท.2) ยังได้ติดตามในเรื่องโครงการก่อสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโกลกในระยะที่ 1 ซึ่งก้าวหน้าไป 80 เปอร์เซ็นต์แล้วส่วนระยะที่ 2 ก็จะดำเนินการต่อจากระยะที่ 1 ต่อไป และยังได้รับทราบความประสงค์ของหน่วยเฉพาะกิจนราธิวาสในเรื่องแนวรั้วชายแดนกับด่านพรมแดน ที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้าน ว่าความประสงค์ที่จะให้ดำเนินการต่อเนื่องไปถึงพื้นที่อำเภอตากใบ ซึ่งคิดว่าจะเป็นประโยชน์มากขึ้น สำหรับการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งและแก้ไขปัญหาไฟป่าพรุนั้น ก็ทราบว่าทั้งชลประทานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีแผนงานที่ชัดเจน ในส่วนของเรื่องปัญหาที่ดิน การออกเอกสารสิทธิ์ในที่ดินให้กับพี่น้องประชาชน ซึ่งเรื่องนี้ก็ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง และเป็นนโยบายของรัฐบาลในการที่จะมาดูแล แก้ปัญหาในเรื่องของการถือครองกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่มีปัญหาทับซ้อนระหว่างที่ดินของรัฐ กับที่ดินของประชาชน วันนี้ก็ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปกำหนดแนวเขตระหว่างที่ดินของรัฐไม่ว่าจะเป็นที่ดินป่าไม้ หรือป่าพรุ ที่ดินเขตห้ามล่าทั้งหลายทั้งปวง กับที่ดินของประชาชน ที่ดินใดมีข้อพิพาทอยู่แล้วและไม่ใช่ที่ดินของรัฐ ผมในฐานะที่ดูแลกรมที่ดิน ก็มีความประสงค์จะเร่งรัดที่จะออกเอกสารสิทธิ์ให้ประชาชน อันนี้ก็ยังเดินหน้าต่อ เมื่อเราทราบแนวเขตแล้วก็จะส่งเจ้าหน้าที่มาออกสำรวจรังวัด ออกเอกสารสิทธิ์ให้กับพี่น้องประชาชน ในส่วนของที่ดินของรัฐซึ่งประชาชนไม่สามารถพิสูจน์สิทธิ์ได้ว่าถือการครอบครองมาก่อน ก็จะต้องนำไปสู่กระบวนการที่นำไปสู่ คทช.ที่เรียกว่าเป็นกฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐบาลออกมาใหม่เป็นเครื่องมือในการดูแลจัดการเรื่องที่ดินทำอย่างไรจะให้พี่น้องประชาชนแม้จะไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินมาก่อนก็ถือว่าพี่น้องในชุมชนนั้น หรือว่าในนามองค์กรนั้นๆ เขาสามารถเข้าไปทำประโยชน์ได้ จะเป็นการเช่าก็ดีหรือจะเป็นตามข้อตกลงกัน แต่เขาจะไม่อยู่ในฐานะผู้บุกรุก นี่คือสิ่งที่แสดงความประสงค์ และให้มีความชัดเจนในการแก้ปัญหาในเรื่องที่ดินให้กับพี่น้องประชาชน วันนี้ถือว่ามาทั้งเรื่องอุทกภัยและมาทั้งเรื่องของที่ดินรวมถึงขอความกรุณาผวจ.นราธิวาสให้เข้ามาช่วยดูแลเรื่องความปลอดภัยบนท้องถนนซึ่งถือว่ามีสถิติการเสียชีวิตที่สูงอยู่ อยากจะเห็นทุกฝ่ายได้ร่วมกันไม่ว่าจะเป็นกลไกของ ศูนย์ความปลอดภัยบนท้องถนนระดับจังหวัดศูนย์ความปลอดภัยบนท้องถนนอำเภอศูนย์ความปลอดภัยบนท้องถนนระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในการที่จะดูแล เราประสบผลความสำเร็จในเรื่องของ covid-19 เพราะทุกฝ่ายบูรณาการกัน จึงอยากเห็นการบูรณาการแบบนี้ในทุกภารกิจของประเทศที่เป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้อีกด้วย

อ่านรายละเอียด

นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) สั่งการ อธิบดีปภ.ระดมรถผลิตน้ำดื่ม-รถประกอบอาหาร-เครื่องจักรปภ. เข้าพื้นที่ทันที ห่วงประชาชนใช้ชีวิตยากลำบาก พร้อมติดตามแก้ไขสถานการณ์ให้คลี่คลายโดยเร็ว

เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2564 นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า จากการที่ตนได้ลงพื้นที่เมื่อช่วงเกิดสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานีและจังหวัดสงขลา นั้น เพื่อไปเยี่ยมให้กำลังใจแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานช่วยเหลือพี่น้องประชาชนและเยี่ยมให้กำลังใจพร้อมมอบถุงยังชีพบรรเทาทุกข์ให้แก่ผู้ประสบภัยในพื้นที่จนถึงขณะนี้สถานการณ์น้ำในพื้นที่ยังคงต้องเฝ้าระวังติดตามอย่างใกล้ชิดเพราะยังมีบางจุดที่น้ำยังท่วมสูงอยู่ และภาพรวมพี่น้องประชาชนยังใช้ชีวิตได้อย่างยากลำบาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องดูแลในสิ่งที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต เช่นอาหาร น้ำดื่ม ฯลฯ ที่มีความจำเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ ได้สั่งการไปยังอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) ให้เร่งดำเนินการจัดส่งรถผลิตน้ำดื่มพร้อมขวดบรรจุภัณฑ์ รถประกอบอาหาร(พร้อมรับประทาน) และเครื่องจักรกลของปภ. เช่น เครื่องสูบน้ำ เป็นต้น ระดมลงพื้นที่ประสบภัยอย่างเร่งด่วน นายนิพนธ์ ยังกล่าวอีกว่า “สถานการณ์ในขณะนี้ยังมีหลายพื้นที่ที่น้ำยังท่วมสูงอยู่ ซึ่งเกิดจากฝนตกอย่างต่อเนื่องในตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมาและส่วนใหญ่เป็นฝนที่ตกบนเทือกเขาและตกเหนือเขื่อนทำให้ปริมาณมีมากอยู่เรื่อยๆและไหลเชี่ยวรุนแรง อย่างเขื่อนบางลาง ที่จ.ยะลานั้นทราบว่ามีการปิดการระบายแล้วเมื่อช่วงเช้าวันนี้(11ม.ค.64)เพื่อลดผลกระทบในพื้นที่รับน้ำท้ายเขื่อนอย่างอ.เมืองยะลา และพื้นที่ตามแนวแม่น้ำและจะไหลต่อไปยังจ.ปัตตานี ซึ่งคาดการณ์ว่าหากไม่มีฝนตกลงมาอีกในช่วงสัปดาห์นี้สถานการณ์ในพื้นที่ก็น่าจะคลี่คลายได้ในช่วงไม่เกินสัปดาห์หน้า แต่อย่างไรก็ตาม ต้องดูแลชีวิตความเป็นอยู่ เช่นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาหารสำเร็จรูปและพร้อมรับประทาน น้ำดื่ม ต้องมีการจัดสรรที่เพียงพอและทั่วถึงเพราะมีครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบกว่า 57,000 ครัวเรือนรวมทั้งต้องดูแลสุขภาพอนามัย โรคที่มากับน้ำ และการแพร่ระบาดโควิดให้ครอบคลุมอีกด้วย” “โดยตนได้สั่งการให้นำรถผลิตน้ำดื่ม รถประกอบอาหาร ตลอดจน เครื่องจักรกล เครื่องสูบน้ำเข้าพื้นที่เร่งด่วนเพื่อลดความเดือดร้อนและเร่งการปฏิบัติงานเพื่อให้สถานการณ์ในพื้นที่กลับคืนสู่สภาวะปกติโดยเร็ว”นายนิพนธ์กล่าว

อ่านรายละเอียด

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จเป็นองค์ประธานพิธีเปิดการจัดงาน OTOP City 2020 ครั้งที่ 16

เมื่อ​วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เวลา 14.00 น. ณ อาคารชาเลนเจอร์ 2 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จเป็นองค์ประธานพิธีเปิดการจัดงาน OTOP City 2020 ครั้งที่ 16 ภายใต้แนวคิด “ของขวัญปีใหม่ ล้ำค่าถูกใจ รวมไว้ใน OTOP City 2020” โดยมี พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ดร.ทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน และนายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย พร้อมทั้งผู้บริหารระดับสูงในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ร่วมเฝ้ารับเสด็จ

อ่านรายละเอียด

สำนักงานจัดการน้ำเสียสาขาสงขลา ประชุมคณะกรรมการกำกับดูแลการบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียเทศบาลนครสงขลา ครั้งที่ 2/2563

วันที่ 22 ธันวาคม 2563 เวลา 10.30 น. องค์การจัดการน้ำเสีย โดยสำนักงานจัดการน้ำเสียสาขาสงขลา ประชุมคณะกรรมการกำกับดูแลการบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียเทศบาลนครสงขลา ครั้งที่ 2/2563 ณ ห้องประชุมสารภี 1 ชั้น 2 เทศบาลนครสงขลา โดยมีนายสมศักดิ์ ตัณติเศรณี นายกเทศบาลนครสงขลา เป็นประธาน นายนิวัฒน์ สุขศิริ ปลัดเทศบาลนครสงขลา, นายธวัชชัย ประดิษฐอกฤษฎ์ ผู้อำนวยการส่วนช่างสุขาภิบาล,นายปัณณพัฒน์ จันทร์เจริญสุข ผู้อำนวยการฝ่ายจัดการน้ำเสีย 2 นางปนัดดา ภาณุทัต ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารการจัดเก็บรายได้,นายนรินทร์ รองโสภา รักษาการผู้จัดการสำนักงานจัดการน้ำเสียสาขาสงขลา, พนักงานสาขาสงขลาเเละหาดใหญ่, เจ้าหน้าที่สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16, เจ้าหน้าที่สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสงขลาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม

อ่านรายละเอียด

สำนักงานจัดการน้ำเสียสาขาบางเสร่ ให้การตัอนรับองค์การบริหารส่วนตำบลพะทาย อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม

วันที่ 22 ธันวาคม 2563 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลบางเสร่ องค์การจัดการน้ำเสีย โดยสำนักงานจัดการน้ำเสียสาขาบางเสร่ ให้การตัอนรับองค์การบริหารส่วนตำบลพะทาย อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม จำนวน 35 คน ที่เข้าศึกษาดูงานการมีส่วนร่วมการบริหารจัดการน้ำเสียชุมชนของเทศบาลตำบลบางเสร่

อ่านรายละเอียด

ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสียได้เดินทางเข้าประชุมกับ คณะกรรมาธิการ กิจการศาล องค์อิสระ องค์กรอัยการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนและกองทุน ของรัฐสภา ที่เทศบาลตำบลปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

เมื่อวันที่ 6-8 ธันวาคม  2563 นายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสียได้เดินทางเข้าประชุมกับ คณะกรรมาธิการ  กิจการศาล องค์อิสระ  องค์กรอัยการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนและกองทุน ของรัฐสภา  ที่เทศบาลตำบลปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน  โดยมี ส่วนราชการ เข้าร่วม ได้แก่  ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอนการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน เทศบาลตำบลปาย  โดยได้มีการหารือ เพื่อดำเนินการ  บริหารจัดการ น้ำเสียชุมชน ระหว่างองค์การจัดการน้ำเสียและเทศบาลเมืองแม่ฮองสอนและเทศบาลตำบลปายที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่ได้ความนิยม เพื่อเป็นการร่วมกันป้องกันแก้ไขปัญหาน้ำเสียที่จะเกิดขึ้นจากการท่องเที่ยวในอนาคต

อ่านรายละเอียด

นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงหมาดไทย (มท.2) ลงพื้นที่ นราธิวาสเตรียมแผนรับมืออุทกภัย-ภัยแล้ง-ไฟป่าพรุ พร้อม กำชับ เร่งรัดเดินสำรวจออกโฉนดฯ

นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงหมาดไทย (มท.2)  ลงพื้นที่ นราธิวาสเตรียมแผนรับมืออุทกภัย-ภัยแล้ง-ไฟป่าพรุ พร้อม กำชับ เร่งรัดเดินสำรวจออกโฉนดฯ และแก้ไขปัญหาที่ดินของรัฐทับซ้อนที่ดินประชาชน พร้อม ผลักดันการก่อสร้างรั้วตามแนวชายแดนไทย-มาเลย์เต็มพื้นที่   เมื่อเวลา 14.00 น. วันนี้ (11ก.ย.63) นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) และคณะ เดินทางมาตรวจเยี่ยมติดตามความพร้อม แผนบริหารจัดการสาธารณภัยในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ด้านอุทกภัย ภัยแล้ง และไฟป่า รวมถึงการติดตามการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัย และที่ดินทำกินของราษฎร ในพื้นที่ตำบลสุไหงปาดีทับซ้อนที่ดินของรัฐ ณ ห้องประชุมชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดนราธิวาส โดยมี นายเอกรัฐ หลีเส็น ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ตำบลสุไหงปาดี เข้าร่วมประชุมและรายงานผลการปฏิบัติงาน โดย รมช.มท. ได้มอบนโยบายในเรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย ภัยแล้ง และไฟป่า ว่า “รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการเตรียมความพร้อมรับมือป้องกันเผชิญเหตุ และให้ความช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยอย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพโดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้บูรณาการร่วมกับทุกภาคส่วน ทั้งด้านหน่วยปฏิบัติการ และเครื่องจักรกลสาธารณภัยในพื้นที่ ทั้งในส่วนของด้านกำลังพล เครื่องจักรกล งานระบบสื่อสารเพื่อให้มีความพร้อมรองรับสถานการณ์อุทกภัย ภัยแล้ง ไฟป่าที่อาจเกิดขึ้น ตั้งแต่ให้มีการทบทวนและปรับปรุงแผนที่อุทกภัยของจังหวัดให้สอดคล้องกับอุทกภัยสถานการณ์ปัจจุบัน โดยหน่วยงานต่างๆต้องตรวจสอบและเตรียมความพร้อม วัสดุอุปกรณ์ เครื่องจักรกลสาธารณภัย เครื่องมือสื่อสาร เครื่องมือแจ้งเตือนภัย ให้มีความพร้อมใช้งาน และต้องมีการกำหนดพื้นที่ปลอดภัย เส้นทางอพยพชั่วคราว ศูนย์พักพิงชั่วคราว ตลอดจนการซักซ้อมความเข้าใจของเจ้าหน้าที่ และประชาชน ถึงแนวทางปฏิบัติ เพื่อลดความสับสน รวมถึงเร่งทำการขุดลอกท่อระบายน้ำ กำจัดวัชพืช สิ่งกีดขวางทางน้ำ ให้สามารถรองรับน้ำ และระบายได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมเปิดช่องทางแจ้งเตือนให้ประชาชนทราบทางสื่อต่างๆ ทั้งของชุมชน หอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน เพื่อให้ประชาชนเข้าใจ ถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การเตรียมความพร้อม จึงเป็นกลไกที่สำคัญ ที่จะทำให้การปฏิบัติการเผชิญเหตุ และช่วยเหลือผู้ประสบภัยเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ และมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะสามารถลดความสูญเสีย ทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้ รวมถึงความสำคัญกับการแจ้งเตือนภัยอย่างเป็นระบบ รวดเร็ว และเข้าถึงประชาชนได้ตรงจุด การสร้างเครือข่ายประชาสังคม อาสาสมัคร กู้ภัยในพื้นที่ ทั้งนี้การเตรียมความพร้อมจึงถือเป็นกลไกสำคัญในการบูรณาการ จัดการในภาวะฉุกเฉินตามแผนที่กำหนด รวมถึงการซักซ้อมแผนให้พร้อมดูแลประชาชน และสามารถบริหารจัดการสถานการณ์อุทกภัย ภัยแล้ง และไฟป่าที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างเป็นระบบ” ทั้งนี้ นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงหมาดไทย (มท.2) ยังได้ฝากในเรื่องของความปลอดภัยบนท้องถนน ว่า “ตั้งแต่ต้นปีจนถึงวันนี้การเสียชีวิตบนท้องถนน มีจำนวนประมาณหมื่นกว่ารายแล้ว ฉะนั้นจึงถือเป็นภัยที่คุกคาม ทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนคนไทย ดังนั้นเรื่องการลดอุบัติเหตุบนท้องถนน ยังคงเป็นภารกิจที่ต้องขอความร่วมมือที่ทุกหน่วยงานต้องร่วมกันขับเคลื่อนโครงการเสริมสร้างประสิทธิภาพ การป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในระดับพื้นที่ ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม โดยความร่วมมือระหว่างท้องที่ และ ท้องถิ่นร่วมกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่อย่างจริงจัง โดยการดำเนินการบังคับใช้กฎหมาย อย่างเข้มงวดตลอดทั้งปี และให้หน่วยงานที่รับผิดชอบให้ความสำคัญ กับการออกแบบการแก้ปัญหาจุดเสี่ยง จุดอันตราย ในถนนที่รับผิดชอบ ให้มีความปลอดภัย และกำหนดให้มีการประชุม ศปถ.จังหวัด ศปถ.อำเภอ และศปถ.อปท. เป็นประจำทุกเดือน นอกจากนี้ นายนิพนธ์ บุญญามณีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงหมาดไทย (มท.2) ยังได้ติดตามในเรื่องโครงการก่อสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโกลกในระยะที่ 1 ซึ่งก้าวหน้าไป 80 เปอร์เซ็นต์แล้วส่วนระยะที่ 2 ก็จะดำเนินการต่อจากระยะที่ 1 ต่อไป และยังได้รับทราบความประสงค์ของหน่วยเฉพาะกิจนราธิวาสในเรื่องแนวรั้วชายแดนกับด่านพรมแดน ที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้าน ว่าความประสงค์ที่จะให้ดำเนินการต่อเนื่องไปถึงพื้นที่อำเภอตากใบ ซึ่งคิดว่าจะเป็นประโยชน์มากขึ้น สำหรับการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งและแก้ไขปัญหาไฟป่าพรุนั้น ก็ทราบว่าทั้งชลประทานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีแผนงานที่ชัดเจน ในส่วนของเรื่องปัญหาที่ดิน การออกเอกสารสิทธิ์ในที่ดินให้กับพี่น้องประชาชน ซึ่งเรื่องนี้ก็ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง และเป็นนโยบายของรัฐบาลในการที่จะมาดูแล แก้ปัญหาในเรื่องของการถือครองกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่มีปัญหาทับซ้อนระหว่างที่ดินของรัฐ กับที่ดินของประชาชน วันนี้ก็ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปกำหนดแนวเขตระหว่างที่ดินของรัฐไม่ว่าจะเป็นที่ดินป่าไม้ หรือป่าพรุ ที่ดินเขตห้ามล่าทั้งหลายทั้งปวง กับที่ดินของประชาชน ที่ดินใดมีข้อพิพาทอยู่แล้วและไม่ใช่ที่ดินของรัฐ ผมในฐานะที่ดูแลกรมที่ดิน ก็มีความประสงค์จะเร่งรัดที่จะออกเอกสารสิทธิ์ให้ประชาชน อันนี้ก็ยังเดินหน้าต่อ เมื่อเราทราบแนวเขตแล้วก็จะส่งเจ้าหน้าที่มาออกสำรวจรังวัด ออกเอกสารสิทธิ์ให้กับพี่น้องประชาชน ในส่วนของที่ดินของรัฐซึ่งประชาชนไม่สามารถพิสูจน์สิทธิ์ได้ว่าถือการครอบครองมาก่อน ก็จะต้องนำไปสู่กระบวนการที่นำไปสู่ คทช.ที่เรียกว่าเป็นกฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐบาลออกมาใหม่เป็นเครื่องมือในการดูแลจัดการเรื่องที่ดินทำอย่างไรจะให้พี่น้องประชาชนแม้จะไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินมาก่อนก็ถือว่าพี่น้องในชุมชนนั้น หรือว่าในนามองค์กรนั้นๆ เขาสามารถเข้าไปทำประโยชน์ได้ จะเป็นการเช่าก็ดีหรือจะเป็นตามข้อตกลงกัน แต่เขาจะไม่อยู่ในฐานะผู้บุกรุก นี่คือสิ่งที่แสดงความประสงค์ และให้มีความชัดเจนในการแก้ปัญหาในเรื่องที่ดินให้กับพี่น้องประชาชน วันนี้ถือว่ามาทั้งเรื่องอุทกภัยและมาทั้งเรื่องของที่ดินรวมถึงขอความกรุณาผวจ.นราธิวาสให้เข้ามาช่วยดูแลเรื่องความปลอดภัยบนท้องถนนซึ่งถือว่ามีสถิติการเสียชีวิตที่สูงอยู่ อยากจะเห็นทุกฝ่ายได้ร่วมกันไม่ว่าจะเป็นกลไกของ ศูนย์ความปลอดภัยบนท้องถนนระดับจังหวัดศูนย์ความปลอดภัยบนท้องถนนอำเภอศูนย์ความปลอดภัยบนท้องถนนระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในการที่จะดูแล เราประสบผลความสำเร็จในเรื่องของ covid-19 เพราะทุกฝ่ายบูรณาการกัน จึงอยากเห็นการบูรณาการแบบนี้ในทุกภารกิจของประเทศที่เป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้อีกด้วย

อ่านรายละเอียด