วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2568 เวลา 07.00 น. ณ ปฐมบรมราชานุสรณ์ ลานสะพานพระพุทธยอดฟ้า กรุงเทพมหานคร องค์การจัดการน้ำเสีย (อจน.) นำโดยนายอธิรักษ์ บุพจันโท รองผู้อำนวยการปฏิบัติการ พร้อมพนักงานองค์การจัดการน้ำเสีย เป็นผู้แทน อจน. ร่วมพิธีวางพานพุ่มถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เนื่องใน “วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์”
เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2564 สำนักงาน ป.ป.ช. ได้จัดงานแถลงผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ภายใต้ชื่องาน “ITA DAY 2021: More Open, More Transparent” โดยมีหน่วยงานภาครัฐร่วมประเมินทั้งหมด 8,300 หน่วยงาน ภายใต้การประเมิน 10 ด้าน องค์การจัดการน้ำเสีย ได้รับผลการประเมิน 96.39 คะแนน อยู่ในระดับ AA สูงกว่าปีที่ผ่านมา อยู่ในลำดับที่ 13 จากรัฐวิสาหกิจที่เข้ารับการประเมินจำนวน 51 แห่ง นับเป็นจุดเริ่มต้นอีกครั้งหนึ่งขององค์การจัดการน้ำเสียในการนำผลการประเมิน ITA ที่ได้ไปใช้ในการวางแผนปรับปรุงพัฒนาองค์กรในปีงบประมาณถัดไปให้สมบูรณ์ครบถ้วนในทุกมิติ ทั้งในแง่การเปลี่ยนแปลงพัฒนาให้องค์กรมีความโปร่งใสตามกรอบการประเมิน ITA และในแง่การพัฒนาคุณธรรมการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล ทั้งนี้ ก็เพื่อให้การปฏิบัติงานและการให้บริการสาธารณะเป็นไปเพื่อประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย
องค์การจัดการน้ำเสีย โดยนายวิรัตน์ ภมรานนท์ รองผู้อำนวยการปฏิบัติการ เป็นผู้แทนมอบเงินสนับสนุนจำนวน 100,000 บาท ให้กับสมาคมสมาพันธ์สถานประกอบการเพื่อสุขภาพและผู้สูงอายุ (HEC) ร่วมกับเครือข่ายเราดูแลกัน (We Care Network) จัดทำโครงการ “COVID HOME CARE” เพื่อช่วยเหลือกลุ่มผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีเขียวที่พักรักษาตัวอยู่ที่บ้าน
วันที่ 21 มิถุนายน 2564 ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ ลาดพร้าว กรุงเทพฯ นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ(MOU) การบริหารจัดการน้ำเสียในภาคตะวันออกระหว่าง องค์การจัดการน้ำเสีย(อจน.) กับ บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) หรือ อีสท์วอเตอร์ โดยมี นายพรพจน์ เพ็ญพาส ประธานกรรมการอจน. นายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการ อจน. นายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด(มหาชน) หรือ อีสท์วอเตอร์ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกัน นายนิพนธ์ กล่าวว่า จากสถานการณ์ในปัจจุบันพื้นที่ภาคตะวันออกของประเทศไทยโดยเฉพาะ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) มีความจำเป็นต้องขับเคลื่อนมาตรการในการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพเพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคม รัฐบาลมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันออก (EEC) ที่คลอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง เป็นพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญเพื่อยกระดับการพัฒนาประเทศ ส่งเสริมอุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อเป็นการยกระดับอุตสาหกรรม เป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งโลจิสติกส์ และเน้นการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัย ส่งเสริมการลงทุนและการท่องเที่ยว เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและทำให้เศรษฐกิจของไทยเติบโตได้ในระยะยาว และเป็นเขตเศรษฐกิจชั้นนำของอาเซียนเชื่อมโยงการพัฒนาภายในประเทศ และประเทศเพื่อนบ้าน องค์การจัดการน้ำเสีย(อจน.) และบริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) ได้กำหนดความร่วมมือดำเนินงานศึกษาแนวทางการบริหารจัดการน้ำเสียและการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่ความร่วมมือ ยกระดับคุณภาพการให้บริการของทั้งสองหน่วยงาน ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างความยั่งยืนของการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญ “องค์การจัดการน้ำเสีย (อจน.) และ บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) หรือ อีสท์วอเตอร์ จึงร่วมกันขับเคลื่อนภารกิจให้สำเร็จบรรลุเป้าหมายตามนโยบายของรัฐบาล กระทรวงมหาดไทย เพื่อบำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้กับพี่น้องประชาชน การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้จึงเป็นแนวทางในการนำน้ำที่ผ่านการบำบัดกลับมาใช้ประโยชน์ และยังเป็นการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ สำหรับกิจกรรมประเภทต่างๆในเขตพื้นที่ EEC และจะเป็นประโยชน์สำหรับประชาชนในพื้นที่ที่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำใช้ต่อไป” นายนิพนธ์ กล่าว
เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 25 พฤษภาคม ที่ บริเวณหน้ากระทรวงมหาดไทย นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วย ร.ต.ท.ภพชนก ชลานุเคราะห์ รองอธิบดีกรมการปกครอง ร่วมกิจกรรม “คนมหาดไทย แบ่งปันน้ำใจ สู้ภัยโควิด-19” นำสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภคของใช้ที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน มาเติมเต็มที่ตู้ปันสุข เพื่อเป็นการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนโดยรอบกระทรวงมหาดไทยที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 คลายความทุกข์ให้แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบให้สามารถผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปด้วยกัน สำหรับกิจกรรม “มหาดไทยปันสุข ส่งต่อความห่วงใย สู้ภัยโควิด 19” กรมการปกครอง โดยกระทรวงมหาดไทย จัดขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือสังคม ตามปรัชญากระทรวงมหาดไทยที่ว่า “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ให้แก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบในสถานการณ์โควิด-19 ทั้งนี้ ได้จัดให้มีเจ้าหน้าที่คอยอำนวยความสะดวก จัดระเบียบผู้ที่มาเลือกหยิบของจาก “ตู้ปันสุข” ให้เป็นไปตามมาตรการการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) วัดอุณหภูมิ ล้างมือด้วยแอลกอฮอล์ และต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งเพื่อความปลอดภัยตามมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างเข้มงวด ทั้งนี้ รมช.มท.ได้กล่าวเชิญชวน ว่า “ขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนผู้ที่พอมีกำลังทรัพย์ที่จะนำสิ่งของมาใส่ในตู้ปันสุขได้ ก็ขอให้มาร่วมเติมกำลังใจ ให้ได้มาร่วมกิจกรรมกับกระทรวงมหาดไทย ซึ่งสถานการณ์การแพร่ระบาดในขณะนี้ยังคงมีอยู่ต่อไปอีกสักระยะ ซึ่งยังมีพี่น้องประชาชนอีกจำนวนมากที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์โควิด ดังนั้น การจัดกิจกรรมของเราก็จะคงจัดอยู่ไปจนกว่าสถานการณ์โดยรวมจะเข้าสู่สภาวะปกติ”
วันที่ 12 พฤษภาคม 2564 ที่ กระทรวงสาธารณสุข ถนนติวานนท์ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วย นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ ประธานกรรมการการประปานครหลวง (กปน.) และ นายกวี อารีกุล ผู้ว่าการ กปน. นำน้ำดื่มบรรจุขวด จำนวน 10,000 ขวด มามอบเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานให้แก่ทีมบุคลากรทางการแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตลอดจนผู้ป่วยที่รักษาอาการในโรงพยาบาลตามจุดต่างๆ ทั่วกรุงเทพมหานคร และ ปริมณฑล โดยมอบผ่านกระทรวงสาธารณสุข เพื่อนำไปบริหารจัดการตามความเหมาะสมต่อไป มี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ณรงค์ สายวงศ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เป็นผู้รับมอบน้ำดื่มดังกล่าว นายนิพนธ์ ได้กล่าวว่า ขอเป็นกำลังใจและพร้อมสนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ทุกส่วนฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนกลุ่มประชาชนอาสาสมัคร มูลนิธิต่างๆแทนคนไทยทุกคน ที่ได้ร่วมกันดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างเต็มกำลังความสามารถ และขอให้ทุกท่านปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวัง ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทย โดยท่าน พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ฝากความห่วงใยต่อเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน และพร้อมให้การสนับสนุนความช่วยเหลือทุกอย่างเพื่อให้ประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤตินี้ได้ในเร็ววัน พร้อมกันนี้ขอฝากไปถึงพี่น้องประชาชนได้ให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามมาตราการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) อย่างเคร่งครัด สวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง หมั่นล้างมือ หลีกเลี่ยงพื้นที่แออัด เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส และลดจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ให้ได้มากที่สุด โดย การประปานครหลวง ยังได้มอบสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ อาทิ หน้ากากอนามัย กระบอกน้ำพลาสติก และเจลแอลกอฮอลล์ ให้แก่ผู้ป่วยที่มาพักรักษาตัวในโรงพยาบาลสนามต่างๆอีกด้วย โดยก่อนหน้านี้ตั้งแต่ปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมาได้ การประปานครหลวง ก็ได้ทยอยส่งมอบน้ำดื่มเพื่อสนับสนุนให้กับโรงพยาบาลและหน่วยงานทางการแพทย์ไปแล้วจำนวนกว่า 20,000 ขวด ครั้งนี้อีก 10,000 ขวด รวมเป็น 30,000 ขวด และจะมีการสนับสนุนน้ำดื่มและสิ่งจำเป็นอื่นอย่างต่อเนื่อง ทั้งในเขต กทม. และปริมณฑล
“นิพนธ์ บุญญามณี รมช.มหาดไทย สนับสนุนองค์กรปกครองท้องถิ่นประสาน รพ.สต.ช่วยกระจายวัคซีนให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ 8 พ.ค. 64 นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยถึงการดำเนินการของการเร่งรัดการฉีดวัคซีนว่า รัฐบาลมีความตั้งใจที่จะให้คนไทยได้รับวัคซีนให้ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศให้ได้โดยเร็วที่สุด โดยมีการกระจายไปยังพื้นที่จังหวัดต่างๆเพื่อให้ประชาชนในภูมิภาคต่างๆได้รับวัคซีนอย่างทั่วถึง แต่ก็ยังมีการเรียกร้องให้มีการกระจายให้ครอบคลุมมากกว่าที่เป็นอยู่โดยพี่น้องประชาชนยังมีข้อจำกัดในเรื่องการเดินทางเข้ามารับวัคซีนยังพื้นที่ตัวเมืองของอำเภอและจังหวัด ที่มีการบริการฉีดวัคซีน ประกอบกับการเปิดให้ประชาชนได้ลงทะเบียนในแอพลิเคชั่น”หมอพร้อม”เพื่อรับวัคซีน ซึ่งจนถึงวันนี้ก็มีปรากฎว่ายังมีผู้จองฉีดวัคซีนในเปอร์เซ็นต์ที่น้อยอยู่ ซึ่งอาจเกิดจากปัญหาในเรื่องความรู้ความเข้าใจถึงวัคซีนชนิดต่างๆ ทำให้ประชาชนไม่ประสงค์ลงทะเบียน รวมถึง ปัญหาในเรื่องการเข้าถึงระบบลงทะเบียน เป็นต้น ตลอดจนข้อจำกัดในเรื่องต่างๆ ที่อาจทำให้ประชาชนเข้าถึงวัคซีนได้ช้าลง ซึ่งไม่เป็นไปตามความตั้งใจของท่านนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลที่ต้องการให้พี่น้องประชาชนได้รับวัคซีนเพื่อบรรเทาความรุนแรงจากการโรคโควิด-19 ให้ได้โดยเร็วและทั่วถึงทุกกลุ่ม โดย นายนิพนธ์ ได้เสนอถึงการจัดการในเรื่องดังกล่าวเพื่อเร่งรัดการกระจายให้ครอบคลุมทุกพื้นที่เพื่อความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเสนอให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีกลไกเครือข่ายในทุกพื้นที่ตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน ตำบล ได้ประสานการปฏิบัติร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล(รพ.สต.) ที่มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอสม.อยู่ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน พร้อมทั้งการเสริมการปฏิบัติการร่วมกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่ ฯลฯ เพื่อเป็นการข้อจำกัด ลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางของพี่น้องประชาชน และช่วยแบ่งเบาภาระหน้าที่ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในตัวเมืองระดับอำเภอ ระดับจังหวัดได้อีกทางหนึ่ง รวมทั้งเจ้าหน้าที่ยังสามารถเข้าไปสำรวจทำความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องวัคซีนให้แก่พี่น้องประชาชนได้อย่างครบถ้วนอีกด้วย
เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2564 สำนักงาน ป.ป.ช. ได้จัดงานแถลงผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ภายใต้ชื่องาน “ITA DAY 2021: More Open, More Transparent” โดยมีหน่วยงานภาครัฐร่วมประเมินทั้งหมด 8,300 หน่วยงาน ภายใต้การประเมิน 10 ด้าน องค์การจัดการน้ำเสีย ได้รับผลการประเมิน 96.39 คะแนน อยู่ในระดับ AA สูงกว่าปีที่ผ่านมา อยู่ในลำดับที่ 13 จากรัฐวิสาหกิจที่เข้ารับการประเมินจำนวน 51 แห่ง นับเป็นจุดเริ่มต้นอีกครั้งหนึ่งขององค์การจัดการน้ำเสียในการนำผลการประเมิน ITA ที่ได้ไปใช้ในการวางแผนปรับปรุงพัฒนาองค์กรในปีงบประมาณถัดไปให้สมบูรณ์ครบถ้วนในทุกมิติ ทั้งในแง่การเปลี่ยนแปลงพัฒนาให้องค์กรมีความโปร่งใสตามกรอบการประเมิน ITA และในแง่การพัฒนาคุณธรรมการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล ทั้งนี้ ก็เพื่อให้การปฏิบัติงานและการให้บริการสาธารณะเป็นไปเพื่อประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย
องค์การจัดการน้ำเสีย โดยนายวิรัตน์ ภมรานนท์ รองผู้อำนวยการปฏิบัติการ เป็นผู้แทนมอบเงินสนับสนุนจำนวน 100,000 บาท ให้กับสมาคมสมาพันธ์สถานประกอบการเพื่อสุขภาพและผู้สูงอายุ (HEC) ร่วมกับเครือข่ายเราดูแลกัน (We Care Network) จัดทำโครงการ “COVID HOME CARE” เพื่อช่วยเหลือกลุ่มผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีเขียวที่พักรักษาตัวอยู่ที่บ้าน
วันที่ 21 มิถุนายน 2564 ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ ลาดพร้าว กรุงเทพฯ นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ(MOU) การบริหารจัดการน้ำเสียในภาคตะวันออกระหว่าง องค์การจัดการน้ำเสีย(อจน.) กับ บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) หรือ อีสท์วอเตอร์ โดยมี นายพรพจน์ เพ็ญพาส ประธานกรรมการอจน. นายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการ อจน. นายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด(มหาชน) หรือ อีสท์วอเตอร์ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกัน นายนิพนธ์ กล่าวว่า จากสถานการณ์ในปัจจุบันพื้นที่ภาคตะวันออกของประเทศไทยโดยเฉพาะ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) มีความจำเป็นต้องขับเคลื่อนมาตรการในการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพเพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคม รัฐบาลมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันออก (EEC) ที่คลอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง เป็นพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญเพื่อยกระดับการพัฒนาประเทศ ส่งเสริมอุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อเป็นการยกระดับอุตสาหกรรม เป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งโลจิสติกส์ และเน้นการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัย ส่งเสริมการลงทุนและการท่องเที่ยว เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและทำให้เศรษฐกิจของไทยเติบโตได้ในระยะยาว และเป็นเขตเศรษฐกิจชั้นนำของอาเซียนเชื่อมโยงการพัฒนาภายในประเทศ และประเทศเพื่อนบ้าน องค์การจัดการน้ำเสีย(อจน.) และบริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) ได้กำหนดความร่วมมือดำเนินงานศึกษาแนวทางการบริหารจัดการน้ำเสียและการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่ความร่วมมือ ยกระดับคุณภาพการให้บริการของทั้งสองหน่วยงาน ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างความยั่งยืนของการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญ “องค์การจัดการน้ำเสีย (อจน.) และ บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) หรือ อีสท์วอเตอร์ จึงร่วมกันขับเคลื่อนภารกิจให้สำเร็จบรรลุเป้าหมายตามนโยบายของรัฐบาล กระทรวงมหาดไทย เพื่อบำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้กับพี่น้องประชาชน การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้จึงเป็นแนวทางในการนำน้ำที่ผ่านการบำบัดกลับมาใช้ประโยชน์ และยังเป็นการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ สำหรับกิจกรรมประเภทต่างๆในเขตพื้นที่ EEC และจะเป็นประโยชน์สำหรับประชาชนในพื้นที่ที่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำใช้ต่อไป” นายนิพนธ์ กล่าว
เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 25 พฤษภาคม ที่ บริเวณหน้ากระทรวงมหาดไทย นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วย ร.ต.ท.ภพชนก ชลานุเคราะห์ รองอธิบดีกรมการปกครอง ร่วมกิจกรรม “คนมหาดไทย แบ่งปันน้ำใจ สู้ภัยโควิด-19” นำสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภคของใช้ที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน มาเติมเต็มที่ตู้ปันสุข เพื่อเป็นการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนโดยรอบกระทรวงมหาดไทยที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 คลายความทุกข์ให้แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบให้สามารถผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปด้วยกัน สำหรับกิจกรรม “มหาดไทยปันสุข ส่งต่อความห่วงใย สู้ภัยโควิด 19” กรมการปกครอง โดยกระทรวงมหาดไทย จัดขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือสังคม ตามปรัชญากระทรวงมหาดไทยที่ว่า “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ให้แก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบในสถานการณ์โควิด-19 ทั้งนี้ ได้จัดให้มีเจ้าหน้าที่คอยอำนวยความสะดวก จัดระเบียบผู้ที่มาเลือกหยิบของจาก “ตู้ปันสุข” ให้เป็นไปตามมาตรการการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) วัดอุณหภูมิ ล้างมือด้วยแอลกอฮอล์ และต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งเพื่อความปลอดภัยตามมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างเข้มงวด ทั้งนี้ รมช.มท.ได้กล่าวเชิญชวน ว่า “ขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนผู้ที่พอมีกำลังทรัพย์ที่จะนำสิ่งของมาใส่ในตู้ปันสุขได้ ก็ขอให้มาร่วมเติมกำลังใจ ให้ได้มาร่วมกิจกรรมกับกระทรวงมหาดไทย ซึ่งสถานการณ์การแพร่ระบาดในขณะนี้ยังคงมีอยู่ต่อไปอีกสักระยะ ซึ่งยังมีพี่น้องประชาชนอีกจำนวนมากที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์โควิด ดังนั้น การจัดกิจกรรมของเราก็จะคงจัดอยู่ไปจนกว่าสถานการณ์โดยรวมจะเข้าสู่สภาวะปกติ”
วันที่ 12 พฤษภาคม 2564 ที่ กระทรวงสาธารณสุข ถนนติวานนท์ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วย นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ ประธานกรรมการการประปานครหลวง (กปน.) และ นายกวี อารีกุล ผู้ว่าการ กปน. นำน้ำดื่มบรรจุขวด จำนวน 10,000 ขวด มามอบเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานให้แก่ทีมบุคลากรทางการแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตลอดจนผู้ป่วยที่รักษาอาการในโรงพยาบาลตามจุดต่างๆ ทั่วกรุงเทพมหานคร และ ปริมณฑล โดยมอบผ่านกระทรวงสาธารณสุข เพื่อนำไปบริหารจัดการตามความเหมาะสมต่อไป มี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ณรงค์ สายวงศ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เป็นผู้รับมอบน้ำดื่มดังกล่าว นายนิพนธ์ ได้กล่าวว่า ขอเป็นกำลังใจและพร้อมสนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ทุกส่วนฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนกลุ่มประชาชนอาสาสมัคร มูลนิธิต่างๆแทนคนไทยทุกคน ที่ได้ร่วมกันดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างเต็มกำลังความสามารถ และขอให้ทุกท่านปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวัง ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทย โดยท่าน พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ฝากความห่วงใยต่อเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน และพร้อมให้การสนับสนุนความช่วยเหลือทุกอย่างเพื่อให้ประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤตินี้ได้ในเร็ววัน พร้อมกันนี้ขอฝากไปถึงพี่น้องประชาชนได้ให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามมาตราการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) อย่างเคร่งครัด สวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง หมั่นล้างมือ หลีกเลี่ยงพื้นที่แออัด เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส และลดจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ให้ได้มากที่สุด โดย การประปานครหลวง ยังได้มอบสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ อาทิ หน้ากากอนามัย กระบอกน้ำพลาสติก และเจลแอลกอฮอลล์ ให้แก่ผู้ป่วยที่มาพักรักษาตัวในโรงพยาบาลสนามต่างๆอีกด้วย โดยก่อนหน้านี้ตั้งแต่ปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมาได้ การประปานครหลวง ก็ได้ทยอยส่งมอบน้ำดื่มเพื่อสนับสนุนให้กับโรงพยาบาลและหน่วยงานทางการแพทย์ไปแล้วจำนวนกว่า 20,000 ขวด ครั้งนี้อีก 10,000 ขวด รวมเป็น 30,000 ขวด และจะมีการสนับสนุนน้ำดื่มและสิ่งจำเป็นอื่นอย่างต่อเนื่อง ทั้งในเขต กทม. และปริมณฑล
“นิพนธ์ บุญญามณี รมช.มหาดไทย สนับสนุนองค์กรปกครองท้องถิ่นประสาน รพ.สต.ช่วยกระจายวัคซีนให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ 8 พ.ค. 64 นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยถึงการดำเนินการของการเร่งรัดการฉีดวัคซีนว่า รัฐบาลมีความตั้งใจที่จะให้คนไทยได้รับวัคซีนให้ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศให้ได้โดยเร็วที่สุด โดยมีการกระจายไปยังพื้นที่จังหวัดต่างๆเพื่อให้ประชาชนในภูมิภาคต่างๆได้รับวัคซีนอย่างทั่วถึง แต่ก็ยังมีการเรียกร้องให้มีการกระจายให้ครอบคลุมมากกว่าที่เป็นอยู่โดยพี่น้องประชาชนยังมีข้อจำกัดในเรื่องการเดินทางเข้ามารับวัคซีนยังพื้นที่ตัวเมืองของอำเภอและจังหวัด ที่มีการบริการฉีดวัคซีน ประกอบกับการเปิดให้ประชาชนได้ลงทะเบียนในแอพลิเคชั่น”หมอพร้อม”เพื่อรับวัคซีน ซึ่งจนถึงวันนี้ก็มีปรากฎว่ายังมีผู้จองฉีดวัคซีนในเปอร์เซ็นต์ที่น้อยอยู่ ซึ่งอาจเกิดจากปัญหาในเรื่องความรู้ความเข้าใจถึงวัคซีนชนิดต่างๆ ทำให้ประชาชนไม่ประสงค์ลงทะเบียน รวมถึง ปัญหาในเรื่องการเข้าถึงระบบลงทะเบียน เป็นต้น ตลอดจนข้อจำกัดในเรื่องต่างๆ ที่อาจทำให้ประชาชนเข้าถึงวัคซีนได้ช้าลง ซึ่งไม่เป็นไปตามความตั้งใจของท่านนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลที่ต้องการให้พี่น้องประชาชนได้รับวัคซีนเพื่อบรรเทาความรุนแรงจากการโรคโควิด-19 ให้ได้โดยเร็วและทั่วถึงทุกกลุ่ม โดย นายนิพนธ์ ได้เสนอถึงการจัดการในเรื่องดังกล่าวเพื่อเร่งรัดการกระจายให้ครอบคลุมทุกพื้นที่เพื่อความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเสนอให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีกลไกเครือข่ายในทุกพื้นที่ตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน ตำบล ได้ประสานการปฏิบัติร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล(รพ.สต.) ที่มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอสม.อยู่ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน พร้อมทั้งการเสริมการปฏิบัติการร่วมกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่ ฯลฯ เพื่อเป็นการข้อจำกัด ลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางของพี่น้องประชาชน และช่วยแบ่งเบาภาระหน้าที่ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในตัวเมืองระดับอำเภอ ระดับจังหวัดได้อีกทางหนึ่ง รวมทั้งเจ้าหน้าที่ยังสามารถเข้าไปสำรวจทำความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องวัคซีนให้แก่พี่น้องประชาชนได้อย่างครบถ้วนอีกด้วย