วันที่ 28 ธันวาคม 2567 เวลา 08.30 น. ณ พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วงเวียนใหญ่ กรุงเทพมหานคร นางดวงแข ยงสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักผู้อำนวยการ เป็นตัวแทนของผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย เข้าร่วมวางพานพุ่มดอกไม้ ถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เนื่องในวันคล้ายวันทรงปราบดาภิเษก เพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดีและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐที่ทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี ตลอดจนทรงกอบกู้เอกราช สร้างความเป็นปึกแผ่นแก่ชาติบ้านเมือง เป็นอเนกประการสืบมาตราบจนถึงปัจจุบัน
เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 24 มีนาคม 2564 ที่การประปานครหลวง (กปน.) สำนักงานใหญ่ นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือ(MOU) การบูรณาการบริหารจัดการน้ำประปาและน้ำเสียอย่างยั่งยืน ระหว่างการประปานครหลวง(กปน.)และ องค์การจัดการน้ำเสีย(อจน.) โดยมีนายนิสิต จันทร์สมวงศ์ ประธานกรรมการ กปน. นายพรพจน์ เพ็ญพาส ประธานกรรมการ อจน. นายกวี อารีกุล ผู้ว่าการ กปน. และนายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการ อจน. เป็นผู้ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือ โดยมีคณะผู้บริหารจาก กปน. และ อจน. ร่วมในพิธี นายนิพนธ์ กล่าวตอนหนึ่งว่า “กระทรวงมหาดไทยให้ความสำคัญในการสร้างรากฐานและพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน ได้กำกับดูแล มอบนโยบายให้ กปน. และ อจน. ที่เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงมหาดไทยให้บูรณาการร่วมกัน โดยเฉพาะการบริหารจัดการทั้งน้ำดีและน้ำเสียอย่างเป็นระบบ ตลอดจนการให้ความรู้ในด้านการจัดการน้ำเสียให้กับชุมชน และสังคมเพื่อให้สอดคล้องกับการใช้ทรัพยากรน้ำและความร่วมมือระหว่างกันที่มุ่งเน้นเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และลดการลงทุนที่ซ้ำซ้อนโดยรัฐบาลให้ความสำคัญกับกลไกการบริหารจัดการน้ำเสียของประเทศให้มีระบบ และมีเอกภาพยิ่งขึ้น รวมถึงการลดปริมาณน้ำเสีย และการปรับปรุงคุณภาพน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วให้สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีก” “ การลงนามครั้งนี้จึงเป็นการร่วมบูรณาการงานของทั้ง 2 หน่วยงาน คือ กปน. และ อจน. เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทั้งระบบอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะการให้บริการน้ำประปาให้ครอบคลุมพื้นที่รับผิดชอบ และการจัดการน้ำเสียอย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้กรอบความร่วมมือ 3 ด้าน คือ ความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) การพัฒนาองค์ความรู้และทักษะความชำนาญด้านวิชาการ ด้านเทคโนโลยี หรืออื่น ๆ ตามความเหมาะสม และระบบประเมินผล คุณภาพรัฐวิสาหกิจ (SE-AM) เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและการให้บริการที่เป็นเลิศแก่ประชาชน ควบคู่ไปกับการดูแลสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม นำไปสู่การพัฒนาตอบสนองความต้องการและเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มอย่างยั่งยืน” นายนิพนธ์ กล่าว
นิพนธ์ ร่วม คณะรัฐมนตรี ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อเวลา 08.30 น.วันนี้ (16 มี.ค. 2564) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วยคณะรัฐมนตรี นำโดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เข้ารับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโควิด-19 “แอสตราเซเนกา” ตามขั้นตอนของกระทรวงสาธารณสุข โดยเป็นไปตามความสมัครใจและอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของคณะแพทย์และพยาบาล จากกระทรวงสาธารณสุขอย่างใกล้ชิด นายนิพนธ์ เปิดเผยด้วยว่า หลังจากการรับวัคซีนไปแล้ว 8 ชม. อาการทั่วไปยังเป็นปกติ และมั่นใจได้ว่าไม่มีผลข้างเคียงจากการรับวัคซีนแต่อย่างใด
“นิพนธ์” นำชาวสงขลาร่วมงานบุญใหญ่สมโภช “เสาหลักเมืองสงขลา” ครบรอบ 179 ปี สืบสานวัฒนธรรมประวัติศาสตร์ความดีงาม แทนคุณแผ่นดิน เสริมศิริมงคลให้ชีวิต เมื่อเวลา 08.00 น. วันที่ 10 มีนาคม 2564 ที่ บริเวณหน้าศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสงขลาถ.นางงาม อ.เมืองสงขลา นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธีทำบุญตักบาตรเนื่องในพิธีสมโภชเสาหลักเมืองสงขลาครบ 179 ปี โดยมีนายจารุวัฒน์ เกลี้ยงเกลา ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา นางกัญจนา เกลี้ยงเกลา ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดสงขลา นางสุรียพรรณ์ ณ สงขลา นายวรณัฏฐ์ หนูรอต รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ และประชาชนชาวสงขลา เข้าร่วมภายใต้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 สำหรับความเป็นมาของเสาหลักเมืองสงขลา จากการศึกษาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ พบว่า เมืองสงขลาย้ายสถานที่ตั้งเมืองมาแล้ว 3 ครั้ง โดยเริ่มจาก เมืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดง ซึ่งปรากฎหลักฐานทางโบราณสถานและโบราณวัตถุหลายแห่ง แต่บ้านเมืองถูกทำลายจากภัยสงครามจนหมดสิ้น จึงย้ายเมืองมาตั้งที่ฝั่งแหลมสน แต่ต้องประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ และลักษณะภูมิศาสตร์เป็นพื้นที่ลาดชัน ไม่มีพื้นที่ราบเพียงพอในการขยายเมือง จึงย้ายเมืองอีกครั้งหนึ่งโดยข้ามทะเลมาอยู่ที่ฝั่งบ่อยาง ซึ่งเป็นเมืองสงขลาในปัจจุบัน โดยในสมัยรัชกาลที่ 3 และในประชุมพงศาวตารได้ระบุความตอนหนึ่งว่า “ครั้น ณ วันเดือน 4 ขึ้น 10 ค่ำ เวลาเช้าเก้าโมง 1 กับ 10 นาที ได้ฤกษ์ พระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) กับพระครูอัษฎาจารย์พราหมณ์ได้เชิญหลักไม้ชัยพฤกษ์ลงฝังไว้ที่กลางเมืองสงขลา เป็นเสาหลักเมือง มีปรากฎอยู่จนทุกวันนี้” ซึ่งตามปฏิทินสุริยคติตรงกับวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2385 หรือเมื่อ 179 ปีมาแล้ว และจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ประเพณี วัฒนธรรมดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของเมืองสงขลา รวมทั้งการตั้งถิ่นฐานของเมืองสงขลาในอดีต จึงเห็นควรกำหนดให้วันที่ ๑๐ มีนาคมของทุกปีเป็น “วันสงขลา ” เพื่อระลึกถึงการสถาปนาเมืองสงขลาในยุคปัจจุบัน แม้ความจริงจะมี ประวัติศาสตร์ยาวนานหลายร้อยปีแล้วก็ตาม เพื่อให้ผู้ที่อาศัยบนแผ่นดินนี้ ทั้งที่เป็นถิ่นกำเนิด พักพิง ศึกษาเล่าเรียน และประกอบอาชีพอยู่ทุกหนแห่งในปัจจุบันได้ตระหนัก มีจิตสำนึก และนำมาซึ่งการรวมพลัง สร้างความรัก ความสามัคคีดำเนินกิจกรรมร่วมกันเป็นการตอบแทนบุญคุณแผ่นดินสืบไป นอกจากนี้ ภายในศาลหลักเมืองสงขลา ยังมีองค์เทพศักดิ์สิทธิ์ที่คอยปกป้องรักษาเมืองให้พ้นภัยพิบัติต่างๆ และเป็นที่เคารพสักการะ มีองค์เทพเจ้าศักดิ์สิทธิ์ เสี่ยงฮ๋องเหล่าเอี๋ย เจ้าพ่อหลักเมืองสงขลา พระเสื้อเมือง โบ้เชงไต่เต่ พระหมอรักษา ตี่ฮู่อ๋องเอี๋ย เทพเจ้ารักษาโรค และเฉ่งจุ้ยจ้อ พระหมอเทพรักษาโรคภัยของชาวสงขลา ทั้งนี้กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนศาลหลักเมืองเป็นโบราณสถาน เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2478 และในทุกวันที่ 10 มี.ค.จะมีการจัดสมโภชเป็นประจำทุกปีอีกด้วย
วันที่ 4 มีนาคม 2564 เวลา 14.00 น. นายชัยชาญ สิทธิวิรัชธรรม หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทยและคณะ ได้เข้าตรวจเยี่ยมองค์การจัดการน้ำเสีย (อจน.) รัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทย โดยมีนายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร และพนักงานองค์การจัดการน้ำเสียร่วมให้การต้อนรับ ซึ่งการตรวจเยี่ยมองค์การจัดการน้ำเสียของหัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทยในครั้งนี้ เป็นไปตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการของกระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2545 เพื่อให้หน่วยงานรับทราบนโยบายการตรวจราชการของกระทรวงมหาดไทย และนำเสนอเป้าหมาย ภารกิจงานหลัก รายงานผลการดำเนินงานที่เป็นนโยบายของรัฐวิสาหกิจ รวมถึงปัญหา/อุปสรรค ตลอดจนข้อเสนอแนะให้กับผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย และข้อมูลที่เกี่ยวข้องอันจะเป็นประโยชน์ ในการลงพื้นที่ตรวจราชการของผู้ตรวจราชการของผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564
เมื่อเวลา 10.30 น วันนี้(21 ก.พ.64) นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ลงพื้นที่เพื่อสำรวจบริเวณชายหาดที่ถูกคลื่นกัดเซาะ จนทำให้ต้นสนขนาดใหญ่ริมทะเลโค่นล้ม ได้รับความเสียหาย ณ ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมืองสงขลา โดยมีนายชัยพร นิยมแก้ว นายอำเภอเมืองสงขลา พร้อมด้วย นายเอกชัย ศิริพันธ์ รองประธานสภา อบจ.สงขลา ร่วมลงพื้นที่ นายนิพนธ์ รมช.มท.กล่าวว่า “วันนี้ได้ลงมาในพื้นที่ ที่ถูกคลื่นกัดเซาะชายฝั่งในบริเวณตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมืองสงขลาพร้อมด้วยนายอำเภอ และสมาชิกสภาจังหวัดสงขลา ซึ่งได้นำมาดูพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบเนื่องจากมรสุม โดยบริเวณนี้จะเจอกับสถานการณ์อย่างนี้ทุกปี มีการกัดเซาะชายฝั่ง เป็นเหตุให้ต้นสนซึ่งมีอายุกว่า 50 ถึง 70 ปีได้รับผลกระทบ ล้มเป็นแนวอย่างนี้ ดังนั้นในระยะอันใกล้นี้ ก็จะเชิญหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง จะเรียนกับท่านผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา จะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาทิ กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย รวมถึงปภ. มาพูดคุยหามาตรการในการแก้ไขปัญหาคลื่นกัดเซาะชายฝั่งว่าจะมีการแก้ไขอย่างถาวรอย่างไร ไม่อย่างนั้นต้นสนที่เป็นธรรมชาติที่สวยงามของที่นี่ ก็จะถูกกัดเซาะตลอดไป และจะหามาตรการทำความเข้าใจกับชุมชนอย่างไร ในการที่จะ ช่วยกันดูแลรักษาธรรมชาติสิ่งเหล่านี้ไว้ และของใหม่ที่ทำก็ต้องไม่ให้มีผลกระทบกับธรรมชาติมากนัก อันนี้ก็จะดำเนินการต่อไป โดยจะขับเคลื่อนโครงการนี้ผ่านทางโครงการ “ขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน” ซึ่งจะเป็นกลไกหนึ่งในการแก้ปัญหาเหล่านี้ได้อย่างยั่งยืน ซึ่งในระยะสั้นเท่าที่ดูต้องให้หน่วยงานเดิม ซึ่งทราบว่ามีงบประมาณอยู่แล้ว แต่ทำความเข้าใจกับชุมชนยังไม่เรียบร้อย ซึ่งกรมเจ้าท่าก็มีงบประมาณอยู่ก้อนหนึ่ง แต่เกิดอะไรขึ้นยังไม่ทราบ ก็จะดูว่าจะมาแก้ไขอย่างไรไม่ให้ชายหาดแถวนี้ได้รับผลกระทบ ก็จะเร่งนัดทุกฝ่ายมาร่วมปรึกษากันอีกครั้งโดยเร็ว”
วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564 องค์การจัดการน้ำเสียจัดกิจกรรม “บำเพ็ญสาธารณะประโยชน์” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ณ มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ เขตราชเทวี กรุงเทพฯ โดยมี นายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย ผู้บริหาร และพนักงานองค์การจัดการน้ำเสีย เข้าร่วมกิจกรรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปลูกและปลุกจิตสำนึกด้านคุณธรรม จริยธรรม รวมถึงการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ให้กับพนักงาน และลูกจ้างขององค์การจัดการน้ำเสีย ตามนโยบายการบริหารองค์กรให้ประสบความสำเร็จโดยอาศัยหลักธรรมาภิบาล นำหลักการกำกับดูแลที่ดีมาใช้ในการปฏิบัติงาน มุ่งสร้างวัฒนธรรม องค์กรโปร่งใส ต่อต้าน การทุจริตคอร์รัปชันและสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 24 มีนาคม 2564 ที่การประปานครหลวง (กปน.) สำนักงานใหญ่ นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือ(MOU) การบูรณาการบริหารจัดการน้ำประปาและน้ำเสียอย่างยั่งยืน ระหว่างการประปานครหลวง(กปน.)และ องค์การจัดการน้ำเสีย(อจน.) โดยมีนายนิสิต จันทร์สมวงศ์ ประธานกรรมการ กปน. นายพรพจน์ เพ็ญพาส ประธานกรรมการ อจน. นายกวี อารีกุล ผู้ว่าการ กปน. และนายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการ อจน. เป็นผู้ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือ โดยมีคณะผู้บริหารจาก กปน. และ อจน. ร่วมในพิธี นายนิพนธ์ กล่าวตอนหนึ่งว่า “กระทรวงมหาดไทยให้ความสำคัญในการสร้างรากฐานและพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน ได้กำกับดูแล มอบนโยบายให้ กปน. และ อจน. ที่เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงมหาดไทยให้บูรณาการร่วมกัน โดยเฉพาะการบริหารจัดการทั้งน้ำดีและน้ำเสียอย่างเป็นระบบ ตลอดจนการให้ความรู้ในด้านการจัดการน้ำเสียให้กับชุมชน และสังคมเพื่อให้สอดคล้องกับการใช้ทรัพยากรน้ำและความร่วมมือระหว่างกันที่มุ่งเน้นเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และลดการลงทุนที่ซ้ำซ้อนโดยรัฐบาลให้ความสำคัญกับกลไกการบริหารจัดการน้ำเสียของประเทศให้มีระบบ และมีเอกภาพยิ่งขึ้น รวมถึงการลดปริมาณน้ำเสีย และการปรับปรุงคุณภาพน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วให้สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีก” “ การลงนามครั้งนี้จึงเป็นการร่วมบูรณาการงานของทั้ง 2 หน่วยงาน คือ กปน. และ อจน. เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทั้งระบบอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะการให้บริการน้ำประปาให้ครอบคลุมพื้นที่รับผิดชอบ และการจัดการน้ำเสียอย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้กรอบความร่วมมือ 3 ด้าน คือ ความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) การพัฒนาองค์ความรู้และทักษะความชำนาญด้านวิชาการ ด้านเทคโนโลยี หรืออื่น ๆ ตามความเหมาะสม และระบบประเมินผล คุณภาพรัฐวิสาหกิจ (SE-AM) เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและการให้บริการที่เป็นเลิศแก่ประชาชน ควบคู่ไปกับการดูแลสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม นำไปสู่การพัฒนาตอบสนองความต้องการและเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มอย่างยั่งยืน” นายนิพนธ์ กล่าว
นิพนธ์ ร่วม คณะรัฐมนตรี ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อเวลา 08.30 น.วันนี้ (16 มี.ค. 2564) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วยคณะรัฐมนตรี นำโดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เข้ารับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโควิด-19 “แอสตราเซเนกา” ตามขั้นตอนของกระทรวงสาธารณสุข โดยเป็นไปตามความสมัครใจและอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของคณะแพทย์และพยาบาล จากกระทรวงสาธารณสุขอย่างใกล้ชิด นายนิพนธ์ เปิดเผยด้วยว่า หลังจากการรับวัคซีนไปแล้ว 8 ชม. อาการทั่วไปยังเป็นปกติ และมั่นใจได้ว่าไม่มีผลข้างเคียงจากการรับวัคซีนแต่อย่างใด
“นิพนธ์” นำชาวสงขลาร่วมงานบุญใหญ่สมโภช “เสาหลักเมืองสงขลา” ครบรอบ 179 ปี สืบสานวัฒนธรรมประวัติศาสตร์ความดีงาม แทนคุณแผ่นดิน เสริมศิริมงคลให้ชีวิต เมื่อเวลา 08.00 น. วันที่ 10 มีนาคม 2564 ที่ บริเวณหน้าศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสงขลาถ.นางงาม อ.เมืองสงขลา นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธีทำบุญตักบาตรเนื่องในพิธีสมโภชเสาหลักเมืองสงขลาครบ 179 ปี โดยมีนายจารุวัฒน์ เกลี้ยงเกลา ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา นางกัญจนา เกลี้ยงเกลา ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดสงขลา นางสุรียพรรณ์ ณ สงขลา นายวรณัฏฐ์ หนูรอต รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ และประชาชนชาวสงขลา เข้าร่วมภายใต้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 สำหรับความเป็นมาของเสาหลักเมืองสงขลา จากการศึกษาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ พบว่า เมืองสงขลาย้ายสถานที่ตั้งเมืองมาแล้ว 3 ครั้ง โดยเริ่มจาก เมืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดง ซึ่งปรากฎหลักฐานทางโบราณสถานและโบราณวัตถุหลายแห่ง แต่บ้านเมืองถูกทำลายจากภัยสงครามจนหมดสิ้น จึงย้ายเมืองมาตั้งที่ฝั่งแหลมสน แต่ต้องประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ และลักษณะภูมิศาสตร์เป็นพื้นที่ลาดชัน ไม่มีพื้นที่ราบเพียงพอในการขยายเมือง จึงย้ายเมืองอีกครั้งหนึ่งโดยข้ามทะเลมาอยู่ที่ฝั่งบ่อยาง ซึ่งเป็นเมืองสงขลาในปัจจุบัน โดยในสมัยรัชกาลที่ 3 และในประชุมพงศาวตารได้ระบุความตอนหนึ่งว่า “ครั้น ณ วันเดือน 4 ขึ้น 10 ค่ำ เวลาเช้าเก้าโมง 1 กับ 10 นาที ได้ฤกษ์ พระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) กับพระครูอัษฎาจารย์พราหมณ์ได้เชิญหลักไม้ชัยพฤกษ์ลงฝังไว้ที่กลางเมืองสงขลา เป็นเสาหลักเมือง มีปรากฎอยู่จนทุกวันนี้” ซึ่งตามปฏิทินสุริยคติตรงกับวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2385 หรือเมื่อ 179 ปีมาแล้ว และจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ประเพณี วัฒนธรรมดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของเมืองสงขลา รวมทั้งการตั้งถิ่นฐานของเมืองสงขลาในอดีต จึงเห็นควรกำหนดให้วันที่ ๑๐ มีนาคมของทุกปีเป็น “วันสงขลา ” เพื่อระลึกถึงการสถาปนาเมืองสงขลาในยุคปัจจุบัน แม้ความจริงจะมี ประวัติศาสตร์ยาวนานหลายร้อยปีแล้วก็ตาม เพื่อให้ผู้ที่อาศัยบนแผ่นดินนี้ ทั้งที่เป็นถิ่นกำเนิด พักพิง ศึกษาเล่าเรียน และประกอบอาชีพอยู่ทุกหนแห่งในปัจจุบันได้ตระหนัก มีจิตสำนึก และนำมาซึ่งการรวมพลัง สร้างความรัก ความสามัคคีดำเนินกิจกรรมร่วมกันเป็นการตอบแทนบุญคุณแผ่นดินสืบไป นอกจากนี้ ภายในศาลหลักเมืองสงขลา ยังมีองค์เทพศักดิ์สิทธิ์ที่คอยปกป้องรักษาเมืองให้พ้นภัยพิบัติต่างๆ และเป็นที่เคารพสักการะ มีองค์เทพเจ้าศักดิ์สิทธิ์ เสี่ยงฮ๋องเหล่าเอี๋ย เจ้าพ่อหลักเมืองสงขลา พระเสื้อเมือง โบ้เชงไต่เต่ พระหมอรักษา ตี่ฮู่อ๋องเอี๋ย เทพเจ้ารักษาโรค และเฉ่งจุ้ยจ้อ พระหมอเทพรักษาโรคภัยของชาวสงขลา ทั้งนี้กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนศาลหลักเมืองเป็นโบราณสถาน เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2478 และในทุกวันที่ 10 มี.ค.จะมีการจัดสมโภชเป็นประจำทุกปีอีกด้วย
วันที่ 4 มีนาคม 2564 เวลา 14.00 น. นายชัยชาญ สิทธิวิรัชธรรม หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทยและคณะ ได้เข้าตรวจเยี่ยมองค์การจัดการน้ำเสีย (อจน.) รัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทย โดยมีนายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร และพนักงานองค์การจัดการน้ำเสียร่วมให้การต้อนรับ ซึ่งการตรวจเยี่ยมองค์การจัดการน้ำเสียของหัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทยในครั้งนี้ เป็นไปตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการของกระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2545 เพื่อให้หน่วยงานรับทราบนโยบายการตรวจราชการของกระทรวงมหาดไทย และนำเสนอเป้าหมาย ภารกิจงานหลัก รายงานผลการดำเนินงานที่เป็นนโยบายของรัฐวิสาหกิจ รวมถึงปัญหา/อุปสรรค ตลอดจนข้อเสนอแนะให้กับผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย และข้อมูลที่เกี่ยวข้องอันจะเป็นประโยชน์ ในการลงพื้นที่ตรวจราชการของผู้ตรวจราชการของผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564
เมื่อเวลา 10.30 น วันนี้(21 ก.พ.64) นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ลงพื้นที่เพื่อสำรวจบริเวณชายหาดที่ถูกคลื่นกัดเซาะ จนทำให้ต้นสนขนาดใหญ่ริมทะเลโค่นล้ม ได้รับความเสียหาย ณ ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมืองสงขลา โดยมีนายชัยพร นิยมแก้ว นายอำเภอเมืองสงขลา พร้อมด้วย นายเอกชัย ศิริพันธ์ รองประธานสภา อบจ.สงขลา ร่วมลงพื้นที่ นายนิพนธ์ รมช.มท.กล่าวว่า “วันนี้ได้ลงมาในพื้นที่ ที่ถูกคลื่นกัดเซาะชายฝั่งในบริเวณตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมืองสงขลาพร้อมด้วยนายอำเภอ และสมาชิกสภาจังหวัดสงขลา ซึ่งได้นำมาดูพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบเนื่องจากมรสุม โดยบริเวณนี้จะเจอกับสถานการณ์อย่างนี้ทุกปี มีการกัดเซาะชายฝั่ง เป็นเหตุให้ต้นสนซึ่งมีอายุกว่า 50 ถึง 70 ปีได้รับผลกระทบ ล้มเป็นแนวอย่างนี้ ดังนั้นในระยะอันใกล้นี้ ก็จะเชิญหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง จะเรียนกับท่านผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา จะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาทิ กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย รวมถึงปภ. มาพูดคุยหามาตรการในการแก้ไขปัญหาคลื่นกัดเซาะชายฝั่งว่าจะมีการแก้ไขอย่างถาวรอย่างไร ไม่อย่างนั้นต้นสนที่เป็นธรรมชาติที่สวยงามของที่นี่ ก็จะถูกกัดเซาะตลอดไป และจะหามาตรการทำความเข้าใจกับชุมชนอย่างไร ในการที่จะ ช่วยกันดูแลรักษาธรรมชาติสิ่งเหล่านี้ไว้ และของใหม่ที่ทำก็ต้องไม่ให้มีผลกระทบกับธรรมชาติมากนัก อันนี้ก็จะดำเนินการต่อไป โดยจะขับเคลื่อนโครงการนี้ผ่านทางโครงการ “ขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน” ซึ่งจะเป็นกลไกหนึ่งในการแก้ปัญหาเหล่านี้ได้อย่างยั่งยืน ซึ่งในระยะสั้นเท่าที่ดูต้องให้หน่วยงานเดิม ซึ่งทราบว่ามีงบประมาณอยู่แล้ว แต่ทำความเข้าใจกับชุมชนยังไม่เรียบร้อย ซึ่งกรมเจ้าท่าก็มีงบประมาณอยู่ก้อนหนึ่ง แต่เกิดอะไรขึ้นยังไม่ทราบ ก็จะดูว่าจะมาแก้ไขอย่างไรไม่ให้ชายหาดแถวนี้ได้รับผลกระทบ ก็จะเร่งนัดทุกฝ่ายมาร่วมปรึกษากันอีกครั้งโดยเร็ว”
วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564 องค์การจัดการน้ำเสียจัดกิจกรรม “บำเพ็ญสาธารณะประโยชน์” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ณ มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ เขตราชเทวี กรุงเทพฯ โดยมี นายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย ผู้บริหาร และพนักงานองค์การจัดการน้ำเสีย เข้าร่วมกิจกรรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปลูกและปลุกจิตสำนึกด้านคุณธรรม จริยธรรม รวมถึงการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ให้กับพนักงาน และลูกจ้างขององค์การจัดการน้ำเสีย ตามนโยบายการบริหารองค์กรให้ประสบความสำเร็จโดยอาศัยหลักธรรมาภิบาล นำหลักการกำกับดูแลที่ดีมาใช้ในการปฏิบัติงาน มุ่งสร้างวัฒนธรรม องค์กรโปร่งใส ต่อต้าน การทุจริตคอร์รัปชันและสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย