เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2567 องค์การจัดการน้ำเสีย โดยนายอมรชัย หิรัญรัตน์ ผู้จัดการสำนักงานจัดการน้ำเสียสาขากระบี่ พร้อมด้วยพนักงานของศูนย์บริหารจัดการคุณภาพน้ำเกาะพีพี ได้เข้าร่วมกิจกรรมวันป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ ครบรอบ 20 ปี เหตุการณ์สึนามิ ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ โดยมีนายนิรันดร์ ปราบอักษร ปลัดจังหวัดกระบี่ เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยนายพันคำ กิตติธรกุล นายก อบต.อ่าวนาง นายประเสริฐ วงษ์นา รองนายก อบต.อ่าวนาง พร้อมผู้บริหารภาครัฐ ภาคเอกชน พี่น้องประชาชนชาวไทย และชาวต่างชาติ เข้าร่วมงานทำบุญอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้จากไปจากเหตุการณ์ดังกล่าว ณ ลานประติมากรรมปลาใบเกาะพีพี
เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 12 พฤษภาคม 2565 นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ลงพื้นที่เพื่อติดตามการแก้ปัญหาน้ำเสียคลองสำโรง เขตเทศบาลนครสงขลา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โดยมีนายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย นายผดุงเดช ลือปิยะพาณิชย์ ผู้ตรวจกรมโยธาธิการและผังเมือง นายสรรเพชญ บุญญามณี ผู้ช่วยดำเนินงานประธานรัฐสภา นายภูรินทร์ ทิพย์มณี รองนายกเทศบาลมนตรีนครสงขลา นายธนรัตน์ ตุละธน รองนายกเทศมนตรีเมืองเขารูปช้าง ผู้แทนกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พมจ.จังหวัดสงขลา หัวหน้าส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมรายงานข้อมูล ณ บริเวณสะพานแยกสำโรง ทั้งนี้ นายนิพนธ์ ได้ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาคลองสำโรงในการที่จะหาแนวทางแก้ไขเพื่อฟื้นฟูคลองสำโรงให้มีความสะอาดมีศักยภาพในการระบายน้ำให้ได้ดีขึ้น ซึ่งจากการสำรวจพบว่าคลองมีปัญหาตื้นเขินคันคลองบางช่วงมีระดับต่ำและมีผู้อาศัยอยู่บริเวณแนวคลองสำโรงอย่างหนาแน่น ซึ่งส่งผลต่อการระบายน้ำ ทั้งยังมีขยะและสิ่งปฏิกูลจำนวนมากที่ถูกนำมาทิ้งลงคลอง จนทำให้น้ำมีคุณภาพต่ำ มีสีดำ เน่าเสียและส่งกลิ่นเหม็น ซึ่งรมช.มท.ได้มอบหมายให้ทางองค์การจัดการน้ำเสีย(อจน.)หาแนวทางแก้ไขปัญหาคลองสำโรงให้ได้เพราะเป็นปัญหาที่เรื้อรังมานาน สำหรับคลองสำโรงเป็นคลองที่เชื่อมระหว่างเทศบาลนครสงขลากับเทศบาลเมืองเขารูปช้างเป็นเส้นทางสัญจรมาตั้งแต่สมัยโบราณ และเชื่อมระหว่างทะเลอ่าวไทยกับทะเลสาบสงขลา และเมื่อมีชุมชนมากขึ้น เส้นทางแห่งนี้ก็เริ่มมีปัญหาในเขตชุมชน จึงต้องมีการวางแผนเรื่องการบำบัดน้ำเสีย ควบคู่ไปกันไป ทั้งนี้นายชีระ วงศบูรณะได้รายงานความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการก่อสร้างและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการคุณภาพน้ำในเขตพื้นที่จัดการน้ำเสีย ระยะที่ 1 เทศบาลนครสงขลา ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โดยจะเป็นการรวมน้ำเสียซึ่งปัจจุบันถูกระบายลงสู่คลองสำโรงโดยตรงเป็นปริมาณมาก เพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ทางราชการกำหนดไว้ ซึ่งโครงการดังกล่าวจะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาน้ำเสียคลองสำโรง รวมทั้งบรรเทาปัญหาด้านความเป็นอยู่ และสุขอนามัยของพี่น้องประชาชนในชุมชนริมคลองสำโรงอย่างเป็นระบบได้อย่างยั่งยืน ต่อจากนั้น รมช.มท.ได้ลงเรือเพื่อติดตามการแก้ไขปัญหาน้ำเสียบริเวณคลองสำโรงอย่างใกล้ชิดบริเวณ ถนนสงขลา-นาทวี ซอย 2 พร้อมทั้ง ร่วมปล่อยจุลินทรีย์ชนิดน้ำ เพื่อเพิ่มจุลินทรีย์ในการบำบัดน้ำเสีย และลดการเกิดกลิ่นจากน้ำขังในคลองสำโรง รมช.มท.กล่าวว่า วันนี้ได้เชิญส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมาสำรวจคลองสำโรงเพื่อแก้ไขปัญหาที่เรื้อรังมานาน โดยการดำเนินการแก้ไขนั้นจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องน้ำท่วมขังในเมืองสงขลา และแก้ปัญหาน้ำเน่าเสียในคลองสำโรง ในส่วนของกรมโยธาฯเองก็ได้ทำเขื่อนป้องกันการกัดเซาะไว้ระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งวันนี้ได้รับการยืนยันจากรองนายกเทศบาลเมืองเขารูปช้างว่า จะสามารถเคลียร์เรื่องพื้นที่ได้แล้วเสร็จ ถ้าสามารถเคลียเรื่องพื้นที่ได้ กรมโยธาธิการและผังเมืองก็สามารถตั้งงบประมาณต่อเนื่องจากโครงการเก่าที่สำเร็จไปแล้วได้ และเนื่องจากก่อนหน้านี้มีปัญหาในเรื่องของที่ดิน ซึ่งถ้าเทศบาลเมืองเขารูปช้างสามารถแก้ปัญหาตรงนี้ได้ ก็จะสามารถหางบประมาณมาทำการต่อไป อันนี้นอกจากจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวแล้ว ยังเป็นสถานที่พักผ่อนออกกำลังกาย และยังเป็นการป้องกันการกัดเซาะชายตลิ่ง ควบคู่ไปกับการทำท่อระบายน้ำเสีย เพื่อไม่ให้ปล่อยน้ำเสียลงไปในคลองสำโรง
เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ ถนนวิภาวดีรังสิต เขตหลักสี่ องค์การจัดการน้ำเสีย(อจน.) ร่วมจัดงานประชุมขับเคลื่อน ติดตาม ภารกิจสำคัญ กระทรวงมหาดไทย โดยองค์การจัดการน้ำเสียได้ร่วมนำเสนอผลการดำเนินงานในการประชุมขับเคลื่อน และติดตามนโยบายของรัฐบาล และภารกิจสำคัญของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งงานนี้ ได้รับเกียรติจาก พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย, นายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย, นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย, นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย, นายพรพจน์ เพ็ญพาส ประธานคณะกรรมการองค์การจัดการน้ำเสีย อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง พร้อมคณะผู้บริหารกระทรวงมหาดไทย โดยงานนี้ นาย ชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย ได้นำเสนอการนำน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดจากการบำบัดน้ำเสีย ของศูนย์บริหารจัดการคุณภาพน้ำ องค์การบริหารส่วนตำบลลำโพ จังหวัดนนทบุรี เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ ในการเพาะเลี้ยงตัวอย่างพันธุ์ปลาน้ำจืดของประเทศไทย ในรูปแบบอควาเรียม(Aquarium) นอกจากนี้ องค์การจัดการน้ำเสียยังมีการก่อสร้างศูนย์บริหารจัดการคุณภาพน้ำที่มีการใช้ประโยชน์พื้นที่ด้านบนในรูปแบบอื่น เช่น สนามฟุตบอล สวนสาธารณะ เป็นต้น หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความสนใจเข้าร่วมโครงการ สามารถติดต่อกองพัฒนาและบริหารโครงการ ฝ่ายวิศวกรรม โทร 02 273 8562 หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.wma.or.th
เมื่อวันที่ 25-26 มีนาคม 2565 คณะกรรมการองค์การจัดการน้ำเสีย ได้เดินทางไปประชุมคณะกรรมการองค์การจัดการน้ำเสีย ครั้งที่ 3/2565 ณ จังหวัดกระบี่ พร้อมทั้งตรวจเยี่ยมการดำเนินงานก่อสร้างศูนย์บริหารจัดการคุณภาพน้ำ องค์การบริหารส่วนตำบลอ่าวนาง(เกาะพีพี )จังหวัดกระบี่ และการดำเนินงานบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียเทศบาลเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ โดยคณะกรรมการองค์การจัดการน้ำเสียได้ให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะ ในการก่อสร้างศูนย์บริหารจัดการคุณภาพน้ำ องค์การบริหารส่วนตำบลอ่าวนาง(เกาะพีพี )จังหวัดกระบี่เพื่อบรรลุผลสัมฤทธิ์ทั้งด้านการบริหารจัดการและการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในชุมชน รวมทั้งความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์การจัดการน้ำเสีย นอกจากนี้ คณะกรรมการองค์การจัดการน้ำเสียยังได้มอบถังดักไขมันให้กับองค์การบริหารส่วนตำบลอ่าวนาง และได้มอบเครื่องผลิตออกซิเจนให้กับโรงพยาบาลเกาะพีพี รวมทั้งได้ร่วมกิจกรรมปลูกต้นไม้ ที่โรงปรับปรุงคุณภาพน้ำเทศบาลเมืองกระบี่อีกด้วย
เมื่อวันศุกร์วันที่ 31 มกราคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ได้จัดงานมอบรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่นประจำปี 2564 ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล โดยองค์การจัดการน้ำเสีย ได้รับ รางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น ประเภท “รางวัลความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาดีเด่น ประเภท เชิดชูเกียรติ ร่วมกับ การประปานครหลวง”
กระทรวงมหาดไทยได้มอบใบเกียรติบัตรยกย่ององค์กรคุณธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ให้หน่วยงาน เพื่อเป็นการยกย่องหน่วยงานในการขับเคลื่อนการดำเนินงานดังกล่าว และขอให้หน่วยงานร่วมขับเคลื่อนตามหลักการและแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรคุณธรรมต่อไป
เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2564 นายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย ลงนามในบันทึกความร่วมมือด้านการวิจัยพัฒนาและบริการวิชาการ ร่วมกับรองศาสตราจารย์ ดร.พีรยุทธ์ ชาญเศรษฐิกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ ห้องประชุม 0203 อาคารชูชาติกำภู คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อสร้างความร่วมมือทางวิชาการในการสนับสนุนแลกเปลี่ยนข้อมูล องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ในการบริหารจัดการน้ำเสียของประเทศไทยให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อนำไปสู่การใช้พลังงานอย่างประหยัด คุ้มค่าและสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้รวมทั้งจะเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมให้มีความสมดุลแล้ว ยังสามารถให้การบริการจัดการน้ำเสียเกิดความมั่นคงและยั่งยืนไปพร้อมกัน
เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 12 พฤษภาคม 2565 นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ลงพื้นที่เพื่อติดตามการแก้ปัญหาน้ำเสียคลองสำโรง เขตเทศบาลนครสงขลา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โดยมีนายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย นายผดุงเดช ลือปิยะพาณิชย์ ผู้ตรวจกรมโยธาธิการและผังเมือง นายสรรเพชญ บุญญามณี ผู้ช่วยดำเนินงานประธานรัฐสภา นายภูรินทร์ ทิพย์มณี รองนายกเทศบาลมนตรีนครสงขลา นายธนรัตน์ ตุละธน รองนายกเทศมนตรีเมืองเขารูปช้าง ผู้แทนกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พมจ.จังหวัดสงขลา หัวหน้าส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมรายงานข้อมูล ณ บริเวณสะพานแยกสำโรง ทั้งนี้ นายนิพนธ์ ได้ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาคลองสำโรงในการที่จะหาแนวทางแก้ไขเพื่อฟื้นฟูคลองสำโรงให้มีความสะอาดมีศักยภาพในการระบายน้ำให้ได้ดีขึ้น ซึ่งจากการสำรวจพบว่าคลองมีปัญหาตื้นเขินคันคลองบางช่วงมีระดับต่ำและมีผู้อาศัยอยู่บริเวณแนวคลองสำโรงอย่างหนาแน่น ซึ่งส่งผลต่อการระบายน้ำ ทั้งยังมีขยะและสิ่งปฏิกูลจำนวนมากที่ถูกนำมาทิ้งลงคลอง จนทำให้น้ำมีคุณภาพต่ำ มีสีดำ เน่าเสียและส่งกลิ่นเหม็น ซึ่งรมช.มท.ได้มอบหมายให้ทางองค์การจัดการน้ำเสีย(อจน.)หาแนวทางแก้ไขปัญหาคลองสำโรงให้ได้เพราะเป็นปัญหาที่เรื้อรังมานาน สำหรับคลองสำโรงเป็นคลองที่เชื่อมระหว่างเทศบาลนครสงขลากับเทศบาลเมืองเขารูปช้างเป็นเส้นทางสัญจรมาตั้งแต่สมัยโบราณ และเชื่อมระหว่างทะเลอ่าวไทยกับทะเลสาบสงขลา และเมื่อมีชุมชนมากขึ้น เส้นทางแห่งนี้ก็เริ่มมีปัญหาในเขตชุมชน จึงต้องมีการวางแผนเรื่องการบำบัดน้ำเสีย ควบคู่ไปกันไป ทั้งนี้นายชีระ วงศบูรณะได้รายงานความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการก่อสร้างและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการคุณภาพน้ำในเขตพื้นที่จัดการน้ำเสีย ระยะที่ 1 เทศบาลนครสงขลา ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โดยจะเป็นการรวมน้ำเสียซึ่งปัจจุบันถูกระบายลงสู่คลองสำโรงโดยตรงเป็นปริมาณมาก เพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ทางราชการกำหนดไว้ ซึ่งโครงการดังกล่าวจะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาน้ำเสียคลองสำโรง รวมทั้งบรรเทาปัญหาด้านความเป็นอยู่ และสุขอนามัยของพี่น้องประชาชนในชุมชนริมคลองสำโรงอย่างเป็นระบบได้อย่างยั่งยืน ต่อจากนั้น รมช.มท.ได้ลงเรือเพื่อติดตามการแก้ไขปัญหาน้ำเสียบริเวณคลองสำโรงอย่างใกล้ชิดบริเวณ ถนนสงขลา-นาทวี ซอย 2 พร้อมทั้ง ร่วมปล่อยจุลินทรีย์ชนิดน้ำ เพื่อเพิ่มจุลินทรีย์ในการบำบัดน้ำเสีย และลดการเกิดกลิ่นจากน้ำขังในคลองสำโรง รมช.มท.กล่าวว่า วันนี้ได้เชิญส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมาสำรวจคลองสำโรงเพื่อแก้ไขปัญหาที่เรื้อรังมานาน โดยการดำเนินการแก้ไขนั้นจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องน้ำท่วมขังในเมืองสงขลา และแก้ปัญหาน้ำเน่าเสียในคลองสำโรง ในส่วนของกรมโยธาฯเองก็ได้ทำเขื่อนป้องกันการกัดเซาะไว้ระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งวันนี้ได้รับการยืนยันจากรองนายกเทศบาลเมืองเขารูปช้างว่า จะสามารถเคลียร์เรื่องพื้นที่ได้แล้วเสร็จ ถ้าสามารถเคลียเรื่องพื้นที่ได้ กรมโยธาธิการและผังเมืองก็สามารถตั้งงบประมาณต่อเนื่องจากโครงการเก่าที่สำเร็จไปแล้วได้ และเนื่องจากก่อนหน้านี้มีปัญหาในเรื่องของที่ดิน ซึ่งถ้าเทศบาลเมืองเขารูปช้างสามารถแก้ปัญหาตรงนี้ได้ ก็จะสามารถหางบประมาณมาทำการต่อไป อันนี้นอกจากจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวแล้ว ยังเป็นสถานที่พักผ่อนออกกำลังกาย และยังเป็นการป้องกันการกัดเซาะชายตลิ่ง ควบคู่ไปกับการทำท่อระบายน้ำเสีย เพื่อไม่ให้ปล่อยน้ำเสียลงไปในคลองสำโรง
เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ ถนนวิภาวดีรังสิต เขตหลักสี่ องค์การจัดการน้ำเสีย(อจน.) ร่วมจัดงานประชุมขับเคลื่อน ติดตาม ภารกิจสำคัญ กระทรวงมหาดไทย โดยองค์การจัดการน้ำเสียได้ร่วมนำเสนอผลการดำเนินงานในการประชุมขับเคลื่อน และติดตามนโยบายของรัฐบาล และภารกิจสำคัญของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งงานนี้ ได้รับเกียรติจาก พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย, นายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย, นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย, นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย, นายพรพจน์ เพ็ญพาส ประธานคณะกรรมการองค์การจัดการน้ำเสีย อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง พร้อมคณะผู้บริหารกระทรวงมหาดไทย โดยงานนี้ นาย ชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย ได้นำเสนอการนำน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดจากการบำบัดน้ำเสีย ของศูนย์บริหารจัดการคุณภาพน้ำ องค์การบริหารส่วนตำบลลำโพ จังหวัดนนทบุรี เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ ในการเพาะเลี้ยงตัวอย่างพันธุ์ปลาน้ำจืดของประเทศไทย ในรูปแบบอควาเรียม(Aquarium) นอกจากนี้ องค์การจัดการน้ำเสียยังมีการก่อสร้างศูนย์บริหารจัดการคุณภาพน้ำที่มีการใช้ประโยชน์พื้นที่ด้านบนในรูปแบบอื่น เช่น สนามฟุตบอล สวนสาธารณะ เป็นต้น หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความสนใจเข้าร่วมโครงการ สามารถติดต่อกองพัฒนาและบริหารโครงการ ฝ่ายวิศวกรรม โทร 02 273 8562 หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.wma.or.th
เมื่อวันที่ 25-26 มีนาคม 2565 คณะกรรมการองค์การจัดการน้ำเสีย ได้เดินทางไปประชุมคณะกรรมการองค์การจัดการน้ำเสีย ครั้งที่ 3/2565 ณ จังหวัดกระบี่ พร้อมทั้งตรวจเยี่ยมการดำเนินงานก่อสร้างศูนย์บริหารจัดการคุณภาพน้ำ องค์การบริหารส่วนตำบลอ่าวนาง(เกาะพีพี )จังหวัดกระบี่ และการดำเนินงานบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียเทศบาลเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ โดยคณะกรรมการองค์การจัดการน้ำเสียได้ให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะ ในการก่อสร้างศูนย์บริหารจัดการคุณภาพน้ำ องค์การบริหารส่วนตำบลอ่าวนาง(เกาะพีพี )จังหวัดกระบี่เพื่อบรรลุผลสัมฤทธิ์ทั้งด้านการบริหารจัดการและการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในชุมชน รวมทั้งความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์การจัดการน้ำเสีย นอกจากนี้ คณะกรรมการองค์การจัดการน้ำเสียยังได้มอบถังดักไขมันให้กับองค์การบริหารส่วนตำบลอ่าวนาง และได้มอบเครื่องผลิตออกซิเจนให้กับโรงพยาบาลเกาะพีพี รวมทั้งได้ร่วมกิจกรรมปลูกต้นไม้ ที่โรงปรับปรุงคุณภาพน้ำเทศบาลเมืองกระบี่อีกด้วย
เมื่อวันศุกร์วันที่ 31 มกราคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ได้จัดงานมอบรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่นประจำปี 2564 ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล โดยองค์การจัดการน้ำเสีย ได้รับ รางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น ประเภท “รางวัลความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาดีเด่น ประเภท เชิดชูเกียรติ ร่วมกับ การประปานครหลวง”
กระทรวงมหาดไทยได้มอบใบเกียรติบัตรยกย่ององค์กรคุณธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ให้หน่วยงาน เพื่อเป็นการยกย่องหน่วยงานในการขับเคลื่อนการดำเนินงานดังกล่าว และขอให้หน่วยงานร่วมขับเคลื่อนตามหลักการและแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรคุณธรรมต่อไป
เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2564 นายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย ลงนามในบันทึกความร่วมมือด้านการวิจัยพัฒนาและบริการวิชาการ ร่วมกับรองศาสตราจารย์ ดร.พีรยุทธ์ ชาญเศรษฐิกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ ห้องประชุม 0203 อาคารชูชาติกำภู คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อสร้างความร่วมมือทางวิชาการในการสนับสนุนแลกเปลี่ยนข้อมูล องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ในการบริหารจัดการน้ำเสียของประเทศไทยให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อนำไปสู่การใช้พลังงานอย่างประหยัด คุ้มค่าและสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้รวมทั้งจะเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมให้มีความสมดุลแล้ว ยังสามารถให้การบริการจัดการน้ำเสียเกิดความมั่นคงและยั่งยืนไปพร้อมกัน