องค์การจัดการน้ำเสีย กระทรวงมหาดไทย
ข่าวสารจากองค์กร
อัพเดทล่าสุด

วันที่ 7 ตุลาคม 2567 คณะอาจารย์ จากโรงเรียนระนองพัฒนามิตรภาพที่ 60 จังหวัดระนอง เข้าเยี่ยมชมระบบ ณ พื้นที่โรงปรับปรุงคุณภาพน้ำ เเละศูนย์การเรียนรู้อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร จังหวัดเพชรบุรี

วันที่ 7 ตุลาคม 2567 เวลา 14.00 – 14.30 น. คณะอาจารย์ จากโรงเรียนระนองพัฒนามิตรภาพที่ 60 จังหวัดระนอง เข้าเยี่ยมชมระบบรวมทั้งหมด 32 คน ณ พื้นที่โรงปรับปรุงคุณภาพน้ำ เเละศูนย์การเรียนรู้อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร จังหวัดเพชรบุรี

อ่านรายละเอียด

เปิดต้นแบบ “หน้ากากอนามัย” ผ่านมาตรฐาน สธ. สั่งท้องถิ่นเร่งผลิต 50 ล้านชิ้น แจกปชช.

วันนี้ 3 มี.ค.63 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีครั้งที่10/2563 มีการอนุมัติงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดทำหน้ากากอนามัยในการดำเนินโครงการพลังคนไทยร่วมใจป้องกันไวรัสโคโรนา 2019(COVID 19) ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 225 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดทำหน้ากากอนามัยจำนวน 50 ล้านชิ้นเพื่อแจกจ่ายให้แก่ประชาชนทั้งประเทศ โดยให้เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล ทั้ง 7,774 แห่งได้ดำเนินการผลิตเพื่อแจกจ่ายให้แก่ประชาชนในพื้นที่ที่รับผิดชอบ โดยหลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะรัฐมนตรี นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้นำต้นแบบหน้ากากอนามัย(แบบผ้า)​ที่กลุ่มชาวบ้านได้ผลิตขึ้นเพื่อใช้ในครัวเรือนเพื่อใช้ป้องกันไวรัสโคโรนา 2019(COVID 19) และ ฝุ่นละออง โดยนำแสดงเพื่อให้เป็นตัวอย่างการผลิตนำไปแจกจ่ายให้แก่ประชาชน ซึ่งต้นแบบหรือตัวอย่างที่นำมาแสดงแก่สื่อมวลชนนั้น ได้รับการรับรองมาตรฐานจากกระทรวงสาธารณสุข โดยภายในหน้ากาอนามัย(แบบผ้า)​นี้ ยังมีช่องสำหรับใส่แผ่นกรองความละเอียดเพื่อป้องกันได้มากขึ้น โดยกระทรวงมหาดไทยจะประสานไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เร่งดำเนินการโดยเร็ว พร้อมทั้ง ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดประสานไปยังเครือข่ายกลุ่มแม่บ้านและเครือข่ายOTOPชุมชน ให้ผลิตเพื่อรองรับการใช้งานให้ทันสถานการณ์เนื่องจากหน้ากากอนามัยที่มีจำหน่ายอยู่ในขณะนี้นั้นหาได้ยากขึ้น และยังเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายของประชาชนได้อีกด้วย

อ่านรายละเอียด

นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย หารือสวีเดน “การจัดการน้ำเสียของไทย” ยก อ้อมน้อย จ.สมุทรสาคร เป็นกรณีศึกษา

นิพนธ์ หารือสวีเดน “การจัดการน้ำเสียของไทย” ยก อ้อมน้อย จ.สมุทรสาคร เป็นกรณีศึกษา เมื่อเวลา 10.00 น. (ตามเวลาท้องถิ่น) วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563 สืบเนื่องจากการร่วมประชุมระดับสูงด้านความปลอดภัยทางถนน ครั้งที่ 3 (The 3rd Global Ministerial Conference on Road Safety) ณ กรุงสต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) พร้อมคณะ ได้ประชุมร่วมกับ นายกริสเตอร์ นิลส์สัน(Krister Nilsson)​ ผู้ช่วยรัฐมนตรีการค้าต่างประเทศและกิจการนอร์ดิก ประเทศสวีเดน เพื่อหารือถึงแนวทางการจัดการน้ำเสียของประเทศไทย ทั้งนี้เมื่อ พ.ศ.2554 ประเทศไทย โดยองค์การจัดการน้ำเสีย ได้รับการสนับสนุนด้านวิชาการจากรัฐบาลสวีเดนในการทบทวนความเหมาะสมและการออกแบบรายละเอียดสำหรับโครงการบำบัดน้ำเสียรวมพื้นที่เทศบาลนครอ้อมน้อย จังหวัดสมุทรสาคร โดยมีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นที่ปรึกษาโครงการ นายนิพนธ์ บุญญามณี รมช.มท. กล่าวอีกว่า การจัดการน้ำเสีย เป็นเรื่องจำเป็นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์การจัดการน้ำเสีย กระทรวงมหาดไทย จะต้องร่วมมือกันอย่างจริงจังเพื่อให้เกิดรูปธรรม โดยขณะนี้กำลังดำเนินการจัดทำแผนแม่บทเกี่ยวกับการจัดการน้ำเสียของทั้งประเทศ

อ่านรายละเอียด

การประชุมการบริหารจัดการภัยแล้งและเตรียมการเก็บน้ำฤดูฝนปี 2563

เมื่อวันที่2มีนาคม2563นายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย พร้อมด้วย รองผู้อำนวยการวิชาการและแผน เข้าร่วมการประชุมการบริหารจัดการภัยแล้งและเตรียมการเก็บน้ำฤดูฝนปี2563 ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล โดยมีพลเอกประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีมอบนโยบายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

อ่านรายละเอียด

ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย พร้อมด้วยรองผู้อำนวยการปฎิบัติการและผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรมได้เดินทางไปตรวจผลการดำเนินงานของระบบบำบัดน้ำเสียเทศบาลเมืองสิงห์บุรี

เมื่อวันที่30มกราคม2563 ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย พร้อมด้วยรองผู้อำนวยการปฎิบัติการและผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรมได้เดินทางไปตรวจผลการดำเนินงานของระบบบำบัดน้ำเสียเทศบาลเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรีและติดตามความก้าวหน้าในการนำน้ำที่ผ่านการบำบัดที่ได้คุณภาพตามมาตรฐานไปใช้ประโยชน์ในด้านเกษตรกรรม โดยสรุปดังนี้ 1.ผลการดำเนินงานของระบบบำบัดน้ำเสียเทศบาลเมืองสิงห์บุรี สามารถบำบัดน้ำเสียได้คุณภาพตามมาตรฐาน 2.มีการนำน้ำที่ผ่านการบำบัดที่ได้คุณภาพตามมาตรฐานกลับไปใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตรกรรม ปลูกข้าว จำนวน 100 กว่าไร่ เนื่องจากอยู่ในช่วงขาดแคลนน้ำใช้ และการนำไปรดน้ำต้นไม้เกาะกลางถนน

อ่านรายละเอียด

ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย พร้อมด้วยฝ่ายวิศวกรรม องค์การจัดการน้ำเสีย ติดตามความก้าวหน้างานก่อสร้างศูนย์บริหารจัดการคุณภาพน้ำ เทศบาลเมืองสามพราน จังหวัดนครปฐม

เมื่อวันจันทร์ที่ 27 มกราคม2563 ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสียและฝ่ายวิศวกรรมได้เดินทางตรวจความก้าวหน้าการก่อสร้างศูนย์บริหารจัดการคุณภาพน้ำเทศบาลเมืองสามพรานจังหวัดนครปฐม ก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนมีนาคม2563จะสามารถบำบัดน้ำเสียได้ปริมาณ1,000ลูกบาศก์เมตรต่อวัน โดยพื้นที่ด้านบนจะใช้ประโยชน์เป็นสนามฟุตซอลมาตรฐานสำหรับเยาวชนใช้ในการแข่งขันออกกำลังกายและพื้นที่ส่วนใต้ดินจะใช้เป็นระบบบำบัดน้ำเสีย

อ่านรายละเอียด

นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) แจกโฉนดที่ดิน จ.นครพนม พบ ชาวบ้านรอคอยกว่า 20 ปี พร้อม อำนวยความสะดวกปชช. เปิดสนง.ที่ดินสาขานาหว้า

เมื่อ เวลา 09.30 น. วันนี้(17 ก.ค.63) นายนิพนธ์  บุญญามณี  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) พร้อมด้วย นายศุภชัย โพธิ์สุ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ อธิบดีกรมที่ดิน ผวจ.นครพนม นายกอบจ.นครพนม  ร่วมเปิดสำนักงานที่ดินจังหวัดนครพนม สาขานาหว้า(ใหม่)​ เพื่ออำนวยความสะดวกและลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประชาชนในการมาติดต่อราชการกับสำนักงานที่ดิน จากนั้นในเวลา 10.30 น. นายนิพนธ์ รมช.มท. และคณะได้เดินทางไปยังหอประชุมอำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม เพื่อมอบโฉนดที่ดิน ตามโครงการ “มอบโฉนดที่ดินทั่วไทย นำสุขคลายทุกข์ให้ประชาชน” ณ หอประชุมอำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม จำนวน 150 แปลง ให้แก่พี่น้องประชาชนในพื้นที่ สืบเนื่องจาก เมื่อประมาณ พ.ศ. 2539 ราษฎรหมู่ที่ 2 ตำบลนางัว อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม ได้เรียกร้องเพื่อให้มีการออกเอกสารสิทธิ์ โดยได้นำพนักงานเจ้าหน้าที่เดินสำรวจออกโฉนดที่ดินของตนโดยอาศัยที่ไม่มีหลักฐาน แต่ไม่สามารถดำเนินการออก โฉนดที่ดินให้แล้วเสร็จได้ เนื่องจากตรวจสอบพื้นที่แล้วปรากฏว่า บริเวณท้องที่ดังกล่าวได้มีพระราช กฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในท้องที่อำเภอศรีสงคราม และกิ่งอำเภอนาหว้า อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2519 ต่อมาในปี พ.ศ. 2552 ได้มีพระราชกฤษฎีกา กำหนดเขต ที่ดิน ในท้องที่บางแห่งในเขตอำเภอนาทม อำเภอบ้านแพง อำเภอศรีสงคราม อำเภอนาหว้า อำเภอท่าอุเทน อำเภอโพนสวรรค์ และอำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2552 และยกเลิกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่อำเภอศรีสงคราม และกิ่งอำเภอนาหว้า อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2519 โดยมีแผนที่แนบท้าย และเมื่อทำการ ตรวจสอบแล้วปรากฏว่า บริเวณท้องที่ตำบลนางัว อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม ไม่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินอีกต่อไป ดังนั้น จึงได้ลงพื้นที่ดำเนินการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินให้แก่ราษฎรหมู่ 2 ตำบลนางัว อำเภอนาหว้า ตามมาตรา 58ทวิ(3)แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน รวมทั้งสิ้นจำนวน 201 แปลง ทั้งนี้ ได้ดำเนินการเสร็จพร้อมที่จะมอบให้แก่ราษฎรแล้ว จำนวน 150 แปลง ส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างดำเนินการ ซึ่งจะเร่งรัดให้แล้วเสร็จโดยเร็ว สำหรับ การมอบโฉนดที่ดินในวันนี้ อยู่ในเขตพื้นที่ หมู่ที่ 2 ตำบลนางัว อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม จำนวน 150 แปลง ซึ่งเป็นการออกเอกสารสิทธิ์จาก “พื้นที่ที่ไม่มีหลักฐาน” เนื้อที่ 60-3-20 ไร่ ราคาประเมินไร่ละ 400,000 บาท คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ ประมาณ 24,320,000 บาท โดยพื้นที่ส่วนใหญ่ราษฎรได้เข้าครอบครองทำประโยชน์เป็นที่อาศัย ปลูกบ้านเรือน เต็มแล้วทั้งหมู่บ้าน นายนิพนธ์ รมช.มท. กล่าวว่า การมอบโฉนดที่ดินให้แก่พี่น้องประชาชนนั้น เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเร่งรัดให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพราะทราบว่าพี่น้องประชาชนหลายท่านรอคอยมายาวนาน 20 ปีบ้่าง 30 ปีบ้าง ซึ่งเข้าใจดีว่า โฉนดที่ดินเปรียบเสมือนความหวังของพี่น้องประชาชนที่ต้องการจะมีเอกสารการครอบครองสิทธิ์ที่ดินที่ถูกต้องเพื่อจะได้ใช้ประโยชน์ในการทำกิน สร้างงาน สร้างรายได้ดูแลครอบครัวได้ต่อไป ในส่วนของงบประมาณเพื่อดำเนินโครงการนี้ ตนได้มีการผลักดันอย่างเต็มที่เพื่อให้ขยายผลให้ครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่ที่สามารถดำเนินการได้ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องของการเข้าถึงโอกาสทางทรัพยากรของประเทศ จะมีส่วนช่วยให้ช่องว่างของความเหลื่อมล้ำทางสังคมลดลง แต่สิ่งสำคัญเมื่อพี่น้องประชาชนได้รับโฉนดที่ดินไปแล้ว ขอให้ดูแลรักษาไว้ให้ดี ใช้ทำกินให้เกิดประโยชน์ตามความประสงค์ และขอให้ช่วยกันดูแลรักษาพื้นที่ ดูแลทรัพย์สมบัติของชาติ ต่อไป

อ่านรายละเอียด

เปิดต้นแบบ “หน้ากากอนามัย” ผ่านมาตรฐาน สธ. สั่งท้องถิ่นเร่งผลิต 50 ล้านชิ้น แจกปชช.

วันนี้ 3 มี.ค.63 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีครั้งที่10/2563 มีการอนุมัติงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดทำหน้ากากอนามัยในการดำเนินโครงการพลังคนไทยร่วมใจป้องกันไวรัสโคโรนา 2019(COVID 19) ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 225 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดทำหน้ากากอนามัยจำนวน 50 ล้านชิ้นเพื่อแจกจ่ายให้แก่ประชาชนทั้งประเทศ โดยให้เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล ทั้ง 7,774 แห่งได้ดำเนินการผลิตเพื่อแจกจ่ายให้แก่ประชาชนในพื้นที่ที่รับผิดชอบ โดยหลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะรัฐมนตรี นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้นำต้นแบบหน้ากากอนามัย(แบบผ้า)​ที่กลุ่มชาวบ้านได้ผลิตขึ้นเพื่อใช้ในครัวเรือนเพื่อใช้ป้องกันไวรัสโคโรนา 2019(COVID 19) และ ฝุ่นละออง โดยนำแสดงเพื่อให้เป็นตัวอย่างการผลิตนำไปแจกจ่ายให้แก่ประชาชน ซึ่งต้นแบบหรือตัวอย่างที่นำมาแสดงแก่สื่อมวลชนนั้น ได้รับการรับรองมาตรฐานจากกระทรวงสาธารณสุข โดยภายในหน้ากาอนามัย(แบบผ้า)​นี้ ยังมีช่องสำหรับใส่แผ่นกรองความละเอียดเพื่อป้องกันได้มากขึ้น โดยกระทรวงมหาดไทยจะประสานไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เร่งดำเนินการโดยเร็ว พร้อมทั้ง ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดประสานไปยังเครือข่ายกลุ่มแม่บ้านและเครือข่ายOTOPชุมชน ให้ผลิตเพื่อรองรับการใช้งานให้ทันสถานการณ์เนื่องจากหน้ากากอนามัยที่มีจำหน่ายอยู่ในขณะนี้นั้นหาได้ยากขึ้น และยังเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายของประชาชนได้อีกด้วย

อ่านรายละเอียด

นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย หารือสวีเดน “การจัดการน้ำเสียของไทย” ยก อ้อมน้อย จ.สมุทรสาคร เป็นกรณีศึกษา

นิพนธ์ หารือสวีเดน “การจัดการน้ำเสียของไทย” ยก อ้อมน้อย จ.สมุทรสาคร เป็นกรณีศึกษา เมื่อเวลา 10.00 น. (ตามเวลาท้องถิ่น) วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563 สืบเนื่องจากการร่วมประชุมระดับสูงด้านความปลอดภัยทางถนน ครั้งที่ 3 (The 3rd Global Ministerial Conference on Road Safety) ณ กรุงสต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) พร้อมคณะ ได้ประชุมร่วมกับ นายกริสเตอร์ นิลส์สัน(Krister Nilsson)​ ผู้ช่วยรัฐมนตรีการค้าต่างประเทศและกิจการนอร์ดิก ประเทศสวีเดน เพื่อหารือถึงแนวทางการจัดการน้ำเสียของประเทศไทย ทั้งนี้เมื่อ พ.ศ.2554 ประเทศไทย โดยองค์การจัดการน้ำเสีย ได้รับการสนับสนุนด้านวิชาการจากรัฐบาลสวีเดนในการทบทวนความเหมาะสมและการออกแบบรายละเอียดสำหรับโครงการบำบัดน้ำเสียรวมพื้นที่เทศบาลนครอ้อมน้อย จังหวัดสมุทรสาคร โดยมีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นที่ปรึกษาโครงการ นายนิพนธ์ บุญญามณี รมช.มท. กล่าวอีกว่า การจัดการน้ำเสีย เป็นเรื่องจำเป็นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์การจัดการน้ำเสีย กระทรวงมหาดไทย จะต้องร่วมมือกันอย่างจริงจังเพื่อให้เกิดรูปธรรม โดยขณะนี้กำลังดำเนินการจัดทำแผนแม่บทเกี่ยวกับการจัดการน้ำเสียของทั้งประเทศ

อ่านรายละเอียด

การประชุมการบริหารจัดการภัยแล้งและเตรียมการเก็บน้ำฤดูฝนปี 2563

เมื่อวันที่2มีนาคม2563นายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย พร้อมด้วย รองผู้อำนวยการวิชาการและแผน เข้าร่วมการประชุมการบริหารจัดการภัยแล้งและเตรียมการเก็บน้ำฤดูฝนปี2563 ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล โดยมีพลเอกประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีมอบนโยบายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

อ่านรายละเอียด

ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย พร้อมด้วยรองผู้อำนวยการปฎิบัติการและผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรมได้เดินทางไปตรวจผลการดำเนินงานของระบบบำบัดน้ำเสียเทศบาลเมืองสิงห์บุรี

เมื่อวันที่30มกราคม2563 ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย พร้อมด้วยรองผู้อำนวยการปฎิบัติการและผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรมได้เดินทางไปตรวจผลการดำเนินงานของระบบบำบัดน้ำเสียเทศบาลเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรีและติดตามความก้าวหน้าในการนำน้ำที่ผ่านการบำบัดที่ได้คุณภาพตามมาตรฐานไปใช้ประโยชน์ในด้านเกษตรกรรม โดยสรุปดังนี้ 1.ผลการดำเนินงานของระบบบำบัดน้ำเสียเทศบาลเมืองสิงห์บุรี สามารถบำบัดน้ำเสียได้คุณภาพตามมาตรฐาน 2.มีการนำน้ำที่ผ่านการบำบัดที่ได้คุณภาพตามมาตรฐานกลับไปใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตรกรรม ปลูกข้าว จำนวน 100 กว่าไร่ เนื่องจากอยู่ในช่วงขาดแคลนน้ำใช้ และการนำไปรดน้ำต้นไม้เกาะกลางถนน

อ่านรายละเอียด

ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย พร้อมด้วยฝ่ายวิศวกรรม องค์การจัดการน้ำเสีย ติดตามความก้าวหน้างานก่อสร้างศูนย์บริหารจัดการคุณภาพน้ำ เทศบาลเมืองสามพราน จังหวัดนครปฐม

เมื่อวันจันทร์ที่ 27 มกราคม2563 ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสียและฝ่ายวิศวกรรมได้เดินทางตรวจความก้าวหน้าการก่อสร้างศูนย์บริหารจัดการคุณภาพน้ำเทศบาลเมืองสามพรานจังหวัดนครปฐม ก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนมีนาคม2563จะสามารถบำบัดน้ำเสียได้ปริมาณ1,000ลูกบาศก์เมตรต่อวัน โดยพื้นที่ด้านบนจะใช้ประโยชน์เป็นสนามฟุตซอลมาตรฐานสำหรับเยาวชนใช้ในการแข่งขันออกกำลังกายและพื้นที่ส่วนใต้ดินจะใช้เป็นระบบบำบัดน้ำเสีย

อ่านรายละเอียด

นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) แจกโฉนดที่ดิน จ.นครพนม พบ ชาวบ้านรอคอยกว่า 20 ปี พร้อม อำนวยความสะดวกปชช. เปิดสนง.ที่ดินสาขานาหว้า

เมื่อ เวลา 09.30 น. วันนี้(17 ก.ค.63) นายนิพนธ์  บุญญามณี  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) พร้อมด้วย นายศุภชัย โพธิ์สุ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ อธิบดีกรมที่ดิน ผวจ.นครพนม นายกอบจ.นครพนม  ร่วมเปิดสำนักงานที่ดินจังหวัดนครพนม สาขานาหว้า(ใหม่)​ เพื่ออำนวยความสะดวกและลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประชาชนในการมาติดต่อราชการกับสำนักงานที่ดิน จากนั้นในเวลา 10.30 น. นายนิพนธ์ รมช.มท. และคณะได้เดินทางไปยังหอประชุมอำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม เพื่อมอบโฉนดที่ดิน ตามโครงการ “มอบโฉนดที่ดินทั่วไทย นำสุขคลายทุกข์ให้ประชาชน” ณ หอประชุมอำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม จำนวน 150 แปลง ให้แก่พี่น้องประชาชนในพื้นที่ สืบเนื่องจาก เมื่อประมาณ พ.ศ. 2539 ราษฎรหมู่ที่ 2 ตำบลนางัว อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม ได้เรียกร้องเพื่อให้มีการออกเอกสารสิทธิ์ โดยได้นำพนักงานเจ้าหน้าที่เดินสำรวจออกโฉนดที่ดินของตนโดยอาศัยที่ไม่มีหลักฐาน แต่ไม่สามารถดำเนินการออก โฉนดที่ดินให้แล้วเสร็จได้ เนื่องจากตรวจสอบพื้นที่แล้วปรากฏว่า บริเวณท้องที่ดังกล่าวได้มีพระราช กฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในท้องที่อำเภอศรีสงคราม และกิ่งอำเภอนาหว้า อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2519 ต่อมาในปี พ.ศ. 2552 ได้มีพระราชกฤษฎีกา กำหนดเขต ที่ดิน ในท้องที่บางแห่งในเขตอำเภอนาทม อำเภอบ้านแพง อำเภอศรีสงคราม อำเภอนาหว้า อำเภอท่าอุเทน อำเภอโพนสวรรค์ และอำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2552 และยกเลิกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่อำเภอศรีสงคราม และกิ่งอำเภอนาหว้า อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2519 โดยมีแผนที่แนบท้าย และเมื่อทำการ ตรวจสอบแล้วปรากฏว่า บริเวณท้องที่ตำบลนางัว อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม ไม่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินอีกต่อไป ดังนั้น จึงได้ลงพื้นที่ดำเนินการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินให้แก่ราษฎรหมู่ 2 ตำบลนางัว อำเภอนาหว้า ตามมาตรา 58ทวิ(3)แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน รวมทั้งสิ้นจำนวน 201 แปลง ทั้งนี้ ได้ดำเนินการเสร็จพร้อมที่จะมอบให้แก่ราษฎรแล้ว จำนวน 150 แปลง ส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างดำเนินการ ซึ่งจะเร่งรัดให้แล้วเสร็จโดยเร็ว สำหรับ การมอบโฉนดที่ดินในวันนี้ อยู่ในเขตพื้นที่ หมู่ที่ 2 ตำบลนางัว อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม จำนวน 150 แปลง ซึ่งเป็นการออกเอกสารสิทธิ์จาก “พื้นที่ที่ไม่มีหลักฐาน” เนื้อที่ 60-3-20 ไร่ ราคาประเมินไร่ละ 400,000 บาท คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ ประมาณ 24,320,000 บาท โดยพื้นที่ส่วนใหญ่ราษฎรได้เข้าครอบครองทำประโยชน์เป็นที่อาศัย ปลูกบ้านเรือน เต็มแล้วทั้งหมู่บ้าน นายนิพนธ์ รมช.มท. กล่าวว่า การมอบโฉนดที่ดินให้แก่พี่น้องประชาชนนั้น เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเร่งรัดให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพราะทราบว่าพี่น้องประชาชนหลายท่านรอคอยมายาวนาน 20 ปีบ้่าง 30 ปีบ้าง ซึ่งเข้าใจดีว่า โฉนดที่ดินเปรียบเสมือนความหวังของพี่น้องประชาชนที่ต้องการจะมีเอกสารการครอบครองสิทธิ์ที่ดินที่ถูกต้องเพื่อจะได้ใช้ประโยชน์ในการทำกิน สร้างงาน สร้างรายได้ดูแลครอบครัวได้ต่อไป ในส่วนของงบประมาณเพื่อดำเนินโครงการนี้ ตนได้มีการผลักดันอย่างเต็มที่เพื่อให้ขยายผลให้ครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่ที่สามารถดำเนินการได้ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องของการเข้าถึงโอกาสทางทรัพยากรของประเทศ จะมีส่วนช่วยให้ช่องว่างของความเหลื่อมล้ำทางสังคมลดลง แต่สิ่งสำคัญเมื่อพี่น้องประชาชนได้รับโฉนดที่ดินไปแล้ว ขอให้ดูแลรักษาไว้ให้ดี ใช้ทำกินให้เกิดประโยชน์ตามความประสงค์ และขอให้ช่วยกันดูแลรักษาพื้นที่ ดูแลทรัพย์สมบัติของชาติ ต่อไป

อ่านรายละเอียด