องค์การจัดการน้ำเสีย กระทรวงมหาดไทย
ข่าวสารจากองค์กร
อัพเดทล่าสุด

วันที่ 15 กรกฎาคม 2567 ซักซ้อมพิธีในวันนี้เป็นการซักซ้อมเสมือนจริง จากวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร ไปยังถนนหน้าพระลาน บริเวณประตูวิเศษไชยศรี ในการนี้นายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย นายอธิรักษ์ บุพจันโท รองผู้อำนวยการปฏิบัติการ ผู้บริหาร และพนักงานองค์การจัดการน้ำเสีย เข้าร่วมในพิธีดังกล่าวด้วย

วันที่ 15 กรกฎาคม 2567 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นำคณะผู้บริหารกระทรวงมหาดไทย ประกอบด้วย นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย รองปลัดกระทรวงมหาดไทย อธิบดี และหัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัด กระทรวงมหาดไทย ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด และบุคลากร กระทรวงมหาดไทย และกรุงเทพมหานคร ร่วมซ้อมริ้วขบวนเกียรติยศเชิญน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 จากวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร ไปยังถนนหน้าพระลาน บริเวณประตูวิเศษไชยศรี การซักซ้อมพิธีในวันนี้เป็นการซักซ้อมเสมือนจริง ในการนี้นายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย นายอธิรักษ์ บุพจันโท รองผู้อำนวยการปฏิบัติการ ผู้บริหาร และพนักงานองค์การจัดการน้ำเสีย เข้าร่วมในพิธีดังกล่าวด้วย การจัดขบวนเกียรติยศเชิญน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ แบ่งเป็นจำนวน 9 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 รถตำรวจนำขบวน ตอนที่ 2 วงดุริยางค์กองทัพบก ตอนที่ 3 สมาชิกกองอาสารักษาดินแดน เชิญธงชาติและธงตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ตอนที่ 4 รถเชิญคนโทน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ ตอนที่ 5 คณะผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงมหาดไทย ตอนที่ 6 ผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตอนที่ 7 ผู้เชิญคนโทน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ ตอนที่ 8 ข้าราชการในสังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย และตอนที่ 9 รถตำรวจปิดขบวน รวมจำนวนผู้ร่วมขบวน 581 คน ความยาวขบวน 126 เมตร ทำการเคลื่อนขบวนฯ จากกระทรวงมหาดไทย ไปตามถนนอัษฎางค์ เลี้ยวซ้ายข้ามสะพานช้างโรงสี เคลื่อนตรงไปตามถนนกัลยาณไมตรี ผ่านกระทรวงกลาโหม เลี้ยวซ้ายหน้าวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เข้าถนนสนามไชย เคลื่อนตรงไปจนถึงบริเวณหน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร โดยเมื่อขบวนฯ เคลื่อนถึง ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จะเชิญคนโทน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ไปวางที่โต๊ะเคียงในพระอุโบสถวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร เพื่อเตรียมประกอบพิธีเสกน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ต่อไป

อ่านรายละเอียด

นายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย เข้าร่วมการประชุมซักซ้อม แนวทางปฎิบัติเกี่ยวกับการยับยั้ง การแพร่ระบาดของโรคคิดตีอไวรัสโคโรนา2019 (โควิด19)

เมื่อวันที่9เมษายน 2563 นายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย เข้าร่วมการประชุมซักซ้อม แนวทางปฎิบัติเกี่ยวกับการยับยั้ง การแพร่ระบาดของโรคคิดตีอไวรัสโคโรนา2019(โควิด19) ที่ห้องประชุมราชสีห์ กระทรวงมหาดไทย โดยมีท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานการประชุม ร่วมกับท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ท่านนิพนธ์ บุญญามณี และ ท่านทรงศักดิ์ ทองศรี ผ่านระบบวีดีทัศน์ กับผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด และหัวหน้าหน่วยงานสังกัดกระทรวงมหาดไทย

อ่านรายละเอียด

“เดินหน้า” ช่วยชาวบ้าน สู้ภัยโควิด-19 นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) ร่วม นายสรรเพชญ บุญญามณี (ผู้ช่วยผู้ดำเนินงาน นายชวน หลีกภัย) เปิดครัวทำอาหารเลี้ยง รอบที่ 2 “ย้ำ”การช่วยเหลือปชช.ยังต้องทำอย่างต่อเนื่อง

“เดินหน้า” ช่วยชาวบ้าน สู้ภัยโควิด-19 นิพนธ์ ร่วม สรรเพชญ เปิดครัวทำอาหารเลี้ยง รอบที่ 2 “ย้ำ”การช่วยเหลือปชช.ยังต้องทำอย่างต่อเนื่อง เช้าวันนี้ 4 พ.ค.63 นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) พร้อมด้วยนายสรรเพชญ บุญญามณี ผู้ช่วยผู้ดำเนินงาน นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ร่วมกับภาคีเครือข่ายภาคประชาชน ร่วมจัดทำโรงครัวเพื่อร่วมผลิตอาหารข้าวบรรจุกล่อง พร้อมน้ำดื่ม นำไปแจกจ่ายช่วยเหลือให้กับพี่น้องประชาชนทั่วไปในชุมชน ซึ่งได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในขณะนี้ ณ บริเวณศูนย์ช่วยเหลือวัดและชาวบ้าน สนองพระดำริ เจ้าพระคุณฯ สมเด็จพระสังฆราช ณ วัดหัวป้อมในอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นรอบที่ 2 ของการแจกจ่ายอาหารให้แก่ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ โดยก่อนหน้านี้ รมช.มท. และนายสรรเพชญฯ ได้เปิดโรงครัวทำอาหารกล่องพร้อมรับประทาน พร้อมทั้งแจกจ่ายถุงยังชีพ ข้าวสาร น้ำดื่มฯลฯ เป็นประจำทุกวันแล้ว รมช.มท. กล่าวว่า “ครั้งนี้ได้มาเยี่ยมเยือนกลุ่มจิตอาสาในการทำข้าวกล่อง ให้กับชุมชนเทศบาลนครสงขลา หลังจากที่รัฐบาลได้มีมติต่อเนื่องไปอีกหนึ่งเดือน เห็นว่าพี่น้องประชาชนในเขตเทศบาลนครสงขลา ซึ่งเป็นชุมชนขนาดใหญ่ ถึง 55 ชุมชน ยังมีความเดือดร้อนในเรื่องของอาหารการกิน วันนี้จึงได้เข้ามาดูแลพี่น้องประชาชนของเหล่าจิตอาสา ซึ่งนับเป็นอีกเรี่ยวแรงหนึ่งที่มีความตั้งใจมาช่วย ผลิตอาหารกล่อง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในชุมชนเทศบาลนครสงขลา ซึ่งก็จะมีทีมงานนำไปแจกจ่ายให้กับประชาชนถึงในชุมชน โดยที่ไม่ต้องเดินทางมาที่โรงครัวฯแห่งนี้” พร้อมนี้ รมช.มท. ยังได้เชิญชวนภาคเอกชนที่มีความพร้อมให้มาร่วมด้วยช่วยกันผลิตถุงยังชีพหรืออาหารกล่องพร้อมรับประทานนำไปแจกจ่ายในพื้นที่ต่างๆ เพื่อช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 อีกด้วย

อ่านรายละเอียด

นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) ตั้งมั่นบรรเทาทุกข์เดินหน้าแจกถุงยังชีพ 2500 ชุด สู่ปัตตานี สู้ภัยโควิด พร้อมขอบคุณภาคปชช.ที่ไม่ทิ้งกัน ในยามยาก

สายวันนี้ 10 พ ค.2563 เวลา 09.00 น. นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) เดินทางไปยังสถานที่เก็บ และบรรจุถุงยังชีพ เพื่อตรวจความเรียบร้อยก่อนที่จะเริ่มทยอยขนขึ้นรถ ซึ่งได้รับการสนับสนุนรถจาก ศูนย์ป้องกันบรรเทาสาธารณภัย เขต12 สงขลา จำนวน 3 คันในการขนถุงยังชีพนำไปส่งยังจังหวัดปัตตานี นายนิพนธ์ บุญญามณี รมช.มท.กล่าวว่า สำหรับในวันนี้ จะได้นำถุงยังขีพไปแจกจ่ายให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ต่างๆ โดยเฉพาะในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ วันนี้จะนำลงในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ซึ่งเดิมคาดการณ์ว่าจะนำส่งทีเดียวใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ แต่เนื่องจากปริมาณน้ำหนักของยานพาหนะที่เตรียมไว้ไม่เพียงพอ จึงต้องทยอยจัดส่ง โดยในวันนี้ได้รับการสนับสนุนรถจาก ศูนย์ปภ.เขต12 สงขลา ในการนำรถมาข่วยบรรทุกข้าวสาร จำนวน 2500 ถุง ลงพื้นที่จังหวัดปัตตานี ส่วนวันพรุ่งนี้ก็จะทยอยส่งลงพื้นที่จังหวัดยะลา นราธิวาส สตูลและสงขลา ต่อไป รมช.มท.กล่าวต่อว่า จึงขอกราบเรียนพี่น้องประชาชนว่า สิ่งเหล่านี้ก็คือสิ่งของที่ภาคประชาชน ผู้มีกำลังช่วยเหลือกันในยามนี้ บริจาคทั้งปลากระป๋องและข้าวสาร ซึ่งตนมาดำเนินการแพ็คใส่ถุงยังชีพ เพื่อแก้ปัญหาบรรเทาความเดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชน โดยมีข้าวสาร 5 กิโล เป็นข้าวหอมจัสมิน และปลากระป๋อง 10 กระป๋อง นี่คือสิ่งที่พวกเราช่วยกันบรรเทาเยียวยาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนใน 5 จังหวัดชายแดนใต้ ก็ยังต้องเขิญชวนใครที่มีกำลังก็อยากให้ร่วมบริจาคสิ่งของ หรือจัดเป็นถุงยังชีพ และส่งไปให้ประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ที่ยังไม่สามารถประกอบอาชีพได้ อย่างน้อยทุกคนก็ยังมีข้าวรับประทาน ในช่วงที่ต้องฟันฝ่าวิกฤตโควิด-19 นี้อีกสักระยะหนึ่ง ซึ่งในส่วนของการรับบริจาคนั้น รมช.มท.กล่าวว่า ตนไม่ได้เปิดทั่วไป แต่ถ้าใครอยากมาร่วมบริจาคก็สามารถทำได้ หรือจะจัดกันเองก็ได้ในกลุ่ม ซึ่ง ยากจะให้ช่วยกันในหลายๆพื้นที่ ซึ่งอย่างหนึ่งที่ต้องใสขณะนี้คืิต้องเร่งทำในส่วนของการแจกข้าวสารอาหารแห้ง นอกจากในเรื่องของถุงยังขีพแล้ว ตนยังได้ร่วมกับเครือข่ายทั้งหมด ออกโรงครัวปรุงอาหารทุกวัน และยังทำอย่างต่อเนื่อง ในการดูแลพื้นที่ขุมชนเมือง และก็ยังเป็นสิ่งจำเป็นอยู่ ดังนั่นฝ้งรอบนอกเราจะแจกถุงยังขีพ ซึ่งก็พยายามทำทุกรูปแบบ เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในสภาวะอย่างนี้ โดยในเบื้องต้นตั้งใจจะทำทั้งหมด 50,000 ชุด แต่ขณะนี้เป็นที่น่ายินดีว่า เราได้ปลากระป๋องมาเพิ่ม ก็อาจจะมีการเพิ่มขึ้น นอกจากปลากระป๋อง 500,000 กระป๋องแล้ว ขณะนี้ได้เพิ่มอีก 50,000 กระป๋อง เป็นปลากระป๋องซ๊อส ก็จะพยายามจัดลำเลียงไปในพื้นที่ต่างๆให้รวดเร็วที่สุด จึงต้องขอบคุณทุกฝ่าย ที่มาช่วยกันก็จะได้จัดส่งลงพื้นที่ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เร็วที่สุด ทั้งนี้ส่วนหนึ่งได้มอบให้ ศอ.บต.นำลงพื้นที่ไปแจกจ่าย เพื่อที่จะข่วย กระจายออกไปให้ได้มากที่สุด

อ่านรายละเอียด

เปิดต้นแบบ “หน้ากากอนามัย” ผ่านมาตรฐาน สธ. สั่งท้องถิ่นเร่งผลิต 50 ล้านชิ้น แจกปชช.

วันนี้ 3 มี.ค.63 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีครั้งที่10/2563 มีการอนุมัติงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดทำหน้ากากอนามัยในการดำเนินโครงการพลังคนไทยร่วมใจป้องกันไวรัสโคโรนา 2019(COVID 19) ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 225 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดทำหน้ากากอนามัยจำนวน 50 ล้านชิ้นเพื่อแจกจ่ายให้แก่ประชาชนทั้งประเทศ โดยให้เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล ทั้ง 7,774 แห่งได้ดำเนินการผลิตเพื่อแจกจ่ายให้แก่ประชาชนในพื้นที่ที่รับผิดชอบ โดยหลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะรัฐมนตรี นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้นำต้นแบบหน้ากากอนามัย(แบบผ้า)​ที่กลุ่มชาวบ้านได้ผลิตขึ้นเพื่อใช้ในครัวเรือนเพื่อใช้ป้องกันไวรัสโคโรนา 2019(COVID 19) และ ฝุ่นละออง โดยนำแสดงเพื่อให้เป็นตัวอย่างการผลิตนำไปแจกจ่ายให้แก่ประชาชน ซึ่งต้นแบบหรือตัวอย่างที่นำมาแสดงแก่สื่อมวลชนนั้น ได้รับการรับรองมาตรฐานจากกระทรวงสาธารณสุข โดยภายในหน้ากาอนามัย(แบบผ้า)​นี้ ยังมีช่องสำหรับใส่แผ่นกรองความละเอียดเพื่อป้องกันได้มากขึ้น โดยกระทรวงมหาดไทยจะประสานไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เร่งดำเนินการโดยเร็ว พร้อมทั้ง ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดประสานไปยังเครือข่ายกลุ่มแม่บ้านและเครือข่ายOTOPชุมชน ให้ผลิตเพื่อรองรับการใช้งานให้ทันสถานการณ์เนื่องจากหน้ากากอนามัยที่มีจำหน่ายอยู่ในขณะนี้นั้นหาได้ยากขึ้น และยังเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายของประชาชนได้อีกด้วย

อ่านรายละเอียด

นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย หารือสวีเดน “การจัดการน้ำเสียของไทย” ยก อ้อมน้อย จ.สมุทรสาคร เป็นกรณีศึกษา

นิพนธ์ หารือสวีเดน “การจัดการน้ำเสียของไทย” ยก อ้อมน้อย จ.สมุทรสาคร เป็นกรณีศึกษา เมื่อเวลา 10.00 น. (ตามเวลาท้องถิ่น) วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563 สืบเนื่องจากการร่วมประชุมระดับสูงด้านความปลอดภัยทางถนน ครั้งที่ 3 (The 3rd Global Ministerial Conference on Road Safety) ณ กรุงสต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) พร้อมคณะ ได้ประชุมร่วมกับ นายกริสเตอร์ นิลส์สัน(Krister Nilsson)​ ผู้ช่วยรัฐมนตรีการค้าต่างประเทศและกิจการนอร์ดิก ประเทศสวีเดน เพื่อหารือถึงแนวทางการจัดการน้ำเสียของประเทศไทย ทั้งนี้เมื่อ พ.ศ.2554 ประเทศไทย โดยองค์การจัดการน้ำเสีย ได้รับการสนับสนุนด้านวิชาการจากรัฐบาลสวีเดนในการทบทวนความเหมาะสมและการออกแบบรายละเอียดสำหรับโครงการบำบัดน้ำเสียรวมพื้นที่เทศบาลนครอ้อมน้อย จังหวัดสมุทรสาคร โดยมีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นที่ปรึกษาโครงการ นายนิพนธ์ บุญญามณี รมช.มท. กล่าวอีกว่า การจัดการน้ำเสีย เป็นเรื่องจำเป็นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์การจัดการน้ำเสีย กระทรวงมหาดไทย จะต้องร่วมมือกันอย่างจริงจังเพื่อให้เกิดรูปธรรม โดยขณะนี้กำลังดำเนินการจัดทำแผนแม่บทเกี่ยวกับการจัดการน้ำเสียของทั้งประเทศ

อ่านรายละเอียด

การประชุมการบริหารจัดการภัยแล้งและเตรียมการเก็บน้ำฤดูฝนปี 2563

เมื่อวันที่2มีนาคม2563นายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย พร้อมด้วย รองผู้อำนวยการวิชาการและแผน เข้าร่วมการประชุมการบริหารจัดการภัยแล้งและเตรียมการเก็บน้ำฤดูฝนปี2563 ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล โดยมีพลเอกประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีมอบนโยบายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

อ่านรายละเอียด

นายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย เข้าร่วมการประชุมซักซ้อม แนวทางปฎิบัติเกี่ยวกับการยับยั้ง การแพร่ระบาดของโรคคิดตีอไวรัสโคโรนา2019 (โควิด19)

เมื่อวันที่9เมษายน 2563 นายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย เข้าร่วมการประชุมซักซ้อม แนวทางปฎิบัติเกี่ยวกับการยับยั้ง การแพร่ระบาดของโรคคิดตีอไวรัสโคโรนา2019(โควิด19) ที่ห้องประชุมราชสีห์ กระทรวงมหาดไทย โดยมีท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานการประชุม ร่วมกับท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ท่านนิพนธ์ บุญญามณี และ ท่านทรงศักดิ์ ทองศรี ผ่านระบบวีดีทัศน์ กับผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด และหัวหน้าหน่วยงานสังกัดกระทรวงมหาดไทย

อ่านรายละเอียด

“เดินหน้า” ช่วยชาวบ้าน สู้ภัยโควิด-19 นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) ร่วม นายสรรเพชญ บุญญามณี (ผู้ช่วยผู้ดำเนินงาน นายชวน หลีกภัย) เปิดครัวทำอาหารเลี้ยง รอบที่ 2 “ย้ำ”การช่วยเหลือปชช.ยังต้องทำอย่างต่อเนื่อง

“เดินหน้า” ช่วยชาวบ้าน สู้ภัยโควิด-19 นิพนธ์ ร่วม สรรเพชญ เปิดครัวทำอาหารเลี้ยง รอบที่ 2 “ย้ำ”การช่วยเหลือปชช.ยังต้องทำอย่างต่อเนื่อง เช้าวันนี้ 4 พ.ค.63 นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) พร้อมด้วยนายสรรเพชญ บุญญามณี ผู้ช่วยผู้ดำเนินงาน นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ร่วมกับภาคีเครือข่ายภาคประชาชน ร่วมจัดทำโรงครัวเพื่อร่วมผลิตอาหารข้าวบรรจุกล่อง พร้อมน้ำดื่ม นำไปแจกจ่ายช่วยเหลือให้กับพี่น้องประชาชนทั่วไปในชุมชน ซึ่งได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในขณะนี้ ณ บริเวณศูนย์ช่วยเหลือวัดและชาวบ้าน สนองพระดำริ เจ้าพระคุณฯ สมเด็จพระสังฆราช ณ วัดหัวป้อมในอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นรอบที่ 2 ของการแจกจ่ายอาหารให้แก่ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ โดยก่อนหน้านี้ รมช.มท. และนายสรรเพชญฯ ได้เปิดโรงครัวทำอาหารกล่องพร้อมรับประทาน พร้อมทั้งแจกจ่ายถุงยังชีพ ข้าวสาร น้ำดื่มฯลฯ เป็นประจำทุกวันแล้ว รมช.มท. กล่าวว่า “ครั้งนี้ได้มาเยี่ยมเยือนกลุ่มจิตอาสาในการทำข้าวกล่อง ให้กับชุมชนเทศบาลนครสงขลา หลังจากที่รัฐบาลได้มีมติต่อเนื่องไปอีกหนึ่งเดือน เห็นว่าพี่น้องประชาชนในเขตเทศบาลนครสงขลา ซึ่งเป็นชุมชนขนาดใหญ่ ถึง 55 ชุมชน ยังมีความเดือดร้อนในเรื่องของอาหารการกิน วันนี้จึงได้เข้ามาดูแลพี่น้องประชาชนของเหล่าจิตอาสา ซึ่งนับเป็นอีกเรี่ยวแรงหนึ่งที่มีความตั้งใจมาช่วย ผลิตอาหารกล่อง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในชุมชนเทศบาลนครสงขลา ซึ่งก็จะมีทีมงานนำไปแจกจ่ายให้กับประชาชนถึงในชุมชน โดยที่ไม่ต้องเดินทางมาที่โรงครัวฯแห่งนี้” พร้อมนี้ รมช.มท. ยังได้เชิญชวนภาคเอกชนที่มีความพร้อมให้มาร่วมด้วยช่วยกันผลิตถุงยังชีพหรืออาหารกล่องพร้อมรับประทานนำไปแจกจ่ายในพื้นที่ต่างๆ เพื่อช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 อีกด้วย

อ่านรายละเอียด

นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) ตั้งมั่นบรรเทาทุกข์เดินหน้าแจกถุงยังชีพ 2500 ชุด สู่ปัตตานี สู้ภัยโควิด พร้อมขอบคุณภาคปชช.ที่ไม่ทิ้งกัน ในยามยาก

สายวันนี้ 10 พ ค.2563 เวลา 09.00 น. นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) เดินทางไปยังสถานที่เก็บ และบรรจุถุงยังชีพ เพื่อตรวจความเรียบร้อยก่อนที่จะเริ่มทยอยขนขึ้นรถ ซึ่งได้รับการสนับสนุนรถจาก ศูนย์ป้องกันบรรเทาสาธารณภัย เขต12 สงขลา จำนวน 3 คันในการขนถุงยังชีพนำไปส่งยังจังหวัดปัตตานี นายนิพนธ์ บุญญามณี รมช.มท.กล่าวว่า สำหรับในวันนี้ จะได้นำถุงยังขีพไปแจกจ่ายให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ต่างๆ โดยเฉพาะในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ วันนี้จะนำลงในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ซึ่งเดิมคาดการณ์ว่าจะนำส่งทีเดียวใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ แต่เนื่องจากปริมาณน้ำหนักของยานพาหนะที่เตรียมไว้ไม่เพียงพอ จึงต้องทยอยจัดส่ง โดยในวันนี้ได้รับการสนับสนุนรถจาก ศูนย์ปภ.เขต12 สงขลา ในการนำรถมาข่วยบรรทุกข้าวสาร จำนวน 2500 ถุง ลงพื้นที่จังหวัดปัตตานี ส่วนวันพรุ่งนี้ก็จะทยอยส่งลงพื้นที่จังหวัดยะลา นราธิวาส สตูลและสงขลา ต่อไป รมช.มท.กล่าวต่อว่า จึงขอกราบเรียนพี่น้องประชาชนว่า สิ่งเหล่านี้ก็คือสิ่งของที่ภาคประชาชน ผู้มีกำลังช่วยเหลือกันในยามนี้ บริจาคทั้งปลากระป๋องและข้าวสาร ซึ่งตนมาดำเนินการแพ็คใส่ถุงยังชีพ เพื่อแก้ปัญหาบรรเทาความเดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชน โดยมีข้าวสาร 5 กิโล เป็นข้าวหอมจัสมิน และปลากระป๋อง 10 กระป๋อง นี่คือสิ่งที่พวกเราช่วยกันบรรเทาเยียวยาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนใน 5 จังหวัดชายแดนใต้ ก็ยังต้องเขิญชวนใครที่มีกำลังก็อยากให้ร่วมบริจาคสิ่งของ หรือจัดเป็นถุงยังชีพ และส่งไปให้ประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ที่ยังไม่สามารถประกอบอาชีพได้ อย่างน้อยทุกคนก็ยังมีข้าวรับประทาน ในช่วงที่ต้องฟันฝ่าวิกฤตโควิด-19 นี้อีกสักระยะหนึ่ง ซึ่งในส่วนของการรับบริจาคนั้น รมช.มท.กล่าวว่า ตนไม่ได้เปิดทั่วไป แต่ถ้าใครอยากมาร่วมบริจาคก็สามารถทำได้ หรือจะจัดกันเองก็ได้ในกลุ่ม ซึ่ง ยากจะให้ช่วยกันในหลายๆพื้นที่ ซึ่งอย่างหนึ่งที่ต้องใสขณะนี้คืิต้องเร่งทำในส่วนของการแจกข้าวสารอาหารแห้ง นอกจากในเรื่องของถุงยังขีพแล้ว ตนยังได้ร่วมกับเครือข่ายทั้งหมด ออกโรงครัวปรุงอาหารทุกวัน และยังทำอย่างต่อเนื่อง ในการดูแลพื้นที่ขุมชนเมือง และก็ยังเป็นสิ่งจำเป็นอยู่ ดังนั่นฝ้งรอบนอกเราจะแจกถุงยังขีพ ซึ่งก็พยายามทำทุกรูปแบบ เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในสภาวะอย่างนี้ โดยในเบื้องต้นตั้งใจจะทำทั้งหมด 50,000 ชุด แต่ขณะนี้เป็นที่น่ายินดีว่า เราได้ปลากระป๋องมาเพิ่ม ก็อาจจะมีการเพิ่มขึ้น นอกจากปลากระป๋อง 500,000 กระป๋องแล้ว ขณะนี้ได้เพิ่มอีก 50,000 กระป๋อง เป็นปลากระป๋องซ๊อส ก็จะพยายามจัดลำเลียงไปในพื้นที่ต่างๆให้รวดเร็วที่สุด จึงต้องขอบคุณทุกฝ่าย ที่มาช่วยกันก็จะได้จัดส่งลงพื้นที่ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เร็วที่สุด ทั้งนี้ส่วนหนึ่งได้มอบให้ ศอ.บต.นำลงพื้นที่ไปแจกจ่าย เพื่อที่จะข่วย กระจายออกไปให้ได้มากที่สุด

อ่านรายละเอียด

เปิดต้นแบบ “หน้ากากอนามัย” ผ่านมาตรฐาน สธ. สั่งท้องถิ่นเร่งผลิต 50 ล้านชิ้น แจกปชช.

วันนี้ 3 มี.ค.63 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีครั้งที่10/2563 มีการอนุมัติงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดทำหน้ากากอนามัยในการดำเนินโครงการพลังคนไทยร่วมใจป้องกันไวรัสโคโรนา 2019(COVID 19) ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 225 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดทำหน้ากากอนามัยจำนวน 50 ล้านชิ้นเพื่อแจกจ่ายให้แก่ประชาชนทั้งประเทศ โดยให้เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล ทั้ง 7,774 แห่งได้ดำเนินการผลิตเพื่อแจกจ่ายให้แก่ประชาชนในพื้นที่ที่รับผิดชอบ โดยหลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะรัฐมนตรี นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้นำต้นแบบหน้ากากอนามัย(แบบผ้า)​ที่กลุ่มชาวบ้านได้ผลิตขึ้นเพื่อใช้ในครัวเรือนเพื่อใช้ป้องกันไวรัสโคโรนา 2019(COVID 19) และ ฝุ่นละออง โดยนำแสดงเพื่อให้เป็นตัวอย่างการผลิตนำไปแจกจ่ายให้แก่ประชาชน ซึ่งต้นแบบหรือตัวอย่างที่นำมาแสดงแก่สื่อมวลชนนั้น ได้รับการรับรองมาตรฐานจากกระทรวงสาธารณสุข โดยภายในหน้ากาอนามัย(แบบผ้า)​นี้ ยังมีช่องสำหรับใส่แผ่นกรองความละเอียดเพื่อป้องกันได้มากขึ้น โดยกระทรวงมหาดไทยจะประสานไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เร่งดำเนินการโดยเร็ว พร้อมทั้ง ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดประสานไปยังเครือข่ายกลุ่มแม่บ้านและเครือข่ายOTOPชุมชน ให้ผลิตเพื่อรองรับการใช้งานให้ทันสถานการณ์เนื่องจากหน้ากากอนามัยที่มีจำหน่ายอยู่ในขณะนี้นั้นหาได้ยากขึ้น และยังเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายของประชาชนได้อีกด้วย

อ่านรายละเอียด

นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย หารือสวีเดน “การจัดการน้ำเสียของไทย” ยก อ้อมน้อย จ.สมุทรสาคร เป็นกรณีศึกษา

นิพนธ์ หารือสวีเดน “การจัดการน้ำเสียของไทย” ยก อ้อมน้อย จ.สมุทรสาคร เป็นกรณีศึกษา เมื่อเวลา 10.00 น. (ตามเวลาท้องถิ่น) วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563 สืบเนื่องจากการร่วมประชุมระดับสูงด้านความปลอดภัยทางถนน ครั้งที่ 3 (The 3rd Global Ministerial Conference on Road Safety) ณ กรุงสต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) พร้อมคณะ ได้ประชุมร่วมกับ นายกริสเตอร์ นิลส์สัน(Krister Nilsson)​ ผู้ช่วยรัฐมนตรีการค้าต่างประเทศและกิจการนอร์ดิก ประเทศสวีเดน เพื่อหารือถึงแนวทางการจัดการน้ำเสียของประเทศไทย ทั้งนี้เมื่อ พ.ศ.2554 ประเทศไทย โดยองค์การจัดการน้ำเสีย ได้รับการสนับสนุนด้านวิชาการจากรัฐบาลสวีเดนในการทบทวนความเหมาะสมและการออกแบบรายละเอียดสำหรับโครงการบำบัดน้ำเสียรวมพื้นที่เทศบาลนครอ้อมน้อย จังหวัดสมุทรสาคร โดยมีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นที่ปรึกษาโครงการ นายนิพนธ์ บุญญามณี รมช.มท. กล่าวอีกว่า การจัดการน้ำเสีย เป็นเรื่องจำเป็นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์การจัดการน้ำเสีย กระทรวงมหาดไทย จะต้องร่วมมือกันอย่างจริงจังเพื่อให้เกิดรูปธรรม โดยขณะนี้กำลังดำเนินการจัดทำแผนแม่บทเกี่ยวกับการจัดการน้ำเสียของทั้งประเทศ

อ่านรายละเอียด

การประชุมการบริหารจัดการภัยแล้งและเตรียมการเก็บน้ำฤดูฝนปี 2563

เมื่อวันที่2มีนาคม2563นายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย พร้อมด้วย รองผู้อำนวยการวิชาการและแผน เข้าร่วมการประชุมการบริหารจัดการภัยแล้งและเตรียมการเก็บน้ำฤดูฝนปี2563 ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล โดยมีพลเอกประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีมอบนโยบายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

อ่านรายละเอียด