องค์การจัดการน้ำเสีย กระทรวงมหาดไทย
WMA News
อัพเดทล่าสุด

วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2568 คณะนักเรียน และครู จากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยตรัง จังหวัดตรัง เข้าเยี่ยมชม จำนวน 154 คน ณ พื้นที่ศูนย์บริหารจัดการคุณภาพน้ำ เเละศูนย์การเรียนรู้อุทยานสิ่งแวดล้อมนานา ชาติสิรินธร จังหวัดเพชรบุรี

วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2568 เวลา 13.30 – 14.20 น. คณะนักเรียน และครู จากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยตรัง จังหวัดตรัง เข้าเยี่ยมชม จำนวน 154 คน โดยแบ่งการเข้าเยี่ยมชมเป็น 2 รอบ รอบละ 77 คน ณ พื้นที่ศูนย์บริหารจัดการคุณภาพน้ำ เเละศูนย์การเรียนรู้อุทยานสิ่งแวดล้อมนานา ชาติสิรินธร จังหวัดเพชรบุรี

อ่านรายละเอียด

ปลัดมหาดไทยเชิงรุก ประชุมติดตามการพัฒนาคลองแม่ข่าจังหวัดเชียงใหม่ผ่านระบบ VCS ยกการดำเนินงานคลองแม่ข่า เป็นต้นแบบการช่วยกันฟื้นฟูแม่น้ำลำคลองและชีวิตความเป็นอยู่ สิ่งแวดล้อมชุมชนเมืองให้มีสภาวะที่ดีของภาคเหนือ

วันนี้ (20 ต.ค. 64) เวลา 09.30 น. ที่ห้องประชุมดำรงธรรม อาคารศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานการประชุมติดตามการดำเนินงานพัฒนาคลองแม่ข่า จังหวัดเชียงใหม่ ผ่านระบบ Video Conference โดยมี นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร รองปลัดกระทรวงมหาดไทย หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านสาธารณภัยและพัฒนาเมือง นายพงษ์นรา เย็นยิ่ง รองอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง นายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย นายประจญ ปรัชญ์สกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นายรัฐพล  นราดิศร รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่  นายเจริญฤทธิ์  สงวนสัตย์  อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่  นายพิชัย เลิศพงศ์อดิศร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ นายอัศนี บูรณุปกรณ์ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่  นายนที  ดำรงค์ นายกเทศมนตรีตำบลสันทรายหลวง  รองศาสตราจารย์ชูโชค  อายุพงศ์  อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานแนวทางตามหลักการทรงงาน ซึ่งได้ทรงเน้นย้ำหลัก “บวร” คือ การทำงานร่วมกันของบ้าน วัด ราชการ และจิตอาสา ซึ่งเป็นหลักการทำงานที่ชาวมหาดไทยยึดถือมาตั้งแต่ในอดีตถึงปัจจุบัน โดยการแก้ไขปัญหาคลองแม่ข่า จังหวัดเชียงใหม่ มีผู้นำท้องถิ่นที่สำคัญ คือ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ และนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ เป็นภาคีสำคัญในการแก้ปัญหาบำบัดน้ำเสียคลองแม่ข่า และการจัดการสิ่งแวดล้อมของจังหวัดเชียงใหม่ นอกจากนี้ วันนี้ได้เชิญนายกเทศมนตรีตำบลสันทรายหลวง ซึ่งประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาลำน้ำคูคลองมาร่วมนำเสนอวิธีขับเคลื่อนการขับเคลื่อนให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งทุกความคิดเห็น ทุกความปรารถนาดีที่ทุกคนมีกับบ้านเมือง จะเป็นแนวทางที่สำคัญในการขับเคลื่อนงาน โดยร่วมระดมสรรพกำลัง สรรพความคิดเห็น ประสบการณ์ ของคนในสังคม มาช่วยกันในการทำสิ่งที่ดีให้เกิดขึ้นกับส่วนรวม ซึ่งผมมีแนวคิดในการขับเคลื่อนงานว่า “Change for good” ซึ่งหมายถึง การจะสร้างสิ่งดีให้เกิดขึ้น ต้องเป็นเป้าหมายที่สำคัญของชีวิตทุกคน ใครที่มีประสบการณ์ มีความรู้ ความสามารถ ไม่ว่าจะอยู่ภาคส่วนไหน และมีจิตอาสาช่วยงาน  เมื่อทุกท่านเข้ามามีส่วนร่วมก็จะเกิดสิ่งดีและมีค่าแก่สังคม นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงอยากเห็นบ้านเมืองของเรามีความสะอาด สวยงาม ผู้คนมีความรัก ความสามัคคี ช่วยกันฟื้นฟูสิ่งที่เคยดีงามและเสียหายไป ดังพระราชดำรัสที่พระราชทานให้พวกเราช่วยกัน “แก้ไขในสิ่งผิด”  ซึ่ง “คลองแม่ข่า” ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ผิดพลาดอยู่ นั่นคือ แต่เดิมมีความสวยงาม สะอาด ร่มรื่น แต่ปัจจุบันน้ำเน่าเสีย ลำน้ำมีความสกปรก รกรุงรัง ไม่มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ในเรื่องของการเคารพสาธารณสถาน ซึ่งกระทรวงมหาดไทย ได้สนองพระราชดำริ ในการดำเนินงานพัฒนาคลองแม่ข่า โดย พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ลงพื้นที่ติดตามการแก้ไขปัญหาและประชุมหารือร่วมกับทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่อง เพื่อจะได้ร่วมกันดำเนินงานแก้ไขปัญหาบนพื้นฐานของการพยายามทำให้เกิดความเดือดร้อนต่อพี่น้องประชาชนน้อยที่สุด และทุกคนทุกฝ่ายได้รับการดูแลกัน  โดยกระทรวงมหาดไทย จะดำเนินการช่วยเหลือ ติดตาม และสนับสนุนการบริหารงานแก้ไขปัญหาคลองแม่ข่าของจังหวัดเชียงใหม่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และพี่น้องประชาชนอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นประเด็นสำคัญในการแก้ไขปัญหาการจัดการน้ำเสียและสิ่งแวดล้อมที่ดีเพื่อพี่น้องประชาชน  ซึ่งเราจะให้คลองแม่ข่า เป็นต้นแบบของจังหวัดภาคเหนือในการช่วยกันฟื้นฟูแม่น้ำลำคลอง และคุณภาพชีวิต ชีวิตความเป็นอยู่ สิ่งแวดล้อมชุมชนเมือง ให้มีสภาวะที่ดี เหมาะสมกับการเป็นที่อยู่อาศัย เหมาะสมกับการเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่ไม่เป็นต้นเหตุทำให้เกิดโรคระบาด ซึ่งในขณะนี้ จังหวัดเชียงใหม่ได้ร่วมกับทุกภาคส่วนดำเนินการไปมีความก้าวหน้าพอสมควรแล้ว จากนั้น ที่ประชุมได้นำเสนอความก้าวหน้าของการดำเนินงานพัฒนาคลองแม่ข่า รวมทั้งข้อคิดเห็นในการพัฒนาคลองแม่ข่าให้เกิดประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม และเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนอย่างยั่งยืน นายประจญ ปรัชญ์สกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวต่อว่า จากในอดีตที่ผ่านมาจนถึงทุกวันนี้ การดำเนินงานพัฒนาคลองแม่ข่า มีความก้าวหน้าในระดับหนึ่ง ซึ่งจังหวัดเชียงใหม่จะได้เร่งดำเนินการขับเคลื่อนและต่อยอดให้สมบูรณ์ต่อเนื่อง โดยเน้นชุมชนคนริมคลองและบูรณาการภาคเอกชน โดยใช้ชุมชนช่วยคิด ช่วยทำ ให้เกิดมรรคผล และจะสานต่อแนวคิดการขับเคลื่อนพัฒนาคลองแม่ข่าของท่านอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์ ให้สำเร็จ ซึ่งจะเกิดประโยชน์กับประชาชน และเกิดการพัฒนาสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่ โดยจังหวัดเชียงใหม่ ได้นำเสนอความก้าวหน้าของการดำเนินงานพัฒนาคลองแม่ข่า จำนวน 3 ช่วง ตั้งแต่อำเภอแม่ริม อำเภอเมืองเชียงใหม่ และอำเภอหางดง ความยาวกว่า 30 กิโลเมตร สภาพปัญหาที่สำคัญที่ผ่านมา เช่น การรุกล้ำลำน้ำ คุณภาพน้ำ สภาพตื้นเขิน และการขาดความร่วมมือของผู้ประกอบการ และชุมชน เป็นต้น การขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาของทุกภาคส่วน ตามมาตรการต่าง ๆ มีความก้าวหน้าเป็นลำดับเช่น เช่น การจัดหาน้ำต้นทุน ภายใต้โครงการน้ำดีไล่น้ำเสีย ด้วยการนำน้ำดีจากคลองส่งน้ำแม่แตง การขุดลอกลำห้วย การปรับปรุงระบบ ส่งน้ำ และการปรับปรุงแก้มลิง การแก้ไขการบุกรุกที่ดิน การปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสีย การบังคับใช้กฎหมาย การสร้างจิตสำนึกชุมชน จิตอาสา และการปรับปรุงภูมิทัศน์ ปลูกต้นไม้ เป็นต้น ด้าน รองศาสตราจารย์ชูโชค อายุพงศ์ กล่าวว่า การพัฒนาคลองแม่ข่า ได้ขับเคลื่อนภายใต้วิสัยทัศน์ “ คลองสวย น้ำใส ไหลดี ชุมชนมีสุข” มีความก้าวหน้ากว่าร้อยละ 60 “น้ำเสีย” เป็นประเด็นสำคัญที่ต้อง ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาฯ ขอให้กระทรวงมหาดไทยช่วยเร่งรัดการทำงานใน 3 เรื่อง ได้แก่ (1) กรมโยธาธิการและผังเมือง : การดำเนินงานก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วม ระบบการระบายน้ำ ระยะที่ 2 ที่อยู่ระหว่างดำเนินการให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลา (2) องค์การจัดการน้ำเสีย : การสำรวจ ออกแบบ ระบบบำบัดน้ำเสียรวมของจังหวัดเชียงใหม่ และความพร้อมในทุกด้าน เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณในแหล่งต่าง ๆ และ (3) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น : การปรับปรุงสภาพแวดล้อม ภูมิทัศน์ ตลอดจนการดูแลรักษา ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยว ดังเช่นการพัฒนาคลองโอ่งอ่างที่กรุงเทพมหานคร เป็นต้น นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เน้นย้ำว่า ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ได้นำข้อสั่งการของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้เน้นย้ำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกข้อบัญญัติในการพิจารณาออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารบ้านเรือน

อ่านรายละเอียด

อจน. ร่วมพิธีบำเพ็ญกุศลและน้อมรำลึกเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ประจำปี 2564

อจน. ร่วมพิธีบำเพ็ญกุศลและน้อมรำลึกเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ประจำปี 2564 วันที่ 13 ตุลาคม 2564 นายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย พร้อมด้วยผู้บริหาร อจน. ร่วมพิธีวางพวงมาลา และถวายบังคมเบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ประจำปี 2564 ณ สำนักงานองค์การจัดการน้ำเสีย อาคารเล้าเป้งง้วน1 ชั้น 23

อ่านรายละเอียด

นายนิพนธ์ บุญญามณี (มท.2) เปิดเกิจกรรม ”วิถีใหม่ประหยัดน้ำกับ กปน.” เพิ่มช่องทางเลือกให้ประชาชนซื้อสินค้า-อุปกรณ์ประหยัดน้ำ ที่มีสลาก กปน.รับรองช่วยประหยัดจริง ได้หลายต่อ ทั้งได้สินค้าดีมีคุณภาพ ช่วยเซฟประหยัดน้ำ รักษ์ทรัพยากรน้ำยั่งยืน

นายนิพนธ์ บุญญามณี เปิดเกิจกรรม ”วิถีใหม่ประหยัดน้ำกับ กปน.” เพิ่มช่องทางเลือกให้ประชาชนซื้อสินค้า-อุปกรณ์ประหยัดน้ำ ที่มีสลาก กปน.รับรองช่วยประหยัดจริง ได้หลายต่อ ทั้งได้สินค้าดีมีคุณภาพ ช่วยเซฟประหยัดน้ำ รักษ์ทรัพยากรน้ำยั่งยืน เมื่อเวลา 15.00 น. วันที่ 6 กันยายน 2564 ที่การประปานครหลวง (กปน.) สานักงานใหญ่ นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมออนไลน์ “วิถีใหม่แห่งการประหยัดน้ำกับฉลากประหยัดน้ำของการประปานครหลวง” โดยมี นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ ประธานกรรมการ กปน. นายนิทัศน์ มณีศิลาสันต์ กรรมการ กปน. นายวีรวัฒน์ ยมจินดา กรรมการ กปน. และ นายกวี อารีกุล ผู้ว่าการ กปน. เข้าร่วม นายนิพนธ์ กล่าวว่า การประปานครหลวง (กปน.) เป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงมหาดไทย มีภารกิจหลักในการผลิตน้ำประปาให้สะอาด ปลอดภัย ตามมาตรฐานองค์การอนามัยโลก (WHO) ให้บริการประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) นนทบุรี และ สมุทรปราการ เพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีให้พี่น้องประชาชนได้รับบริการน้ำประปา สะอาด ปลอดภัย อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม นอกจากภารกิจหลักแล้ว กปน. ยังให้ความสำคัญกับการดูแลรักษาทรัพยากรน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัดโดยการจัดกิจกรรมส่งเสริมการใช้อุปกรณ์ประหยัดน้ำที่ได้รับการ รับรองฉลากประหยัดน้ำของ กปน.อย่างต่อเนื่อง “ในปีนี้ได้จัดกิจกรรมออนไลน์ ‘วิถีใหม่แห่ง การประหยัดน้ากับฉลากประหยัดน้ำของการประปานครหลวง’ จัดขึ้นเพื่อที่จะเป็นทางเลือกให้ประชาชน เลือกซื้อผลิตภัณฑ์และอุปกรณ์ประหยัดน้ําที่ได้รับการรับรองมาตรฐานฉลากประหยัดน้ําของ การประปานครหลวง ซึ่งจะช่วยควบคุมการใช้น้ําในปริมาณที่เหมาะสม ลดการสูญเสียน้ํา โดยไม่จําเป็น ช่วยลดอัตราการใช้น้ํา เฉลี่ย/คน/วัน (Per Capita) เพื่อให้ประชาชนทุกคนมีน้ําใช้อย่างเพียงพอ จึงขอเชิญชวนให้พี่น้องประชาชนหันมาเลือกใช้อุปกรณ์ผลิตภัณฑ์ ประหยัดน้ําที่ได้รับการรับรองฉลากประหยัดน้ําของการประปานครหลวง และขอเชิญชวนผู้ประกอบการและผู้จัดจําหน่ายทั่วประเทศเข้าร่วมโครงการ ร่วมกันสร้างสรรค์และจัดจําหน่ายผลิตภัณฑ์ประหยัดน้ําตามมาตรฐานกําหนด โดยปัจจุบัน มีผลิตภัณฑ์ประหยัดน้ําที่ได้รับการรับรอง 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทก๊อกอ่างล้างหน้า-ล้างมือประหยัดน้ํา แบ่งประสิทธิภาพการประหยัดน้ํา ตั้งแต่ระดับ 3-5 โดย เบอร์ 5 (ระดับดีเยี่ยม) เบอร์ 4 (ระดับดีมาก) และเบอร์ 3 (ระดับดี) และประเภทฝักบัวประหยัดน้ํา ซึ่งก๊อกและฝักบัวประหยัดน้ําที่มีฉลากประหยัดน้ําของการประปานครหลวง จะลดการใช้น้ําเหลือเพียง 1 ใน 3 จากการใช้ก๊อกน้ําทั่วไป โดยฉลากจะแสดงประสิทธิภาพอุปกรณ์ประหยัดน้ํา จะทําให้ประชาชนทราบถึงปริมาณการใช้น้ําและหันมาใช้อุปกรณ์ประหยัดน้ํา และร่วมกันรักษาทรัพยากรน้ําอย่างยั่งยืนตลอดไป” นายนิพนธ์กล่าว

อ่านรายละเอียด

องค์การจัดการน้ำเสีย ได้รับผลการประเมิน 96.39 คะแนน อยู่ในระดับ AA สูงกว่าปีที่ผ่านมา

เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2564 สำนักงาน ป.ป.ช. ได้จัดงานแถลงผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ภายใต้ชื่องาน “ITA DAY 2021: More Open, More Transparent” โดยมีหน่วยงานภาครัฐร่วมประเมินทั้งหมด 8,300 หน่วยงาน ภายใต้การประเมิน 10 ด้าน องค์การจัดการน้ำเสีย ได้รับผลการประเมิน 96.39 คะแนน อยู่ในระดับ AA สูงกว่าปีที่ผ่านมา อยู่ในลำดับที่ 13 จากรัฐวิสาหกิจที่เข้ารับการประเมินจำนวน 51 แห่ง นับเป็นจุดเริ่มต้นอีกครั้งหนึ่งขององค์การจัดการน้ำเสียในการนำผลการประเมิน ITA ที่ได้ไปใช้ในการวางแผนปรับปรุงพัฒนาองค์กรในปีงบประมาณถัดไปให้สมบูรณ์ครบถ้วนในทุกมิติ ทั้งในแง่การเปลี่ยนแปลงพัฒนาให้องค์กรมีความโปร่งใสตามกรอบการประเมิน ITA และในแง่การพัฒนาคุณธรรมการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล ทั้งนี้ ก็เพื่อให้การปฏิบัติงานและการให้บริการสาธารณะเป็นไปเพื่อประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย  

อ่านรายละเอียด

องค์การจัดการน้ำเสียมอบเงิน 1 แสน หนุนโครงการ “COVID HOME CARE” ช่วยผู้ป่วยโควิดรักษาตัวที่บ้าน

องค์การจัดการน้ำเสีย โดยนายวิรัตน์ ภมรานนท์ รองผู้อำนวยการปฏิบัติการ เป็นผู้แทนมอบเงินสนับสนุนจำนวน 100,000 บาท ให้กับสมาคมสมาพันธ์สถานประกอบการเพื่อสุขภาพและผู้สูงอายุ (HEC) ร่วมกับเครือข่ายเราดูแลกัน (We Care Network) จัดทำโครงการ “COVID HOME CARE” เพื่อช่วยเหลือกลุ่มผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีเขียวที่พักรักษาตัวอยู่ที่บ้าน

อ่านรายละเอียด

นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) นำ “องค์การจัดการน้ำเสีย” จับมือ “อีสท์วอเตอร์” MOU ร่วมบริหารจัดการน้ำรองรับพื้นที่ EEC

วันที่ 21 มิถุนายน 2564 ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ ลาดพร้าว กรุงเทพฯ นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ(MOU) การบริหารจัดการน้ำเสียในภาคตะวันออกระหว่าง องค์การจัดการน้ำเสีย(อจน.) กับ บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) หรือ อีสท์วอเตอร์ โดยมี นายพรพจน์ เพ็ญพาส ประธานกรรมการอจน. นายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการ อจน. นายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด(มหาชน) หรือ อีสท์วอเตอร์ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกัน นายนิพนธ์ กล่าวว่า จากสถานการณ์ในปัจจุบันพื้นที่ภาคตะวันออกของประเทศไทยโดยเฉพาะ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) มีความจำเป็นต้องขับเคลื่อนมาตรการในการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพเพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคม รัฐบาลมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันออก (EEC) ที่คลอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง เป็นพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญเพื่อยกระดับการพัฒนาประเทศ ส่งเสริมอุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อเป็นการยกระดับอุตสาหกรรม เป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งโลจิสติกส์ และเน้นการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัย ส่งเสริมการลงทุนและการท่องเที่ยว เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและทำให้เศรษฐกิจของไทยเติบโตได้ในระยะยาว และเป็นเขตเศรษฐกิจชั้นนำของอาเซียนเชื่อมโยงการพัฒนาภายในประเทศ และประเทศเพื่อนบ้าน องค์การจัดการน้ำเสีย(อจน.) และบริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) ได้กำหนดความร่วมมือดำเนินงานศึกษาแนวทางการบริหารจัดการน้ำเสียและการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่ความร่วมมือ ยกระดับคุณภาพการให้บริการของทั้งสองหน่วยงาน ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างความยั่งยืนของการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญ “องค์การจัดการน้ำเสีย (อจน.) และ บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) หรือ อีสท์วอเตอร์ จึงร่วมกันขับเคลื่อนภารกิจให้สำเร็จบรรลุเป้าหมายตามนโยบายของรัฐบาล กระทรวงมหาดไทย เพื่อบำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้กับพี่น้องประชาชน การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้จึงเป็นแนวทางในการนำน้ำที่ผ่านการบำบัดกลับมาใช้ประโยชน์ และยังเป็นการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ สำหรับกิจกรรมประเภทต่างๆในเขตพื้นที่ EEC และจะเป็นประโยชน์สำหรับประชาชนในพื้นที่ที่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำใช้ต่อไป” นายนิพนธ์ กล่าว

อ่านรายละเอียด

ปลัดมหาดไทยเชิงรุก ประชุมติดตามการพัฒนาคลองแม่ข่าจังหวัดเชียงใหม่ผ่านระบบ VCS ยกการดำเนินงานคลองแม่ข่า เป็นต้นแบบการช่วยกันฟื้นฟูแม่น้ำลำคลองและชีวิตความเป็นอยู่ สิ่งแวดล้อมชุมชนเมืองให้มีสภาวะที่ดีของภาคเหนือ

วันนี้ (20 ต.ค. 64) เวลา 09.30 น. ที่ห้องประชุมดำรงธรรม อาคารศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานการประชุมติดตามการดำเนินงานพัฒนาคลองแม่ข่า จังหวัดเชียงใหม่ ผ่านระบบ Video Conference โดยมี นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร รองปลัดกระทรวงมหาดไทย หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านสาธารณภัยและพัฒนาเมือง นายพงษ์นรา เย็นยิ่ง รองอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง นายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย นายประจญ ปรัชญ์สกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นายรัฐพล  นราดิศร รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่  นายเจริญฤทธิ์  สงวนสัตย์  อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่  นายพิชัย เลิศพงศ์อดิศร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ นายอัศนี บูรณุปกรณ์ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่  นายนที  ดำรงค์ นายกเทศมนตรีตำบลสันทรายหลวง  รองศาสตราจารย์ชูโชค  อายุพงศ์  อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานแนวทางตามหลักการทรงงาน ซึ่งได้ทรงเน้นย้ำหลัก “บวร” คือ การทำงานร่วมกันของบ้าน วัด ราชการ และจิตอาสา ซึ่งเป็นหลักการทำงานที่ชาวมหาดไทยยึดถือมาตั้งแต่ในอดีตถึงปัจจุบัน โดยการแก้ไขปัญหาคลองแม่ข่า จังหวัดเชียงใหม่ มีผู้นำท้องถิ่นที่สำคัญ คือ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ และนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ เป็นภาคีสำคัญในการแก้ปัญหาบำบัดน้ำเสียคลองแม่ข่า และการจัดการสิ่งแวดล้อมของจังหวัดเชียงใหม่ นอกจากนี้ วันนี้ได้เชิญนายกเทศมนตรีตำบลสันทรายหลวง ซึ่งประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาลำน้ำคูคลองมาร่วมนำเสนอวิธีขับเคลื่อนการขับเคลื่อนให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งทุกความคิดเห็น ทุกความปรารถนาดีที่ทุกคนมีกับบ้านเมือง จะเป็นแนวทางที่สำคัญในการขับเคลื่อนงาน โดยร่วมระดมสรรพกำลัง สรรพความคิดเห็น ประสบการณ์ ของคนในสังคม มาช่วยกันในการทำสิ่งที่ดีให้เกิดขึ้นกับส่วนรวม ซึ่งผมมีแนวคิดในการขับเคลื่อนงานว่า “Change for good” ซึ่งหมายถึง การจะสร้างสิ่งดีให้เกิดขึ้น ต้องเป็นเป้าหมายที่สำคัญของชีวิตทุกคน ใครที่มีประสบการณ์ มีความรู้ ความสามารถ ไม่ว่าจะอยู่ภาคส่วนไหน และมีจิตอาสาช่วยงาน  เมื่อทุกท่านเข้ามามีส่วนร่วมก็จะเกิดสิ่งดีและมีค่าแก่สังคม นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงอยากเห็นบ้านเมืองของเรามีความสะอาด สวยงาม ผู้คนมีความรัก ความสามัคคี ช่วยกันฟื้นฟูสิ่งที่เคยดีงามและเสียหายไป ดังพระราชดำรัสที่พระราชทานให้พวกเราช่วยกัน “แก้ไขในสิ่งผิด”  ซึ่ง “คลองแม่ข่า” ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ผิดพลาดอยู่ นั่นคือ แต่เดิมมีความสวยงาม สะอาด ร่มรื่น แต่ปัจจุบันน้ำเน่าเสีย ลำน้ำมีความสกปรก รกรุงรัง ไม่มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ในเรื่องของการเคารพสาธารณสถาน ซึ่งกระทรวงมหาดไทย ได้สนองพระราชดำริ ในการดำเนินงานพัฒนาคลองแม่ข่า โดย พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ลงพื้นที่ติดตามการแก้ไขปัญหาและประชุมหารือร่วมกับทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่อง เพื่อจะได้ร่วมกันดำเนินงานแก้ไขปัญหาบนพื้นฐานของการพยายามทำให้เกิดความเดือดร้อนต่อพี่น้องประชาชนน้อยที่สุด และทุกคนทุกฝ่ายได้รับการดูแลกัน  โดยกระทรวงมหาดไทย จะดำเนินการช่วยเหลือ ติดตาม และสนับสนุนการบริหารงานแก้ไขปัญหาคลองแม่ข่าของจังหวัดเชียงใหม่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และพี่น้องประชาชนอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นประเด็นสำคัญในการแก้ไขปัญหาการจัดการน้ำเสียและสิ่งแวดล้อมที่ดีเพื่อพี่น้องประชาชน  ซึ่งเราจะให้คลองแม่ข่า เป็นต้นแบบของจังหวัดภาคเหนือในการช่วยกันฟื้นฟูแม่น้ำลำคลอง และคุณภาพชีวิต ชีวิตความเป็นอยู่ สิ่งแวดล้อมชุมชนเมือง ให้มีสภาวะที่ดี เหมาะสมกับการเป็นที่อยู่อาศัย เหมาะสมกับการเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่ไม่เป็นต้นเหตุทำให้เกิดโรคระบาด ซึ่งในขณะนี้ จังหวัดเชียงใหม่ได้ร่วมกับทุกภาคส่วนดำเนินการไปมีความก้าวหน้าพอสมควรแล้ว จากนั้น ที่ประชุมได้นำเสนอความก้าวหน้าของการดำเนินงานพัฒนาคลองแม่ข่า รวมทั้งข้อคิดเห็นในการพัฒนาคลองแม่ข่าให้เกิดประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม และเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนอย่างยั่งยืน นายประจญ ปรัชญ์สกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวต่อว่า จากในอดีตที่ผ่านมาจนถึงทุกวันนี้ การดำเนินงานพัฒนาคลองแม่ข่า มีความก้าวหน้าในระดับหนึ่ง ซึ่งจังหวัดเชียงใหม่จะได้เร่งดำเนินการขับเคลื่อนและต่อยอดให้สมบูรณ์ต่อเนื่อง โดยเน้นชุมชนคนริมคลองและบูรณาการภาคเอกชน โดยใช้ชุมชนช่วยคิด ช่วยทำ ให้เกิดมรรคผล และจะสานต่อแนวคิดการขับเคลื่อนพัฒนาคลองแม่ข่าของท่านอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์ ให้สำเร็จ ซึ่งจะเกิดประโยชน์กับประชาชน และเกิดการพัฒนาสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่ โดยจังหวัดเชียงใหม่ ได้นำเสนอความก้าวหน้าของการดำเนินงานพัฒนาคลองแม่ข่า จำนวน 3 ช่วง ตั้งแต่อำเภอแม่ริม อำเภอเมืองเชียงใหม่ และอำเภอหางดง ความยาวกว่า 30 กิโลเมตร สภาพปัญหาที่สำคัญที่ผ่านมา เช่น การรุกล้ำลำน้ำ คุณภาพน้ำ สภาพตื้นเขิน และการขาดความร่วมมือของผู้ประกอบการ และชุมชน เป็นต้น การขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาของทุกภาคส่วน ตามมาตรการต่าง ๆ มีความก้าวหน้าเป็นลำดับเช่น เช่น การจัดหาน้ำต้นทุน ภายใต้โครงการน้ำดีไล่น้ำเสีย ด้วยการนำน้ำดีจากคลองส่งน้ำแม่แตง การขุดลอกลำห้วย การปรับปรุงระบบ ส่งน้ำ และการปรับปรุงแก้มลิง การแก้ไขการบุกรุกที่ดิน การปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสีย การบังคับใช้กฎหมาย การสร้างจิตสำนึกชุมชน จิตอาสา และการปรับปรุงภูมิทัศน์ ปลูกต้นไม้ เป็นต้น ด้าน รองศาสตราจารย์ชูโชค อายุพงศ์ กล่าวว่า การพัฒนาคลองแม่ข่า ได้ขับเคลื่อนภายใต้วิสัยทัศน์ “ คลองสวย น้ำใส ไหลดี ชุมชนมีสุข” มีความก้าวหน้ากว่าร้อยละ 60 “น้ำเสีย” เป็นประเด็นสำคัญที่ต้อง ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาฯ ขอให้กระทรวงมหาดไทยช่วยเร่งรัดการทำงานใน 3 เรื่อง ได้แก่ (1) กรมโยธาธิการและผังเมือง : การดำเนินงานก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วม ระบบการระบายน้ำ ระยะที่ 2 ที่อยู่ระหว่างดำเนินการให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลา (2) องค์การจัดการน้ำเสีย : การสำรวจ ออกแบบ ระบบบำบัดน้ำเสียรวมของจังหวัดเชียงใหม่ และความพร้อมในทุกด้าน เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณในแหล่งต่าง ๆ และ (3) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น : การปรับปรุงสภาพแวดล้อม ภูมิทัศน์ ตลอดจนการดูแลรักษา ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยว ดังเช่นการพัฒนาคลองโอ่งอ่างที่กรุงเทพมหานคร เป็นต้น นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เน้นย้ำว่า ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ได้นำข้อสั่งการของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้เน้นย้ำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกข้อบัญญัติในการพิจารณาออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารบ้านเรือน

อ่านรายละเอียด

อจน. ร่วมพิธีบำเพ็ญกุศลและน้อมรำลึกเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ประจำปี 2564

อจน. ร่วมพิธีบำเพ็ญกุศลและน้อมรำลึกเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ประจำปี 2564 วันที่ 13 ตุลาคม 2564 นายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย พร้อมด้วยผู้บริหาร อจน. ร่วมพิธีวางพวงมาลา และถวายบังคมเบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ประจำปี 2564 ณ สำนักงานองค์การจัดการน้ำเสีย อาคารเล้าเป้งง้วน1 ชั้น 23

อ่านรายละเอียด

นายนิพนธ์ บุญญามณี (มท.2) เปิดเกิจกรรม ”วิถีใหม่ประหยัดน้ำกับ กปน.” เพิ่มช่องทางเลือกให้ประชาชนซื้อสินค้า-อุปกรณ์ประหยัดน้ำ ที่มีสลาก กปน.รับรองช่วยประหยัดจริง ได้หลายต่อ ทั้งได้สินค้าดีมีคุณภาพ ช่วยเซฟประหยัดน้ำ รักษ์ทรัพยากรน้ำยั่งยืน

นายนิพนธ์ บุญญามณี เปิดเกิจกรรม ”วิถีใหม่ประหยัดน้ำกับ กปน.” เพิ่มช่องทางเลือกให้ประชาชนซื้อสินค้า-อุปกรณ์ประหยัดน้ำ ที่มีสลาก กปน.รับรองช่วยประหยัดจริง ได้หลายต่อ ทั้งได้สินค้าดีมีคุณภาพ ช่วยเซฟประหยัดน้ำ รักษ์ทรัพยากรน้ำยั่งยืน เมื่อเวลา 15.00 น. วันที่ 6 กันยายน 2564 ที่การประปานครหลวง (กปน.) สานักงานใหญ่ นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมออนไลน์ “วิถีใหม่แห่งการประหยัดน้ำกับฉลากประหยัดน้ำของการประปานครหลวง” โดยมี นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ ประธานกรรมการ กปน. นายนิทัศน์ มณีศิลาสันต์ กรรมการ กปน. นายวีรวัฒน์ ยมจินดา กรรมการ กปน. และ นายกวี อารีกุล ผู้ว่าการ กปน. เข้าร่วม นายนิพนธ์ กล่าวว่า การประปานครหลวง (กปน.) เป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงมหาดไทย มีภารกิจหลักในการผลิตน้ำประปาให้สะอาด ปลอดภัย ตามมาตรฐานองค์การอนามัยโลก (WHO) ให้บริการประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) นนทบุรี และ สมุทรปราการ เพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีให้พี่น้องประชาชนได้รับบริการน้ำประปา สะอาด ปลอดภัย อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม นอกจากภารกิจหลักแล้ว กปน. ยังให้ความสำคัญกับการดูแลรักษาทรัพยากรน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัดโดยการจัดกิจกรรมส่งเสริมการใช้อุปกรณ์ประหยัดน้ำที่ได้รับการ รับรองฉลากประหยัดน้ำของ กปน.อย่างต่อเนื่อง “ในปีนี้ได้จัดกิจกรรมออนไลน์ ‘วิถีใหม่แห่ง การประหยัดน้ากับฉลากประหยัดน้ำของการประปานครหลวง’ จัดขึ้นเพื่อที่จะเป็นทางเลือกให้ประชาชน เลือกซื้อผลิตภัณฑ์และอุปกรณ์ประหยัดน้ําที่ได้รับการรับรองมาตรฐานฉลากประหยัดน้ําของ การประปานครหลวง ซึ่งจะช่วยควบคุมการใช้น้ําในปริมาณที่เหมาะสม ลดการสูญเสียน้ํา โดยไม่จําเป็น ช่วยลดอัตราการใช้น้ํา เฉลี่ย/คน/วัน (Per Capita) เพื่อให้ประชาชนทุกคนมีน้ําใช้อย่างเพียงพอ จึงขอเชิญชวนให้พี่น้องประชาชนหันมาเลือกใช้อุปกรณ์ผลิตภัณฑ์ ประหยัดน้ําที่ได้รับการรับรองฉลากประหยัดน้ําของการประปานครหลวง และขอเชิญชวนผู้ประกอบการและผู้จัดจําหน่ายทั่วประเทศเข้าร่วมโครงการ ร่วมกันสร้างสรรค์และจัดจําหน่ายผลิตภัณฑ์ประหยัดน้ําตามมาตรฐานกําหนด โดยปัจจุบัน มีผลิตภัณฑ์ประหยัดน้ําที่ได้รับการรับรอง 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทก๊อกอ่างล้างหน้า-ล้างมือประหยัดน้ํา แบ่งประสิทธิภาพการประหยัดน้ํา ตั้งแต่ระดับ 3-5 โดย เบอร์ 5 (ระดับดีเยี่ยม) เบอร์ 4 (ระดับดีมาก) และเบอร์ 3 (ระดับดี) และประเภทฝักบัวประหยัดน้ํา ซึ่งก๊อกและฝักบัวประหยัดน้ําที่มีฉลากประหยัดน้ําของการประปานครหลวง จะลดการใช้น้ําเหลือเพียง 1 ใน 3 จากการใช้ก๊อกน้ําทั่วไป โดยฉลากจะแสดงประสิทธิภาพอุปกรณ์ประหยัดน้ํา จะทําให้ประชาชนทราบถึงปริมาณการใช้น้ําและหันมาใช้อุปกรณ์ประหยัดน้ํา และร่วมกันรักษาทรัพยากรน้ําอย่างยั่งยืนตลอดไป” นายนิพนธ์กล่าว

อ่านรายละเอียด

องค์การจัดการน้ำเสีย ได้รับผลการประเมิน 96.39 คะแนน อยู่ในระดับ AA สูงกว่าปีที่ผ่านมา

เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2564 สำนักงาน ป.ป.ช. ได้จัดงานแถลงผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ภายใต้ชื่องาน “ITA DAY 2021: More Open, More Transparent” โดยมีหน่วยงานภาครัฐร่วมประเมินทั้งหมด 8,300 หน่วยงาน ภายใต้การประเมิน 10 ด้าน องค์การจัดการน้ำเสีย ได้รับผลการประเมิน 96.39 คะแนน อยู่ในระดับ AA สูงกว่าปีที่ผ่านมา อยู่ในลำดับที่ 13 จากรัฐวิสาหกิจที่เข้ารับการประเมินจำนวน 51 แห่ง นับเป็นจุดเริ่มต้นอีกครั้งหนึ่งขององค์การจัดการน้ำเสียในการนำผลการประเมิน ITA ที่ได้ไปใช้ในการวางแผนปรับปรุงพัฒนาองค์กรในปีงบประมาณถัดไปให้สมบูรณ์ครบถ้วนในทุกมิติ ทั้งในแง่การเปลี่ยนแปลงพัฒนาให้องค์กรมีความโปร่งใสตามกรอบการประเมิน ITA และในแง่การพัฒนาคุณธรรมการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล ทั้งนี้ ก็เพื่อให้การปฏิบัติงานและการให้บริการสาธารณะเป็นไปเพื่อประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย  

อ่านรายละเอียด

องค์การจัดการน้ำเสียมอบเงิน 1 แสน หนุนโครงการ “COVID HOME CARE” ช่วยผู้ป่วยโควิดรักษาตัวที่บ้าน

องค์การจัดการน้ำเสีย โดยนายวิรัตน์ ภมรานนท์ รองผู้อำนวยการปฏิบัติการ เป็นผู้แทนมอบเงินสนับสนุนจำนวน 100,000 บาท ให้กับสมาคมสมาพันธ์สถานประกอบการเพื่อสุขภาพและผู้สูงอายุ (HEC) ร่วมกับเครือข่ายเราดูแลกัน (We Care Network) จัดทำโครงการ “COVID HOME CARE” เพื่อช่วยเหลือกลุ่มผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีเขียวที่พักรักษาตัวอยู่ที่บ้าน

อ่านรายละเอียด

นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) นำ “องค์การจัดการน้ำเสีย” จับมือ “อีสท์วอเตอร์” MOU ร่วมบริหารจัดการน้ำรองรับพื้นที่ EEC

วันที่ 21 มิถุนายน 2564 ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ ลาดพร้าว กรุงเทพฯ นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ(MOU) การบริหารจัดการน้ำเสียในภาคตะวันออกระหว่าง องค์การจัดการน้ำเสีย(อจน.) กับ บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) หรือ อีสท์วอเตอร์ โดยมี นายพรพจน์ เพ็ญพาส ประธานกรรมการอจน. นายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการ อจน. นายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด(มหาชน) หรือ อีสท์วอเตอร์ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกัน นายนิพนธ์ กล่าวว่า จากสถานการณ์ในปัจจุบันพื้นที่ภาคตะวันออกของประเทศไทยโดยเฉพาะ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) มีความจำเป็นต้องขับเคลื่อนมาตรการในการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพเพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคม รัฐบาลมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันออก (EEC) ที่คลอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง เป็นพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญเพื่อยกระดับการพัฒนาประเทศ ส่งเสริมอุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อเป็นการยกระดับอุตสาหกรรม เป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งโลจิสติกส์ และเน้นการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัย ส่งเสริมการลงทุนและการท่องเที่ยว เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและทำให้เศรษฐกิจของไทยเติบโตได้ในระยะยาว และเป็นเขตเศรษฐกิจชั้นนำของอาเซียนเชื่อมโยงการพัฒนาภายในประเทศ และประเทศเพื่อนบ้าน องค์การจัดการน้ำเสีย(อจน.) และบริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) ได้กำหนดความร่วมมือดำเนินงานศึกษาแนวทางการบริหารจัดการน้ำเสียและการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่ความร่วมมือ ยกระดับคุณภาพการให้บริการของทั้งสองหน่วยงาน ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างความยั่งยืนของการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญ “องค์การจัดการน้ำเสีย (อจน.) และ บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) หรือ อีสท์วอเตอร์ จึงร่วมกันขับเคลื่อนภารกิจให้สำเร็จบรรลุเป้าหมายตามนโยบายของรัฐบาล กระทรวงมหาดไทย เพื่อบำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้กับพี่น้องประชาชน การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้จึงเป็นแนวทางในการนำน้ำที่ผ่านการบำบัดกลับมาใช้ประโยชน์ และยังเป็นการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ สำหรับกิจกรรมประเภทต่างๆในเขตพื้นที่ EEC และจะเป็นประโยชน์สำหรับประชาชนในพื้นที่ที่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำใช้ต่อไป” นายนิพนธ์ กล่าว

อ่านรายละเอียด