วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2568 เวลา 13.30 – 14.20 น. คณะนักเรียน และครู จากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยตรัง จังหวัดตรัง เข้าเยี่ยมชม จำนวน 154 คน โดยแบ่งการเข้าเยี่ยมชมเป็น 2 รอบ รอบละ 77 คน ณ พื้นที่ศูนย์บริหารจัดการคุณภาพน้ำ เเละศูนย์การเรียนรู้อุทยานสิ่งแวดล้อมนานา ชาติสิรินธร จังหวัดเพชรบุรี
วันที่ 1 เมษายน 2564 พลเอกอนุพงศ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธีวางพุ่มดอกไม้ถวายสักการะพระอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เนื่องในวันที่ระลึกวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงมหาดไทย ประจำปี 2564 (ครบรอบ 129 ปี ) พร้อมทั้งกล่าวคำถวายสดุดี ที่บริเวณด้านหน้าศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย เนื่องในวันที่ระลึกคล้ายวันสถาปนากระทรวงมหาดไทยและน้อมระลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีพระบรมราชโองการจัดตั้งกระทรวงมหาดไทยขึ้น เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2435 และทรงมอบหมายให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นองค์ปฐมเสนาบดี กระทรวงมหาดไทย ซึ่งพระองค์ทรงวางรากฐานให้กระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยงานที่มุ่งเน้นการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข แก่ประชาชน ในการนี้ นายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย นำคณะผู้บริหารและพนักงานองค์การจัดการน้ำเสียเข้าร่วมในพิธีดังกล่าวด้วย
นิพนธ์ รณรงค์แคมเปญ “ประหยัดน้ำ สู้วิกฤตภัยแล้ง” ปลุกพลังคนไทย ร่วมมือร่วมใจสร้างจิตสำนึกสังคมไทยใช้ทรัพยากรน้ำอย่างรู้คุณค่าและประหยัด เพื่อลูกหลานไทยมีน้ำใช้อย่างยั่งยืน เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2564 ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา เวสต์เกต จ.นนทบุรี นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานเปิดกิจกรรมรณรงค์ “ประหยัดน้ำ สู้วิกฤตภัยแล้ง” ปลุกพลังคนไทย ร่วมมือร่วมใจฝ่าวิกฤต เพื่อปลุกจิตสำนึก กระตุ้นให้ประชาชนร่วมใจกันใช้น้ำอย่างประหยัดเพื่อผ่านวิกฤตภัยแล้งนี้ไปด้วยกัน โดยมี นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ ประธานกรรมการ กปน. นายกวี อารีกุล ผู้ว่าการ กปน. คณะผู้บริหารจากกปน. ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี เข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์ฯ นายนิพนธ์ กล่าวว่า “สถานการณ์ภัยแล้งในปีนี้ประเทศไทยต้องเผชิญกับภาวะภัยแล้งอย่างรุนแรง จากสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปปริมาณน้ำดิบในการผลิตน้ำประปามีน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการ ประกอบกับสถานการณ์น้ำทะเลหนุนสูงในแม่น้ำเจ้าพระยาส่งผลให้น้ำประปาในบางช่วงเวลา ในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา มีรสชาติเปลี่ยนแปลงไป การประปานครหลวงมีมาตรการรองรับสถานการณ์ภัยแล้ง มีกระบวนการ และขั้นตอนการทำงานในช่วงน้ำทะเลหนุนสูงทำให้น้ำประปาที่ผลิตได้ยังคงคุณภาพมาตรฐานองค์การอนามัยโลก(WHO) เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ มีน้ำใช้สำหรับการอุปโภคบริโภค อย่างเพียงพอตลอดฤดูแล้งนี้” “ จึงชวนประชาชนทุกภาคส่วนในกรุงเทพฯ นนทบุรี และสมุทรปราการ ร่วมกันใช้น้ำประปาอย่างรู้คุณค่าทั้งในช่วงปกติและช่วงวิกฤตภัยแล้ง ไม่ปล่อยน้ำไหลทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ สงวนต้นทุนน้ำของประเทศ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ประเทศไทยต้องเผชิญกับภาวะภัยแล้ง จนนำไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้น้ำอย่างรู้คุณค่าให้คนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจกับการประหยัดน้ำมากยิ่งขึ้น ผมเชื่อว่าความพยายามของพวกเราที่พร้อมจะปลุกพลังร่วมมือร่วมใจใช้น้ำอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ จะทำให้เราผ่านพ้นวิกฤตภัยแล้งไปได้ ส่งผลให้ภาพรวมของประเทศมีน้ำใช้อย่างเพียงพอเพื่อให้ลูกหลานของเราได้มีน้ำประปาสะอาด ปลอดภัยใช้อย่างยั่งยืนตลอดไป” นายนิพนธ์กล่าว
นิพนธ์ เผยข้อมูลความเสียหายจากพายุฤดูร้อนสัปดาห์ที่ผ่านมา เน้นย้ำ เร่งเบิกจ่ายเงินเยียวยาฯ กำชับทุกพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง แม้ปัจจุบันคลี่คลายแล้ว เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2564 นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า จากสถานการณ์บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ตั้งแต่วันที่ 20 มี.ค.ที่ผ่านมาจนถึงวันนี้ ยังคงทําให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองลมกระโชกแรงอละมีลูกเห็บตกในพื้นที่ 32 จังหวัดซึ่งส่วยใหญ่เป็นจังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย จ.แม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ ลําปาง พะเยา น่าน ตาก อุตรดิตถ์พิษณุโลก เพชรบูรณ์ พิจิตร บึงกาฬ หนองคาย หนองบัวลําภู อุดรธานี เลย ชัยภูมิสกลนคร ขอนแก่น กาฬสินธุ์ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ยโสธร มุกดาหาร นครราชสีมาอุบลราชธานี สุรินทร์ ศรีสะเกษ นครพนม จันทบุรีสมุทรสาคร และ จ.ราชบุรี พื้นที่ได้รับผลกระทบจำนวน 140 อำเภอ 275 ตำบล 642 หมู่บ้าน 2 เขตเทศบาล บ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหายจำนวน 2,610 หลัง นอกจากนี้มีรายงานผู้เสียชีวิต 4 ราย ได้แก่ จ.นครราชสีมาชาย 1 ราย สาเหตุต้นไม้ล้มทับขณะขี่รถจักรยานยนต์ จ.หนองคาย 2 ราย ชาย 1 ราย หญิง 1 ราย สาเหตุเรือล่ม จ.ลําปาง ชาย 1 ราย สาเหตุแผ่นโครงเหล็กผนังอาคารล้มทับบริเวณปั๊มมัน โดยสถานการณ์ปัจจุบันได้คลี่คลายแล้วในทุกจังหวัดนั้น นายนิพนธ์ กล่าวว่า “แม้สถานการณ์ในพื้นที่ต่างๆที่ได้รับผลกระทบจากพายุฤดูร้อน รวมทั้งผลกระทบจากการเกิดลมกรรโชกแรง จะได้คลี่คลายไปแล้ว แต่เจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องยังคงต้องทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อเร่งเบิกจ่ายเงินเยียวยาตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2562 และหลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2563 ซึ่งเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญนอกจากการเร่งเข้าไปช่วยเหลือขณะเกิดภัยแล้ว การฟื้นฟูสภาพบ้านเรือนพี่น้องประชาชนและสถานการณ์โดยรวมในพื้นที่ให้กลับสู่สภาวะปกตินั้นก็เป็นสิ่งจำเป็นเช่นเดียวกัน ซึ่งในส่วนนี้ก็ได้เน้นย้ำให้ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ และปภ.ให้เร่งสรุปข้อมูลและจัดประชุมในการอนุมัติงบประมาณตามระเบียบฯที่ผู้ว่าฯ มีอำนาจเบิกจ่ายให้การช่วยเหลือให้ได้โดยเร็วที่สุด นอกจากนี้ในส่วนการติดตามสถานการณ์พายุฤดูร้อนก็ยังต้องมีการแจ้งเตือนพี่น้องประชาชนอยู่อย่างต่อเนื่องเพราะสภาพอากาศที่ร้อนจัดสลับลมแรงยังคงเกิดขึ้นทุกพื้นที่ไปจนถึงเดือนพฤษภาคม ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดสถานการณ์พายุ ลมกรรโชกแรงขึ้นอีก ทั้งนี้ รัฐบาลโดยท่านพล.อ.ประยุทธ์ นายกรัฐมนตรี และท่านพล.อ.อนุพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และคณะรัฐมนตรีทุกคน ไม่อยากให้เกิดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ดังนั้นการเตรียมการต่างๆเพื่อป้องกันสถานการณ์ภัยจำเป็นต้องดีและพร้อมที่สุด”
นิพนธ์ฯ กำชับ องค์การจัดการน้ำเสีย เร่งจับมือ ท้องถิ่น แก้น้ำเสีย 7 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวันเพื่อรักษาสมดุลน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค พร้อมประสานทุกความร่วมมือ ดำเนินแนวทาง”น้ำเสีย อยู่คู่ชุมชนได้” เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 25 มีนาคม 2564 ที่องค์การจัดการน้ำเสีย (อจน.) สำนักงานใหญ่ กรุงเทพฯ นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมคณะได้เดินทางมาตรวจเยี่ยม เพื่อมอบนโยบายการดำเนินงานขององค์การจัดการน้ำเสีย โดยมี นายพรพจน์ เพ็ญพาส ประธานกรรมการ อจน.พร้อมด้วยคณะกรรมการ นายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการ อจน.ให้การต้อนรับ นายนิพนธ์ กล่าวว่า “ปัญหาน้ำเสียเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทยและต้องดำเนินการให้เป็นกิจจะลักษณะเป็นปัญหามลพิษทางน้ำที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย และคุณภาพชีวิตของประชาชน รวมถึงคุณภาพสิ่งแวดล้อมของประเทศ ที่ผ่านมารัฐบาลมีความตั้งใจในการแก้ปัญหาน้ำเสียอย่างจริงจัง คณะรัฐมนตรี (ครม.) จึงมีมติเห็นชอบกำหนดเขตพื้นที่จัดการน้ำเสียขององค์การจัดการน้ำเสียให้ครอบคลุมทุกจังหวัดของประเทศไทย เพื่อเร่งรัดการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำเสียของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบูรณาการดำเนินงานร่วมกันระหว่างองค์การจัดการน้ำเสียและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) นายนิพนธ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ได้เน้นย้ำให้องค์การจัดการน้ำเสีย(อจน.)เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชน รวมถึงการสร้างความตระหนักในการช่วยกันลดความสกปรกของน้ำเสียจากแหล่งกำเนิด การมีส่วนร่วมกันรักษาสิ่งแวดล้อมของชุมชน สร้างความรู้ความเข้าใจให้ประชาชนว่าต้องช่วยกันแก้ไขปัญหาน้ำเสียด้วยกันถึงจะประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาน้ำเสีย พร้อมบูรณาการความร่วมมือหน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทย โดยมุ่งเน้นการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านต่างๆ อย่างจริงจังและเป็นรูปธรรมโดยเร็ว เช่น องค์การจัดการน้ำเสีย ในฐานะหน่วยงานในการบริหารจัดการน้ำเสีย การประปาส่วนภูมิภาค และการประปานครหลวง ในฐานะหน่วยงานที่ผลิตน้ำประปา บูรณาการความร่วมมือระหว่างกันในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการคุณภาพน้ำอย่างเป็นระบบมีประสิทธิภาพเน้นการดำเนินงานตามกรอบแนวทางการกำกับกิจการที่ดีและตามมาตรฐานสากล ดำเนินงานอย่างโปร่งใส สร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน และอีกประการหนึ่งที่สำคัญคือต้องเข้าไปประสานงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆที่มีความพร้อมดำเนินการเพื่อจัดการแก้ไขปัญหาน้ำเสียที่มีมากถึง 7 ล้านลบ.ม.ต่อวัน โดยน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วสามารถนำมาเป็นนำกลับมาใช้ได้อย่างมีคุณภาพและปลอดภัย ดังนั้น จึงถือว่าแนวทางดังกล่าวเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการเพื่อให้การใช้ทรัพยากรน้ำเกิดความคุ้มค่าสูงสุด” นอกจากนี้ เรื่องบุคลากรถือเป็นกลไกหลักในการสนับสนุนภารกิจขององค์กร ควรมีการเพิ่มศักยภาพความรู้ความสามารถของบุคลากรในองค์กรให้มีทักษะที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กับหน่วยงานภายในประเทศและต่างประเทศ พัฒนาเทคโนโลยีในการบำบัดน้ำเสียให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์ ประชาชนในชุมชนสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม เพื่อสร้างทัศนคติที่ดีต้องทำให้เห็นว่าน้ำเสียสามารถอยู่คู่กับชุมชนได้อย่างเป็นระบบ มุ่งเน้นความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมประยุกต์ใช้พื้นที่ของระบบบำบัดน้ำเสียให้เป็นสถานที่ที่ประชาชน โดยใช้โรงงานน้ำเสียที่บำบัดอยู่ใต้ดิน ส่วนข้างบนเป็นสวนสาธารณะ หรือสนามฟุตบอลตามที่ท้องถิ่นต้องการให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ รวมทั้งมีการนำน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วกลับมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสมต่อไป
เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 24 มีนาคม 2564 ที่การประปานครหลวง (กปน.) สำนักงานใหญ่ นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือ(MOU) การบูรณาการบริหารจัดการน้ำประปาและน้ำเสียอย่างยั่งยืน ระหว่างการประปานครหลวง(กปน.)และ องค์การจัดการน้ำเสีย(อจน.) โดยมีนายนิสิต จันทร์สมวงศ์ ประธานกรรมการ กปน. นายพรพจน์ เพ็ญพาส ประธานกรรมการ อจน. นายกวี อารีกุล ผู้ว่าการ กปน. และนายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการ อจน. เป็นผู้ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือ โดยมีคณะผู้บริหารจาก กปน. และ อจน. ร่วมในพิธี นายนิพนธ์ กล่าวตอนหนึ่งว่า “กระทรวงมหาดไทยให้ความสำคัญในการสร้างรากฐานและพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน ได้กำกับดูแล มอบนโยบายให้ กปน. และ อจน. ที่เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงมหาดไทยให้บูรณาการร่วมกัน โดยเฉพาะการบริหารจัดการทั้งน้ำดีและน้ำเสียอย่างเป็นระบบ ตลอดจนการให้ความรู้ในด้านการจัดการน้ำเสียให้กับชุมชน และสังคมเพื่อให้สอดคล้องกับการใช้ทรัพยากรน้ำและความร่วมมือระหว่างกันที่มุ่งเน้นเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และลดการลงทุนที่ซ้ำซ้อนโดยรัฐบาลให้ความสำคัญกับกลไกการบริหารจัดการน้ำเสียของประเทศให้มีระบบ และมีเอกภาพยิ่งขึ้น รวมถึงการลดปริมาณน้ำเสีย และการปรับปรุงคุณภาพน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วให้สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีก” “ การลงนามครั้งนี้จึงเป็นการร่วมบูรณาการงานของทั้ง 2 หน่วยงาน คือ กปน. และ อจน. เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทั้งระบบอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะการให้บริการน้ำประปาให้ครอบคลุมพื้นที่รับผิดชอบ และการจัดการน้ำเสียอย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้กรอบความร่วมมือ 3 ด้าน คือ ความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) การพัฒนาองค์ความรู้และทักษะความชำนาญด้านวิชาการ ด้านเทคโนโลยี หรืออื่น ๆ ตามความเหมาะสม และระบบประเมินผล คุณภาพรัฐวิสาหกิจ (SE-AM) เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและการให้บริการที่เป็นเลิศแก่ประชาชน ควบคู่ไปกับการดูแลสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม นำไปสู่การพัฒนาตอบสนองความต้องการและเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มอย่างยั่งยืน” นายนิพนธ์ กล่าว
นิพนธ์ ร่วม คณะรัฐมนตรี ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อเวลา 08.30 น.วันนี้ (16 มี.ค. 2564) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วยคณะรัฐมนตรี นำโดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เข้ารับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโควิด-19 “แอสตราเซเนกา” ตามขั้นตอนของกระทรวงสาธารณสุข โดยเป็นไปตามความสมัครใจและอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของคณะแพทย์และพยาบาล จากกระทรวงสาธารณสุขอย่างใกล้ชิด นายนิพนธ์ เปิดเผยด้วยว่า หลังจากการรับวัคซีนไปแล้ว 8 ชม. อาการทั่วไปยังเป็นปกติ และมั่นใจได้ว่าไม่มีผลข้างเคียงจากการรับวัคซีนแต่อย่างใด
วันที่ 1 เมษายน 2564 พลเอกอนุพงศ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธีวางพุ่มดอกไม้ถวายสักการะพระอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เนื่องในวันที่ระลึกวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงมหาดไทย ประจำปี 2564 (ครบรอบ 129 ปี ) พร้อมทั้งกล่าวคำถวายสดุดี ที่บริเวณด้านหน้าศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย เนื่องในวันที่ระลึกคล้ายวันสถาปนากระทรวงมหาดไทยและน้อมระลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีพระบรมราชโองการจัดตั้งกระทรวงมหาดไทยขึ้น เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2435 และทรงมอบหมายให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นองค์ปฐมเสนาบดี กระทรวงมหาดไทย ซึ่งพระองค์ทรงวางรากฐานให้กระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยงานที่มุ่งเน้นการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข แก่ประชาชน ในการนี้ นายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย นำคณะผู้บริหารและพนักงานองค์การจัดการน้ำเสียเข้าร่วมในพิธีดังกล่าวด้วย
นิพนธ์ รณรงค์แคมเปญ “ประหยัดน้ำ สู้วิกฤตภัยแล้ง” ปลุกพลังคนไทย ร่วมมือร่วมใจสร้างจิตสำนึกสังคมไทยใช้ทรัพยากรน้ำอย่างรู้คุณค่าและประหยัด เพื่อลูกหลานไทยมีน้ำใช้อย่างยั่งยืน เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2564 ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา เวสต์เกต จ.นนทบุรี นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานเปิดกิจกรรมรณรงค์ “ประหยัดน้ำ สู้วิกฤตภัยแล้ง” ปลุกพลังคนไทย ร่วมมือร่วมใจฝ่าวิกฤต เพื่อปลุกจิตสำนึก กระตุ้นให้ประชาชนร่วมใจกันใช้น้ำอย่างประหยัดเพื่อผ่านวิกฤตภัยแล้งนี้ไปด้วยกัน โดยมี นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ ประธานกรรมการ กปน. นายกวี อารีกุล ผู้ว่าการ กปน. คณะผู้บริหารจากกปน. ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี เข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์ฯ นายนิพนธ์ กล่าวว่า “สถานการณ์ภัยแล้งในปีนี้ประเทศไทยต้องเผชิญกับภาวะภัยแล้งอย่างรุนแรง จากสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปปริมาณน้ำดิบในการผลิตน้ำประปามีน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการ ประกอบกับสถานการณ์น้ำทะเลหนุนสูงในแม่น้ำเจ้าพระยาส่งผลให้น้ำประปาในบางช่วงเวลา ในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา มีรสชาติเปลี่ยนแปลงไป การประปานครหลวงมีมาตรการรองรับสถานการณ์ภัยแล้ง มีกระบวนการ และขั้นตอนการทำงานในช่วงน้ำทะเลหนุนสูงทำให้น้ำประปาที่ผลิตได้ยังคงคุณภาพมาตรฐานองค์การอนามัยโลก(WHO) เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ มีน้ำใช้สำหรับการอุปโภคบริโภค อย่างเพียงพอตลอดฤดูแล้งนี้” “ จึงชวนประชาชนทุกภาคส่วนในกรุงเทพฯ นนทบุรี และสมุทรปราการ ร่วมกันใช้น้ำประปาอย่างรู้คุณค่าทั้งในช่วงปกติและช่วงวิกฤตภัยแล้ง ไม่ปล่อยน้ำไหลทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ สงวนต้นทุนน้ำของประเทศ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ประเทศไทยต้องเผชิญกับภาวะภัยแล้ง จนนำไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้น้ำอย่างรู้คุณค่าให้คนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจกับการประหยัดน้ำมากยิ่งขึ้น ผมเชื่อว่าความพยายามของพวกเราที่พร้อมจะปลุกพลังร่วมมือร่วมใจใช้น้ำอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ จะทำให้เราผ่านพ้นวิกฤตภัยแล้งไปได้ ส่งผลให้ภาพรวมของประเทศมีน้ำใช้อย่างเพียงพอเพื่อให้ลูกหลานของเราได้มีน้ำประปาสะอาด ปลอดภัยใช้อย่างยั่งยืนตลอดไป” นายนิพนธ์กล่าว
นิพนธ์ เผยข้อมูลความเสียหายจากพายุฤดูร้อนสัปดาห์ที่ผ่านมา เน้นย้ำ เร่งเบิกจ่ายเงินเยียวยาฯ กำชับทุกพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง แม้ปัจจุบันคลี่คลายแล้ว เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2564 นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า จากสถานการณ์บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ตั้งแต่วันที่ 20 มี.ค.ที่ผ่านมาจนถึงวันนี้ ยังคงทําให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองลมกระโชกแรงอละมีลูกเห็บตกในพื้นที่ 32 จังหวัดซึ่งส่วยใหญ่เป็นจังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย จ.แม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ ลําปาง พะเยา น่าน ตาก อุตรดิตถ์พิษณุโลก เพชรบูรณ์ พิจิตร บึงกาฬ หนองคาย หนองบัวลําภู อุดรธานี เลย ชัยภูมิสกลนคร ขอนแก่น กาฬสินธุ์ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ยโสธร มุกดาหาร นครราชสีมาอุบลราชธานี สุรินทร์ ศรีสะเกษ นครพนม จันทบุรีสมุทรสาคร และ จ.ราชบุรี พื้นที่ได้รับผลกระทบจำนวน 140 อำเภอ 275 ตำบล 642 หมู่บ้าน 2 เขตเทศบาล บ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหายจำนวน 2,610 หลัง นอกจากนี้มีรายงานผู้เสียชีวิต 4 ราย ได้แก่ จ.นครราชสีมาชาย 1 ราย สาเหตุต้นไม้ล้มทับขณะขี่รถจักรยานยนต์ จ.หนองคาย 2 ราย ชาย 1 ราย หญิง 1 ราย สาเหตุเรือล่ม จ.ลําปาง ชาย 1 ราย สาเหตุแผ่นโครงเหล็กผนังอาคารล้มทับบริเวณปั๊มมัน โดยสถานการณ์ปัจจุบันได้คลี่คลายแล้วในทุกจังหวัดนั้น นายนิพนธ์ กล่าวว่า “แม้สถานการณ์ในพื้นที่ต่างๆที่ได้รับผลกระทบจากพายุฤดูร้อน รวมทั้งผลกระทบจากการเกิดลมกรรโชกแรง จะได้คลี่คลายไปแล้ว แต่เจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องยังคงต้องทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อเร่งเบิกจ่ายเงินเยียวยาตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2562 และหลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2563 ซึ่งเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญนอกจากการเร่งเข้าไปช่วยเหลือขณะเกิดภัยแล้ว การฟื้นฟูสภาพบ้านเรือนพี่น้องประชาชนและสถานการณ์โดยรวมในพื้นที่ให้กลับสู่สภาวะปกตินั้นก็เป็นสิ่งจำเป็นเช่นเดียวกัน ซึ่งในส่วนนี้ก็ได้เน้นย้ำให้ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ และปภ.ให้เร่งสรุปข้อมูลและจัดประชุมในการอนุมัติงบประมาณตามระเบียบฯที่ผู้ว่าฯ มีอำนาจเบิกจ่ายให้การช่วยเหลือให้ได้โดยเร็วที่สุด นอกจากนี้ในส่วนการติดตามสถานการณ์พายุฤดูร้อนก็ยังต้องมีการแจ้งเตือนพี่น้องประชาชนอยู่อย่างต่อเนื่องเพราะสภาพอากาศที่ร้อนจัดสลับลมแรงยังคงเกิดขึ้นทุกพื้นที่ไปจนถึงเดือนพฤษภาคม ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดสถานการณ์พายุ ลมกรรโชกแรงขึ้นอีก ทั้งนี้ รัฐบาลโดยท่านพล.อ.ประยุทธ์ นายกรัฐมนตรี และท่านพล.อ.อนุพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และคณะรัฐมนตรีทุกคน ไม่อยากให้เกิดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ดังนั้นการเตรียมการต่างๆเพื่อป้องกันสถานการณ์ภัยจำเป็นต้องดีและพร้อมที่สุด”
นิพนธ์ฯ กำชับ องค์การจัดการน้ำเสีย เร่งจับมือ ท้องถิ่น แก้น้ำเสีย 7 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวันเพื่อรักษาสมดุลน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค พร้อมประสานทุกความร่วมมือ ดำเนินแนวทาง”น้ำเสีย อยู่คู่ชุมชนได้” เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 25 มีนาคม 2564 ที่องค์การจัดการน้ำเสีย (อจน.) สำนักงานใหญ่ กรุงเทพฯ นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมคณะได้เดินทางมาตรวจเยี่ยม เพื่อมอบนโยบายการดำเนินงานขององค์การจัดการน้ำเสีย โดยมี นายพรพจน์ เพ็ญพาส ประธานกรรมการ อจน.พร้อมด้วยคณะกรรมการ นายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการ อจน.ให้การต้อนรับ นายนิพนธ์ กล่าวว่า “ปัญหาน้ำเสียเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทยและต้องดำเนินการให้เป็นกิจจะลักษณะเป็นปัญหามลพิษทางน้ำที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย และคุณภาพชีวิตของประชาชน รวมถึงคุณภาพสิ่งแวดล้อมของประเทศ ที่ผ่านมารัฐบาลมีความตั้งใจในการแก้ปัญหาน้ำเสียอย่างจริงจัง คณะรัฐมนตรี (ครม.) จึงมีมติเห็นชอบกำหนดเขตพื้นที่จัดการน้ำเสียขององค์การจัดการน้ำเสียให้ครอบคลุมทุกจังหวัดของประเทศไทย เพื่อเร่งรัดการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำเสียของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบูรณาการดำเนินงานร่วมกันระหว่างองค์การจัดการน้ำเสียและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) นายนิพนธ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ได้เน้นย้ำให้องค์การจัดการน้ำเสีย(อจน.)เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชน รวมถึงการสร้างความตระหนักในการช่วยกันลดความสกปรกของน้ำเสียจากแหล่งกำเนิด การมีส่วนร่วมกันรักษาสิ่งแวดล้อมของชุมชน สร้างความรู้ความเข้าใจให้ประชาชนว่าต้องช่วยกันแก้ไขปัญหาน้ำเสียด้วยกันถึงจะประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาน้ำเสีย พร้อมบูรณาการความร่วมมือหน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทย โดยมุ่งเน้นการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านต่างๆ อย่างจริงจังและเป็นรูปธรรมโดยเร็ว เช่น องค์การจัดการน้ำเสีย ในฐานะหน่วยงานในการบริหารจัดการน้ำเสีย การประปาส่วนภูมิภาค และการประปานครหลวง ในฐานะหน่วยงานที่ผลิตน้ำประปา บูรณาการความร่วมมือระหว่างกันในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการคุณภาพน้ำอย่างเป็นระบบมีประสิทธิภาพเน้นการดำเนินงานตามกรอบแนวทางการกำกับกิจการที่ดีและตามมาตรฐานสากล ดำเนินงานอย่างโปร่งใส สร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน และอีกประการหนึ่งที่สำคัญคือต้องเข้าไปประสานงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆที่มีความพร้อมดำเนินการเพื่อจัดการแก้ไขปัญหาน้ำเสียที่มีมากถึง 7 ล้านลบ.ม.ต่อวัน โดยน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วสามารถนำมาเป็นนำกลับมาใช้ได้อย่างมีคุณภาพและปลอดภัย ดังนั้น จึงถือว่าแนวทางดังกล่าวเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการเพื่อให้การใช้ทรัพยากรน้ำเกิดความคุ้มค่าสูงสุด” นอกจากนี้ เรื่องบุคลากรถือเป็นกลไกหลักในการสนับสนุนภารกิจขององค์กร ควรมีการเพิ่มศักยภาพความรู้ความสามารถของบุคลากรในองค์กรให้มีทักษะที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กับหน่วยงานภายในประเทศและต่างประเทศ พัฒนาเทคโนโลยีในการบำบัดน้ำเสียให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์ ประชาชนในชุมชนสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม เพื่อสร้างทัศนคติที่ดีต้องทำให้เห็นว่าน้ำเสียสามารถอยู่คู่กับชุมชนได้อย่างเป็นระบบ มุ่งเน้นความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมประยุกต์ใช้พื้นที่ของระบบบำบัดน้ำเสียให้เป็นสถานที่ที่ประชาชน โดยใช้โรงงานน้ำเสียที่บำบัดอยู่ใต้ดิน ส่วนข้างบนเป็นสวนสาธารณะ หรือสนามฟุตบอลตามที่ท้องถิ่นต้องการให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ รวมทั้งมีการนำน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วกลับมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสมต่อไป
เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 24 มีนาคม 2564 ที่การประปานครหลวง (กปน.) สำนักงานใหญ่ นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือ(MOU) การบูรณาการบริหารจัดการน้ำประปาและน้ำเสียอย่างยั่งยืน ระหว่างการประปานครหลวง(กปน.)และ องค์การจัดการน้ำเสีย(อจน.) โดยมีนายนิสิต จันทร์สมวงศ์ ประธานกรรมการ กปน. นายพรพจน์ เพ็ญพาส ประธานกรรมการ อจน. นายกวี อารีกุล ผู้ว่าการ กปน. และนายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการ อจน. เป็นผู้ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือ โดยมีคณะผู้บริหารจาก กปน. และ อจน. ร่วมในพิธี นายนิพนธ์ กล่าวตอนหนึ่งว่า “กระทรวงมหาดไทยให้ความสำคัญในการสร้างรากฐานและพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน ได้กำกับดูแล มอบนโยบายให้ กปน. และ อจน. ที่เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงมหาดไทยให้บูรณาการร่วมกัน โดยเฉพาะการบริหารจัดการทั้งน้ำดีและน้ำเสียอย่างเป็นระบบ ตลอดจนการให้ความรู้ในด้านการจัดการน้ำเสียให้กับชุมชน และสังคมเพื่อให้สอดคล้องกับการใช้ทรัพยากรน้ำและความร่วมมือระหว่างกันที่มุ่งเน้นเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และลดการลงทุนที่ซ้ำซ้อนโดยรัฐบาลให้ความสำคัญกับกลไกการบริหารจัดการน้ำเสียของประเทศให้มีระบบ และมีเอกภาพยิ่งขึ้น รวมถึงการลดปริมาณน้ำเสีย และการปรับปรุงคุณภาพน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วให้สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีก” “ การลงนามครั้งนี้จึงเป็นการร่วมบูรณาการงานของทั้ง 2 หน่วยงาน คือ กปน. และ อจน. เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทั้งระบบอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะการให้บริการน้ำประปาให้ครอบคลุมพื้นที่รับผิดชอบ และการจัดการน้ำเสียอย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้กรอบความร่วมมือ 3 ด้าน คือ ความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) การพัฒนาองค์ความรู้และทักษะความชำนาญด้านวิชาการ ด้านเทคโนโลยี หรืออื่น ๆ ตามความเหมาะสม และระบบประเมินผล คุณภาพรัฐวิสาหกิจ (SE-AM) เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและการให้บริการที่เป็นเลิศแก่ประชาชน ควบคู่ไปกับการดูแลสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม นำไปสู่การพัฒนาตอบสนองความต้องการและเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มอย่างยั่งยืน” นายนิพนธ์ กล่าว
นิพนธ์ ร่วม คณะรัฐมนตรี ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อเวลา 08.30 น.วันนี้ (16 มี.ค. 2564) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วยคณะรัฐมนตรี นำโดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เข้ารับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโควิด-19 “แอสตราเซเนกา” ตามขั้นตอนของกระทรวงสาธารณสุข โดยเป็นไปตามความสมัครใจและอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของคณะแพทย์และพยาบาล จากกระทรวงสาธารณสุขอย่างใกล้ชิด นายนิพนธ์ เปิดเผยด้วยว่า หลังจากการรับวัคซีนไปแล้ว 8 ชม. อาการทั่วไปยังเป็นปกติ และมั่นใจได้ว่าไม่มีผลข้างเคียงจากการรับวัคซีนแต่อย่างใด