องค์การจัดการน้ำเสีย กระทรวงมหาดไทย
WMA News
อัพเดทล่าสุด

วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2568 คณะนักเรียน และครู จากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยตรัง จังหวัดตรัง เข้าเยี่ยมชม จำนวน 154 คน ณ พื้นที่ศูนย์บริหารจัดการคุณภาพน้ำ เเละศูนย์การเรียนรู้อุทยานสิ่งแวดล้อมนานา ชาติสิรินธร จังหวัดเพชรบุรี

วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2568 เวลา 13.30 – 14.20 น. คณะนักเรียน และครู จากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยตรัง จังหวัดตรัง เข้าเยี่ยมชม จำนวน 154 คน โดยแบ่งการเข้าเยี่ยมชมเป็น 2 รอบ รอบละ 77 คน ณ พื้นที่ศูนย์บริหารจัดการคุณภาพน้ำ เเละศูนย์การเรียนรู้อุทยานสิ่งแวดล้อมนานา ชาติสิรินธร จังหวัดเพชรบุรี

อ่านรายละเอียด

นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) เดินหน้าจัดของเติมตู้ปันสุข ของกระทรวงมหาดไทย เชิญชวน พี่น้องประชาชนผู้มีกำลังฯร่วมกิจกรรม เพื่อเติมกำลังใจให้ผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด

เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 25 พฤษภาคม ที่ บริเวณหน้ากระทรวงมหาดไทย นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วย ร.ต.ท.ภพชนก ชลานุเคราะห์ รองอธิบดีกรมการปกครอง ร่วมกิจกรรม “คนมหาดไทย แบ่งปันน้ำใจ สู้ภัยโควิด-19” นำสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภคของใช้ที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน มาเติมเต็มที่ตู้ปันสุข เพื่อเป็นการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนโดยรอบกระทรวงมหาดไทยที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 คลายความทุกข์ให้แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบให้สามารถผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปด้วยกัน สำหรับกิจกรรม “มหาดไทยปันสุข ส่งต่อความห่วงใย สู้ภัยโควิด 19” กรมการปกครอง โดยกระทรวงมหาดไทย จัดขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือสังคม ตามปรัชญากระทรวงมหาดไทยที่ว่า “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ให้แก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบในสถานการณ์โควิด-19 ทั้งนี้ ได้จัดให้มีเจ้าหน้าที่คอยอำนวยความสะดวก จัดระเบียบผู้ที่มาเลือกหยิบของจาก “ตู้ปันสุข” ให้เป็นไปตามมาตรการการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) วัดอุณหภูมิ ล้างมือด้วยแอลกอฮอล์ และต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งเพื่อความปลอดภัยตามมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างเข้มงวด ทั้งนี้ รมช.มท.ได้กล่าวเชิญชวน ว่า “ขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนผู้ที่พอมีกำลังทรัพย์ที่จะนำสิ่งของมาใส่ในตู้ปันสุขได้ ก็ขอให้มาร่วมเติมกำลังใจ ให้ได้มาร่วมกิจกรรมกับกระทรวงมหาดไทย ซึ่งสถานการณ์การแพร่ระบาดในขณะนี้ยังคงมีอยู่ต่อไปอีกสักระยะ ซึ่งยังมีพี่น้องประชาชนอีกจำนวนมากที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์โควิด ดังนั้น การจัดกิจกรรมของเราก็จะคงจัดอยู่ไปจนกว่าสถานการณ์โดยรวมจะเข้าสู่สภาวะปกติ”

อ่านรายละเอียด

นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) นำทีม“ประปานครหลวง”มอบน้ำดื่ม 10,000 ขวด สนับสนุนการทำงานบุคลากรทางการแพทย์ และผู้ป่วยในรพ.สนามทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล

วันที่ 12 พฤษภาคม 2564 ที่ กระทรวงสาธารณสุข ถนนติวานนท์ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วย นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ ประธานกรรมการการประปานครหลวง (กปน.) และ นายกวี อารีกุล ผู้ว่าการ กปน. นำน้ำดื่มบรรจุขวด จำนวน 10,000 ขวด มามอบเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานให้แก่ทีมบุคลากรทางการแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตลอดจนผู้ป่วยที่รักษาอาการในโรงพยาบาลตามจุดต่างๆ ทั่วกรุงเทพมหานคร และ ปริมณฑล โดยมอบผ่านกระทรวงสาธารณสุข เพื่อนำไปบริหารจัดการตามความเหมาะสมต่อไป มี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ณรงค์ สายวงศ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เป็นผู้รับมอบน้ำดื่มดังกล่าว นายนิพนธ์ ได้กล่าวว่า ขอเป็นกำลังใจและพร้อมสนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ทุกส่วนฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนกลุ่มประชาชนอาสาสมัคร มูลนิธิต่างๆแทนคนไทยทุกคน ที่ได้ร่วมกันดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างเต็มกำลังความสามารถ และขอให้ทุกท่านปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวัง ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทย โดยท่าน พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ฝากความห่วงใยต่อเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน และพร้อมให้การสนับสนุนความช่วยเหลือทุกอย่างเพื่อให้ประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤตินี้ได้ในเร็ววัน พร้อมกันนี้ขอฝากไปถึงพี่น้องประชาชนได้ให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามมาตราการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) อย่างเคร่งครัด สวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง หมั่นล้างมือ หลีกเลี่ยงพื้นที่แออัด เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส และลดจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ให้ได้มากที่สุด โดย การประปานครหลวง ยังได้มอบสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ อาทิ หน้ากากอนามัย กระบอกน้ำพลาสติก และเจลแอลกอฮอลล์ ให้แก่ผู้ป่วยที่มาพักรักษาตัวในโรงพยาบาลสนามต่างๆอีกด้วย โดยก่อนหน้านี้ตั้งแต่ปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมาได้ การประปานครหลวง ก็ได้ทยอยส่งมอบน้ำดื่มเพื่อสนับสนุนให้กับโรงพยาบาลและหน่วยงานทางการแพทย์ไปแล้วจำนวนกว่า 20,000 ขวด ครั้งนี้อีก 10,000 ขวด รวมเป็น 30,000 ขวด และจะมีการสนับสนุนน้ำดื่มและสิ่งจำเป็นอื่นอย่างต่อเนื่อง ทั้งในเขต กทม. และปริมณฑล

อ่านรายละเอียด

นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) หนุนท้องถิ่นประสาน รพ.สต.กระจายวัคซีนให้ครอบคลุมทุกพื้นที่

“นิพนธ์ บุญญามณี รมช.มหาดไทย สนับสนุนองค์กรปกครองท้องถิ่นประสาน รพ.สต.ช่วยกระจายวัคซีนให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ 8 พ.ค. 64 นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยถึงการดำเนินการของการเร่งรัดการฉีดวัคซีนว่า รัฐบาลมีความตั้งใจที่จะให้คนไทยได้รับวัคซีนให้ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศให้ได้โดยเร็วที่สุด โดยมีการกระจายไปยังพื้นที่จังหวัดต่างๆเพื่อให้ประชาชนในภูมิภาคต่างๆได้รับวัคซีนอย่างทั่วถึง แต่ก็ยังมีการเรียกร้องให้มีการกระจายให้ครอบคลุมมากกว่าที่เป็นอยู่โดยพี่น้องประชาชนยังมีข้อจำกัดในเรื่องการเดินทางเข้ามารับวัคซีนยังพื้นที่ตัวเมืองของอำเภอและจังหวัด ที่มีการบริการฉีดวัคซีน ประกอบกับการเปิดให้ประชาชนได้ลงทะเบียนในแอพลิเคชั่น”หมอพร้อม”เพื่อรับวัคซีน ซึ่งจนถึงวันนี้ก็มีปรากฎว่ายังมีผู้จองฉีดวัคซีนในเปอร์เซ็นต์ที่น้อยอยู่ ซึ่งอาจเกิดจากปัญหาในเรื่องความรู้ความเข้าใจถึงวัคซีนชนิดต่างๆ ทำให้ประชาชนไม่ประสงค์ลงทะเบียน รวมถึง ปัญหาในเรื่องการเข้าถึงระบบลงทะเบียน เป็นต้น ตลอดจนข้อจำกัดในเรื่องต่างๆ ที่อาจทำให้ประชาชนเข้าถึงวัคซีนได้ช้าลง ซึ่งไม่เป็นไปตามความตั้งใจของท่านนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลที่ต้องการให้พี่น้องประชาชนได้รับวัคซีนเพื่อบรรเทาความรุนแรงจากการโรคโควิด-19 ให้ได้โดยเร็วและทั่วถึงทุกกลุ่ม โดย นายนิพนธ์  ได้เสนอถึงการจัดการในเรื่องดังกล่าวเพื่อเร่งรัดการกระจายให้ครอบคลุมทุกพื้นที่เพื่อความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเสนอให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีกลไกเครือข่ายในทุกพื้นที่ตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน ตำบล ได้ประสานการปฏิบัติร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล(รพ.สต.) ที่มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอสม.อยู่ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน พร้อมทั้งการเสริมการปฏิบัติการร่วมกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่ ฯลฯ เพื่อเป็นการข้อจำกัด ลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางของพี่น้องประชาชน และช่วยแบ่งเบาภาระหน้าที่ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในตัวเมืองระดับอำเภอ ระดับจังหวัดได้อีกทางหนึ่ง รวมทั้งเจ้าหน้าที่ยังสามารถเข้าไปสำรวจทำความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องวัคซีนให้แก่พี่น้องประชาชนได้อย่างครบถ้วนอีกด้วย

อ่านรายละเอียด

นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) ห่วงผู้ปฎิบัติหน้าที่มอบชุด PPE และหน้ากากอนามัย ให้หน่วยแพทย์ฉุกเฉิน 1669 อบจ.สงขลา พร้อมขอความร่วมมือทุกฝ่าย สนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อป้องกันและควบคุมสถานการณ์ COVID-19

นิพนธ์ ห่วงผู้ปฎิบัติหน้าที่มอบชุด PPE และหน้ากากอนามัย ให้หน่วยแพทย์ฉุกเฉิน 1669 อบจ.สงขลา พร้อมขอความร่วมมือทุกฝ่าย สนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อป้องกันและควบคุมสถานการณ์ COVID-19 เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2564 นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้เดินทางไปมอบชุด PPE และหน้ากากอนามัยให้แก่ศูนย์ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน(1669) ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา เพื่อแจกจ่ายให้หน่วยแพทย์ฉุกเฉิน โดยมีนายไพเจน มากสุวรรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา นายชัยวุฒิ ผ่องแผ้ว รองนายก อบจ.สงขลา นายประพันธ์ ศรีสุวรรณ ปลัด อบจ.สงขลา นายนิพัฒน์ อุดมอักษร เลขานุการนายก อบจ.สงขลา นางสาวปรินดา ปาลาเร่ เลขานุการนายก อบจ.สงขลา และข้าราชการในสังกัด อบจ.สงขลาให้การต้อนรับ พร้อมกันนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้เข้าตรวจเยี่ยมการปฏิบัติหน้าที่ของศูนย์ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน (1669) ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาอีกด้วย รมช.มท. กล่าวว่า “วันนี้เป็นการนำชุด PPE และหน้ากากอนามัย มามอบให้กับศูนย์ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ซึ่งถือว่าเป็นหน่วยงานที่ดูแลระบบการแพทย์ฉุกเฉินของสงขลาทั้งจังหวัด ฉะนั้นถือว่า หน่วยการแพทย์ฉุกเฉิน1669 เป็นผู้ปฏิบัติที่ต้องเผชิญภัยความเสี่ยงในการเข้าช่วยเหลือพี่น้องประชาชน และทำให้บุคลากรเหล่านี้ต้องมีความเสี่ยงในการช่วยเหลือมากกว่าปกติ เพราะไม่สามารถรู้ได้ว่าคนที่เราเข้าไปช่วยเหลือนั้นเป็นผู้ที่ได้รับเชื้อหรือไม่อย่างไร ดังนั้นการที่เราจะดูแลความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ ต้องถือว่าเป็นความสำคัญในระดับต้นๆที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ เพราะหากเจ้าหน้าที่ไปรับเชื้อหรือสัมผัสใกล้ชิดโดยไม่มีการป้องกัน หากเจ้าหน้าที่โดนกักตัว หรือโดนงดการปฏิบัติหน้าที่ เราก็จะไม่มีคนมาช่วยเหลือชาวบ้าน ฉะนั้นเมื่อบุคลากรเรามีจำกัด การที่จะรักษาความปลอดภัยในบุคลากรของเราทำให้การปฏิบัติหน้าที่เป็นไปด้วยความปลอดภัย ลดความเสี่ยงในการที่จะสัมผัสกับบุคคลที่ติดเชื้อ หรือได้รับเชื้อ COVID-19 จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง” รมช.มท กล่าวต่ออีกว่า “ชุด PPE และหน้ากากอนามัย ที่นำมามอบให้กับองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาในวันนี้ ประสงค์ที่จะให้แจกจ่ายไปยังศูนย์ปฏิบัติงานการแพทย์ฉุกเฉินของจังหวัดสงขลา โดยมีชุด PPE จำนวน 100 ชุด และหน้ากากอนามัยจำนวน 4,000 ชิ้นเป็นการสนับสนุนในเบื้องต้น และขอถือโอกาสนี้เรียนเชิญทุกท่านที่มีกำลังทุนทรัพย์ อยากให้ช่วยกันดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของการแพทย์ฉุกเฉินทั้งประเทศ และบุคลากรสาธารณสุข ทุกพื้นที่ ใครอยู่ใกล้พื้นที่ใดก็อยากให้ช่วยกันดูแลพื้นที่นั้น เพราะบุคคลเหล่านี้มีค่อนข้างจำกัด และไม่ทราบว่าสถานการณ์ COVID-19 จะยุติลงเมื่อไหร่ ฉะนั้นการดูแลรักษาบุคลากรที่ผ่านการฝึกอบรมอย่างดีแล้ว ในการเข้าไปช่วยเหลือพี่น้องประชาชน จึงต้องทำให้คนกลุ่มนี้มีความปลอดภัย และมั่นใจในการปฏิบัติหน้าที่ด้วย นี่ัคือสิ่งที่เราจะดูแลความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติหน้าที่ เพื่อช่วยเหลือประชาชนได้ต่อไป”

อ่านรายละเอียด

นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) ย้ำ นโยบายความปลอดภัยทางถนน แก่ผู้ว่าฯทั่วประเทศ ใช้กลไปศปถ.ทุกระดับ ตั้งเป้าลดตายปีละ 5% เร่งหน่วยเกี่ยวข้องบูรณาการร่วมการแพทย์ฉุกเฉิน ลดยอดเจ็บ-ตายให้เป็นรูปธรรม

เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 4 เมษายน 2564 ที่ห้องประชุมนริศรานุสรณ์ กรมโยธาธิการและผังเมือง กรุงเทพมหานคร นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เข้าร่วมการประชุมมอบนโยบายและข้อราชการสำคัญของกระทรวงมหาดไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โดยมีพลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานการประชุม พร้อมด้วยนายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงมหาดไทย หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วมการประชุมรับมอบนโยบาย นายนิพนธ์ กล่าวมอบนโยบายว่า “กระทรวงมหาดไทยขับเคลื่อนงาน โดยยึดหลักการทำงานเชิงรุกตอบสนองการขับเคลื่อนภารกิจในการ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดำเนินงานด้านความปลอดภัยทางถนนในช่วงเทศกาลสงกรานต์และเทศกาลสำคัญทุกเทศกาล ซึ่งจากการวิเคราะห์ข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุปี 2559 มีผู้เสียชีวิต 22,000 ราย ปี 2563 ลดลงเหลือ 18,000 ลดลงมา 5 % ถ้าเราตั้งเป็น 10 ปี ก็จะลดลง 50% อันนี้ถือเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม จึงขอกำชับนโยบายดังกล่าวกับผู้ว่าราชการทุกจังหวัด ให้บูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาคีตั้งแต่ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน(ศปถ.) ทั้งระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการบูรณาการความร่วมมือ เพราะถนน 70 % อยู่ในการดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เรามีถนนทั่วทั้งประเทศประมาณ 400,000 กว่ากิโลเมตร อยู่ในการดูแลของกรมทางหลวง 50,000 กว่ากิโลเมตร อยู่ในการดูแลของทางหลวงชนบท 40,000 กิโลเมตร อยู่ในกำกับการดูแลของกทม. 4,000 กิโลเมตร อยู่ในกำกับการดูแลของพัทยา 200 กว่ากิโลเมตร และอยู่ในกำกับดูแลของ อบจ. อบต. เทศบาล ทั่วประเทศ 300,000 กว่ากิโลเมตร เมื่อเทียบเคียงกันแล้ว อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นก็ล้วนอยู่ในการดูแลของท้องถิ่น “ จึงขอให้ทางผู้ว่าราชการจังหวัดเน้นย้ำกับนายอำเภอ เวลาประชุมศปถ.อำเภอ และผู้บริหารท้องถิ่น ให้ใส่ใจในเรื่องเหล่านี้ด้วย โดยเฉพาะปีนี้เราได้มีการเลือกตั้งเปลี่ยนผู้นำ ผู้บริหารท้องถิ่นทั้งระดับอบจ. เทศบาล และในอนาคตอันใกล้จะมีการเลือกผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล คนที่เข้ามาใหม่จึงไม่สันทัดบทบาทและหน้าที่เหล่านี้ จึงถือโอกาสนี้เน้นย้ำให้ผู้ว่าราชการจังหวัดได้ใช้กลไกล ศปถ.อำเภอลงลึกเพื่อให้ครอบคุมการลดอุบัติเหตุ ลดการเสียชีวิตในส่วนของท้องถิ่นต่างๆให้ได้ พร้อมบรูณาการร่วมกับการแพทย์ฉุกเฉินก็จะสามารถลดการเสียชีวิตบนท้องถนนลงได้มากจึงขอเน้นย้ำฝากนโยบายนี้” นายนิพนธ์กล่าว

อ่านรายละเอียด

นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) บรรยายพิเศษ”กฎหมายและอำนาจหน้าที่อปท.-นครหลวง” ชี้ รธน.ให้ความสำคัญการกระจายอำนาจฯมีวิวัฒนาการที่ดีอย่างต่อเนื่อง ยืนยัน “ถ้าท้องถิ่นเข้มแข็ง ประเทศชาติก็เข้มแข็ง” นำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำในทุกด้านของประเทศ

นิพนธ์ บรรยายพิเศษ”กฎหมายและอำนาจหน้าที่อปท.-นครหลวง” ชี้ รธน.ให้ความสำคัญการกระจายอำนาจฯมีวิวัฒนาการที่ดีอย่างต่อเนื่อง ยืนยัน “ถ้าท้องถิ่นเข้มแข็ง ประเทศชาติก็เข้มแข็ง” นำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำในทุกด้านของประเทศ เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2564 ที่โรงแรมสวิสโฮเต็ล กรุงเทพฯ กรุงเทพมหานคร นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นวิทยากรพิเศษ บรรยาย ในหัวข้อ “กฎหมายและอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและนครหลวง” ในการศึกษาอบรมหลักสูตร “ผู้บริหารระดับสูงด้านการพัฒนาผู้นำเมือง” (ผู้นำเมือง รุ่น 6) จัดขึ้นโดยมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช มีวัตถุประสงค์ในการสร้างทัศนคติความรู้ความเข้าใจ ด้านการบริหารจัดการปกครองส่วนท้องถิ่น ให้กับผู้นำภาครัฐ ภาคเอกชน สามารถบูรณาการแนวความคิดทางการบริหารองค์กร การบริหารท้องถิ่นร่วมกันต่อการพัฒนาเมืองและท้องถิ่นอย่างยั่งยืน นายนิพนธ์ ได้บรรยายสรุปเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองท้องถิ่นไทยผ่านประสบการณ์การทำงาน มุมมอง และวิสัยทัศน์ ตลอดช่วงที่ผ่านมาว่า “ระบบราชการไทยแบ่งการบริหารราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น จึงต้องมีการกระจายอำนาจจากส่วนกลางลงสู่ท้องถิ่น โดยมีพัฒนาการมาอย่างยาวนาน รัฐธรรมนูญปี2540 เป็นฉบับแรก ที่มีการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม ขณะที่รัฐธรรมนูญปี 2550 และ 2560 ฉบับปัจจุบันก็มีการกำหนดการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นไว้อย่างชัดเจนเช่นเดียวกัน เป็นการยกฐานะของส่วนท้องถิ่นที่รัฐธรรมนูญรับรองสถานะขององค์กรท้องถิ่น และส่วนตัวก็เชื่อมั่นในหลักการกระจายอำนาจ ดังนั้นเมื่อจบเนติบัญฑิตไทย ก็ไม่ไปสอบอัยการ หรือผู้พิพากษา แต่มุ่งเป้ามาสมัครเป็น ส.จ. เป็นสจ. สองสมัย และเป็นส.ส. และเป็นอดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา (นายก อบจ.) ครั้งเป็น ส.ส.สมัยแรกเมื่อปี 2535 ในรัฐบาลชวน หลีกภัยได้มีส่วนร่วมในการผลักดันพระราชบัญญัติสภาตำบล ที่ยกฐานะสภาตำบล ขึ้นมาเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) หลังจากที่มีนโยบายการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มอำนาจให้ประชาชนจะเป็นแนวทางที่จะลดช่องว่างระหว่างเมืองกับชนบท นี่คือการลดความเหลื่อมล้ำ เรามีเมืองใหม่ๆเกิดขึ้นเยอะมาก เมืองต่างๆก็โตอย่างรวดเร็ว ซึ่งกลไกรัฐแบบเดิมๆจะไม่สามารถดูแลได้ ยกตัวอย่างการจัดบริการด้านสุขภาพ ท้องถิ่นสามารถจัดบริการสาธารณะเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนได้หลากหลาย การให้บริการรักษาพยาบาลเบื้องต้น การตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น ที่เห็นได้ชัดเจนคือ งานป้องกันควบคุมโรคและงานส่งเสริมสุขภาพ ท้องถิ่นสามารถทำได้ดี วันนี้ต้องยอมรับว่าเรื่องการกระจายอำนาจฯสามารถก้าวมาได้เยอะมากแล้ว ตนเชื่อมั่นว่าเรื่องการกระจายอำนาจจะทำให้ท้องถิ่นเกิดความเข้มแข้ง การทำให้ชุมชนเข้มแข็ง แล้วสามารถยืนบนขาของตัวเองได้ จะนำไปสู่การทำประเทศชาติให้เข้มแข็งและนำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำในทุกๆด้านของประเทศ

อ่านรายละเอียด

นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) เดินหน้าจัดของเติมตู้ปันสุข ของกระทรวงมหาดไทย เชิญชวน พี่น้องประชาชนผู้มีกำลังฯร่วมกิจกรรม เพื่อเติมกำลังใจให้ผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด

เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 25 พฤษภาคม ที่ บริเวณหน้ากระทรวงมหาดไทย นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วย ร.ต.ท.ภพชนก ชลานุเคราะห์ รองอธิบดีกรมการปกครอง ร่วมกิจกรรม “คนมหาดไทย แบ่งปันน้ำใจ สู้ภัยโควิด-19” นำสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภคของใช้ที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน มาเติมเต็มที่ตู้ปันสุข เพื่อเป็นการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนโดยรอบกระทรวงมหาดไทยที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 คลายความทุกข์ให้แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบให้สามารถผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปด้วยกัน สำหรับกิจกรรม “มหาดไทยปันสุข ส่งต่อความห่วงใย สู้ภัยโควิด 19” กรมการปกครอง โดยกระทรวงมหาดไทย จัดขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือสังคม ตามปรัชญากระทรวงมหาดไทยที่ว่า “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ให้แก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบในสถานการณ์โควิด-19 ทั้งนี้ ได้จัดให้มีเจ้าหน้าที่คอยอำนวยความสะดวก จัดระเบียบผู้ที่มาเลือกหยิบของจาก “ตู้ปันสุข” ให้เป็นไปตามมาตรการการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) วัดอุณหภูมิ ล้างมือด้วยแอลกอฮอล์ และต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งเพื่อความปลอดภัยตามมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างเข้มงวด ทั้งนี้ รมช.มท.ได้กล่าวเชิญชวน ว่า “ขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนผู้ที่พอมีกำลังทรัพย์ที่จะนำสิ่งของมาใส่ในตู้ปันสุขได้ ก็ขอให้มาร่วมเติมกำลังใจ ให้ได้มาร่วมกิจกรรมกับกระทรวงมหาดไทย ซึ่งสถานการณ์การแพร่ระบาดในขณะนี้ยังคงมีอยู่ต่อไปอีกสักระยะ ซึ่งยังมีพี่น้องประชาชนอีกจำนวนมากที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์โควิด ดังนั้น การจัดกิจกรรมของเราก็จะคงจัดอยู่ไปจนกว่าสถานการณ์โดยรวมจะเข้าสู่สภาวะปกติ”

อ่านรายละเอียด

นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) นำทีม“ประปานครหลวง”มอบน้ำดื่ม 10,000 ขวด สนับสนุนการทำงานบุคลากรทางการแพทย์ และผู้ป่วยในรพ.สนามทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล

วันที่ 12 พฤษภาคม 2564 ที่ กระทรวงสาธารณสุข ถนนติวานนท์ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วย นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ ประธานกรรมการการประปานครหลวง (กปน.) และ นายกวี อารีกุล ผู้ว่าการ กปน. นำน้ำดื่มบรรจุขวด จำนวน 10,000 ขวด มามอบเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานให้แก่ทีมบุคลากรทางการแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตลอดจนผู้ป่วยที่รักษาอาการในโรงพยาบาลตามจุดต่างๆ ทั่วกรุงเทพมหานคร และ ปริมณฑล โดยมอบผ่านกระทรวงสาธารณสุข เพื่อนำไปบริหารจัดการตามความเหมาะสมต่อไป มี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ณรงค์ สายวงศ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เป็นผู้รับมอบน้ำดื่มดังกล่าว นายนิพนธ์ ได้กล่าวว่า ขอเป็นกำลังใจและพร้อมสนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ทุกส่วนฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนกลุ่มประชาชนอาสาสมัคร มูลนิธิต่างๆแทนคนไทยทุกคน ที่ได้ร่วมกันดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างเต็มกำลังความสามารถ และขอให้ทุกท่านปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวัง ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทย โดยท่าน พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ฝากความห่วงใยต่อเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน และพร้อมให้การสนับสนุนความช่วยเหลือทุกอย่างเพื่อให้ประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤตินี้ได้ในเร็ววัน พร้อมกันนี้ขอฝากไปถึงพี่น้องประชาชนได้ให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามมาตราการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) อย่างเคร่งครัด สวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง หมั่นล้างมือ หลีกเลี่ยงพื้นที่แออัด เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส และลดจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ให้ได้มากที่สุด โดย การประปานครหลวง ยังได้มอบสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ อาทิ หน้ากากอนามัย กระบอกน้ำพลาสติก และเจลแอลกอฮอลล์ ให้แก่ผู้ป่วยที่มาพักรักษาตัวในโรงพยาบาลสนามต่างๆอีกด้วย โดยก่อนหน้านี้ตั้งแต่ปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมาได้ การประปานครหลวง ก็ได้ทยอยส่งมอบน้ำดื่มเพื่อสนับสนุนให้กับโรงพยาบาลและหน่วยงานทางการแพทย์ไปแล้วจำนวนกว่า 20,000 ขวด ครั้งนี้อีก 10,000 ขวด รวมเป็น 30,000 ขวด และจะมีการสนับสนุนน้ำดื่มและสิ่งจำเป็นอื่นอย่างต่อเนื่อง ทั้งในเขต กทม. และปริมณฑล

อ่านรายละเอียด

นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) หนุนท้องถิ่นประสาน รพ.สต.กระจายวัคซีนให้ครอบคลุมทุกพื้นที่

“นิพนธ์ บุญญามณี รมช.มหาดไทย สนับสนุนองค์กรปกครองท้องถิ่นประสาน รพ.สต.ช่วยกระจายวัคซีนให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ 8 พ.ค. 64 นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยถึงการดำเนินการของการเร่งรัดการฉีดวัคซีนว่า รัฐบาลมีความตั้งใจที่จะให้คนไทยได้รับวัคซีนให้ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศให้ได้โดยเร็วที่สุด โดยมีการกระจายไปยังพื้นที่จังหวัดต่างๆเพื่อให้ประชาชนในภูมิภาคต่างๆได้รับวัคซีนอย่างทั่วถึง แต่ก็ยังมีการเรียกร้องให้มีการกระจายให้ครอบคลุมมากกว่าที่เป็นอยู่โดยพี่น้องประชาชนยังมีข้อจำกัดในเรื่องการเดินทางเข้ามารับวัคซีนยังพื้นที่ตัวเมืองของอำเภอและจังหวัด ที่มีการบริการฉีดวัคซีน ประกอบกับการเปิดให้ประชาชนได้ลงทะเบียนในแอพลิเคชั่น”หมอพร้อม”เพื่อรับวัคซีน ซึ่งจนถึงวันนี้ก็มีปรากฎว่ายังมีผู้จองฉีดวัคซีนในเปอร์เซ็นต์ที่น้อยอยู่ ซึ่งอาจเกิดจากปัญหาในเรื่องความรู้ความเข้าใจถึงวัคซีนชนิดต่างๆ ทำให้ประชาชนไม่ประสงค์ลงทะเบียน รวมถึง ปัญหาในเรื่องการเข้าถึงระบบลงทะเบียน เป็นต้น ตลอดจนข้อจำกัดในเรื่องต่างๆ ที่อาจทำให้ประชาชนเข้าถึงวัคซีนได้ช้าลง ซึ่งไม่เป็นไปตามความตั้งใจของท่านนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลที่ต้องการให้พี่น้องประชาชนได้รับวัคซีนเพื่อบรรเทาความรุนแรงจากการโรคโควิด-19 ให้ได้โดยเร็วและทั่วถึงทุกกลุ่ม โดย นายนิพนธ์  ได้เสนอถึงการจัดการในเรื่องดังกล่าวเพื่อเร่งรัดการกระจายให้ครอบคลุมทุกพื้นที่เพื่อความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเสนอให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีกลไกเครือข่ายในทุกพื้นที่ตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน ตำบล ได้ประสานการปฏิบัติร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล(รพ.สต.) ที่มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอสม.อยู่ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน พร้อมทั้งการเสริมการปฏิบัติการร่วมกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่ ฯลฯ เพื่อเป็นการข้อจำกัด ลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางของพี่น้องประชาชน และช่วยแบ่งเบาภาระหน้าที่ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในตัวเมืองระดับอำเภอ ระดับจังหวัดได้อีกทางหนึ่ง รวมทั้งเจ้าหน้าที่ยังสามารถเข้าไปสำรวจทำความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องวัคซีนให้แก่พี่น้องประชาชนได้อย่างครบถ้วนอีกด้วย

อ่านรายละเอียด

นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) ห่วงผู้ปฎิบัติหน้าที่มอบชุด PPE และหน้ากากอนามัย ให้หน่วยแพทย์ฉุกเฉิน 1669 อบจ.สงขลา พร้อมขอความร่วมมือทุกฝ่าย สนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อป้องกันและควบคุมสถานการณ์ COVID-19

นิพนธ์ ห่วงผู้ปฎิบัติหน้าที่มอบชุด PPE และหน้ากากอนามัย ให้หน่วยแพทย์ฉุกเฉิน 1669 อบจ.สงขลา พร้อมขอความร่วมมือทุกฝ่าย สนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อป้องกันและควบคุมสถานการณ์ COVID-19 เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2564 นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้เดินทางไปมอบชุด PPE และหน้ากากอนามัยให้แก่ศูนย์ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน(1669) ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา เพื่อแจกจ่ายให้หน่วยแพทย์ฉุกเฉิน โดยมีนายไพเจน มากสุวรรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา นายชัยวุฒิ ผ่องแผ้ว รองนายก อบจ.สงขลา นายประพันธ์ ศรีสุวรรณ ปลัด อบจ.สงขลา นายนิพัฒน์ อุดมอักษร เลขานุการนายก อบจ.สงขลา นางสาวปรินดา ปาลาเร่ เลขานุการนายก อบจ.สงขลา และข้าราชการในสังกัด อบจ.สงขลาให้การต้อนรับ พร้อมกันนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้เข้าตรวจเยี่ยมการปฏิบัติหน้าที่ของศูนย์ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน (1669) ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาอีกด้วย รมช.มท. กล่าวว่า “วันนี้เป็นการนำชุด PPE และหน้ากากอนามัย มามอบให้กับศูนย์ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ซึ่งถือว่าเป็นหน่วยงานที่ดูแลระบบการแพทย์ฉุกเฉินของสงขลาทั้งจังหวัด ฉะนั้นถือว่า หน่วยการแพทย์ฉุกเฉิน1669 เป็นผู้ปฏิบัติที่ต้องเผชิญภัยความเสี่ยงในการเข้าช่วยเหลือพี่น้องประชาชน และทำให้บุคลากรเหล่านี้ต้องมีความเสี่ยงในการช่วยเหลือมากกว่าปกติ เพราะไม่สามารถรู้ได้ว่าคนที่เราเข้าไปช่วยเหลือนั้นเป็นผู้ที่ได้รับเชื้อหรือไม่อย่างไร ดังนั้นการที่เราจะดูแลความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ ต้องถือว่าเป็นความสำคัญในระดับต้นๆที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ เพราะหากเจ้าหน้าที่ไปรับเชื้อหรือสัมผัสใกล้ชิดโดยไม่มีการป้องกัน หากเจ้าหน้าที่โดนกักตัว หรือโดนงดการปฏิบัติหน้าที่ เราก็จะไม่มีคนมาช่วยเหลือชาวบ้าน ฉะนั้นเมื่อบุคลากรเรามีจำกัด การที่จะรักษาความปลอดภัยในบุคลากรของเราทำให้การปฏิบัติหน้าที่เป็นไปด้วยความปลอดภัย ลดความเสี่ยงในการที่จะสัมผัสกับบุคคลที่ติดเชื้อ หรือได้รับเชื้อ COVID-19 จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง” รมช.มท กล่าวต่ออีกว่า “ชุด PPE และหน้ากากอนามัย ที่นำมามอบให้กับองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาในวันนี้ ประสงค์ที่จะให้แจกจ่ายไปยังศูนย์ปฏิบัติงานการแพทย์ฉุกเฉินของจังหวัดสงขลา โดยมีชุด PPE จำนวน 100 ชุด และหน้ากากอนามัยจำนวน 4,000 ชิ้นเป็นการสนับสนุนในเบื้องต้น และขอถือโอกาสนี้เรียนเชิญทุกท่านที่มีกำลังทุนทรัพย์ อยากให้ช่วยกันดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของการแพทย์ฉุกเฉินทั้งประเทศ และบุคลากรสาธารณสุข ทุกพื้นที่ ใครอยู่ใกล้พื้นที่ใดก็อยากให้ช่วยกันดูแลพื้นที่นั้น เพราะบุคคลเหล่านี้มีค่อนข้างจำกัด และไม่ทราบว่าสถานการณ์ COVID-19 จะยุติลงเมื่อไหร่ ฉะนั้นการดูแลรักษาบุคลากรที่ผ่านการฝึกอบรมอย่างดีแล้ว ในการเข้าไปช่วยเหลือพี่น้องประชาชน จึงต้องทำให้คนกลุ่มนี้มีความปลอดภัย และมั่นใจในการปฏิบัติหน้าที่ด้วย นี่ัคือสิ่งที่เราจะดูแลความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติหน้าที่ เพื่อช่วยเหลือประชาชนได้ต่อไป”

อ่านรายละเอียด

นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) ย้ำ นโยบายความปลอดภัยทางถนน แก่ผู้ว่าฯทั่วประเทศ ใช้กลไปศปถ.ทุกระดับ ตั้งเป้าลดตายปีละ 5% เร่งหน่วยเกี่ยวข้องบูรณาการร่วมการแพทย์ฉุกเฉิน ลดยอดเจ็บ-ตายให้เป็นรูปธรรม

เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 4 เมษายน 2564 ที่ห้องประชุมนริศรานุสรณ์ กรมโยธาธิการและผังเมือง กรุงเทพมหานคร นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เข้าร่วมการประชุมมอบนโยบายและข้อราชการสำคัญของกระทรวงมหาดไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โดยมีพลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานการประชุม พร้อมด้วยนายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงมหาดไทย หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วมการประชุมรับมอบนโยบาย นายนิพนธ์ กล่าวมอบนโยบายว่า “กระทรวงมหาดไทยขับเคลื่อนงาน โดยยึดหลักการทำงานเชิงรุกตอบสนองการขับเคลื่อนภารกิจในการ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดำเนินงานด้านความปลอดภัยทางถนนในช่วงเทศกาลสงกรานต์และเทศกาลสำคัญทุกเทศกาล ซึ่งจากการวิเคราะห์ข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุปี 2559 มีผู้เสียชีวิต 22,000 ราย ปี 2563 ลดลงเหลือ 18,000 ลดลงมา 5 % ถ้าเราตั้งเป็น 10 ปี ก็จะลดลง 50% อันนี้ถือเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม จึงขอกำชับนโยบายดังกล่าวกับผู้ว่าราชการทุกจังหวัด ให้บูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาคีตั้งแต่ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน(ศปถ.) ทั้งระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการบูรณาการความร่วมมือ เพราะถนน 70 % อยู่ในการดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เรามีถนนทั่วทั้งประเทศประมาณ 400,000 กว่ากิโลเมตร อยู่ในการดูแลของกรมทางหลวง 50,000 กว่ากิโลเมตร อยู่ในการดูแลของทางหลวงชนบท 40,000 กิโลเมตร อยู่ในกำกับการดูแลของกทม. 4,000 กิโลเมตร อยู่ในกำกับการดูแลของพัทยา 200 กว่ากิโลเมตร และอยู่ในกำกับดูแลของ อบจ. อบต. เทศบาล ทั่วประเทศ 300,000 กว่ากิโลเมตร เมื่อเทียบเคียงกันแล้ว อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นก็ล้วนอยู่ในการดูแลของท้องถิ่น “ จึงขอให้ทางผู้ว่าราชการจังหวัดเน้นย้ำกับนายอำเภอ เวลาประชุมศปถ.อำเภอ และผู้บริหารท้องถิ่น ให้ใส่ใจในเรื่องเหล่านี้ด้วย โดยเฉพาะปีนี้เราได้มีการเลือกตั้งเปลี่ยนผู้นำ ผู้บริหารท้องถิ่นทั้งระดับอบจ. เทศบาล และในอนาคตอันใกล้จะมีการเลือกผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล คนที่เข้ามาใหม่จึงไม่สันทัดบทบาทและหน้าที่เหล่านี้ จึงถือโอกาสนี้เน้นย้ำให้ผู้ว่าราชการจังหวัดได้ใช้กลไกล ศปถ.อำเภอลงลึกเพื่อให้ครอบคุมการลดอุบัติเหตุ ลดการเสียชีวิตในส่วนของท้องถิ่นต่างๆให้ได้ พร้อมบรูณาการร่วมกับการแพทย์ฉุกเฉินก็จะสามารถลดการเสียชีวิตบนท้องถนนลงได้มากจึงขอเน้นย้ำฝากนโยบายนี้” นายนิพนธ์กล่าว

อ่านรายละเอียด

นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) บรรยายพิเศษ”กฎหมายและอำนาจหน้าที่อปท.-นครหลวง” ชี้ รธน.ให้ความสำคัญการกระจายอำนาจฯมีวิวัฒนาการที่ดีอย่างต่อเนื่อง ยืนยัน “ถ้าท้องถิ่นเข้มแข็ง ประเทศชาติก็เข้มแข็ง” นำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำในทุกด้านของประเทศ

นิพนธ์ บรรยายพิเศษ”กฎหมายและอำนาจหน้าที่อปท.-นครหลวง” ชี้ รธน.ให้ความสำคัญการกระจายอำนาจฯมีวิวัฒนาการที่ดีอย่างต่อเนื่อง ยืนยัน “ถ้าท้องถิ่นเข้มแข็ง ประเทศชาติก็เข้มแข็ง” นำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำในทุกด้านของประเทศ เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2564 ที่โรงแรมสวิสโฮเต็ล กรุงเทพฯ กรุงเทพมหานคร นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นวิทยากรพิเศษ บรรยาย ในหัวข้อ “กฎหมายและอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและนครหลวง” ในการศึกษาอบรมหลักสูตร “ผู้บริหารระดับสูงด้านการพัฒนาผู้นำเมือง” (ผู้นำเมือง รุ่น 6) จัดขึ้นโดยมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช มีวัตถุประสงค์ในการสร้างทัศนคติความรู้ความเข้าใจ ด้านการบริหารจัดการปกครองส่วนท้องถิ่น ให้กับผู้นำภาครัฐ ภาคเอกชน สามารถบูรณาการแนวความคิดทางการบริหารองค์กร การบริหารท้องถิ่นร่วมกันต่อการพัฒนาเมืองและท้องถิ่นอย่างยั่งยืน นายนิพนธ์ ได้บรรยายสรุปเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองท้องถิ่นไทยผ่านประสบการณ์การทำงาน มุมมอง และวิสัยทัศน์ ตลอดช่วงที่ผ่านมาว่า “ระบบราชการไทยแบ่งการบริหารราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น จึงต้องมีการกระจายอำนาจจากส่วนกลางลงสู่ท้องถิ่น โดยมีพัฒนาการมาอย่างยาวนาน รัฐธรรมนูญปี2540 เป็นฉบับแรก ที่มีการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม ขณะที่รัฐธรรมนูญปี 2550 และ 2560 ฉบับปัจจุบันก็มีการกำหนดการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นไว้อย่างชัดเจนเช่นเดียวกัน เป็นการยกฐานะของส่วนท้องถิ่นที่รัฐธรรมนูญรับรองสถานะขององค์กรท้องถิ่น และส่วนตัวก็เชื่อมั่นในหลักการกระจายอำนาจ ดังนั้นเมื่อจบเนติบัญฑิตไทย ก็ไม่ไปสอบอัยการ หรือผู้พิพากษา แต่มุ่งเป้ามาสมัครเป็น ส.จ. เป็นสจ. สองสมัย และเป็นส.ส. และเป็นอดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา (นายก อบจ.) ครั้งเป็น ส.ส.สมัยแรกเมื่อปี 2535 ในรัฐบาลชวน หลีกภัยได้มีส่วนร่วมในการผลักดันพระราชบัญญัติสภาตำบล ที่ยกฐานะสภาตำบล ขึ้นมาเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) หลังจากที่มีนโยบายการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มอำนาจให้ประชาชนจะเป็นแนวทางที่จะลดช่องว่างระหว่างเมืองกับชนบท นี่คือการลดความเหลื่อมล้ำ เรามีเมืองใหม่ๆเกิดขึ้นเยอะมาก เมืองต่างๆก็โตอย่างรวดเร็ว ซึ่งกลไกรัฐแบบเดิมๆจะไม่สามารถดูแลได้ ยกตัวอย่างการจัดบริการด้านสุขภาพ ท้องถิ่นสามารถจัดบริการสาธารณะเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนได้หลากหลาย การให้บริการรักษาพยาบาลเบื้องต้น การตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น ที่เห็นได้ชัดเจนคือ งานป้องกันควบคุมโรคและงานส่งเสริมสุขภาพ ท้องถิ่นสามารถทำได้ดี วันนี้ต้องยอมรับว่าเรื่องการกระจายอำนาจฯสามารถก้าวมาได้เยอะมากแล้ว ตนเชื่อมั่นว่าเรื่องการกระจายอำนาจจะทำให้ท้องถิ่นเกิดความเข้มแข้ง การทำให้ชุมชนเข้มแข็ง แล้วสามารถยืนบนขาของตัวเองได้ จะนำไปสู่การทำประเทศชาติให้เข้มแข็งและนำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำในทุกๆด้านของประเทศ

อ่านรายละเอียด