วันพฤหัสบดีที่ 10 เมษายน 2568 เวลา 14.00 น. นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รัฐมนตรีช่วย ว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้เข้าตรวจเยี่ยมการดำเนินงานและมอบนโยบายแก่องค์การจัดการน้ำเสีย (อจน.) รัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ณ ศูนย์บริหารจัดการคุณภาพน้ำองค์การบริหารส่วนตำบลลำโพ อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี โดยมี นายเชษฐา โมสิกรัตน์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทยและประธานกรรมการองค์การจัดการน้ำเสีย นายเกียรติศักดิ์ ตรงศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี พร้อมด้วยคณะกรรมการองค์การจัดการน้ำเสีย ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย ผู้บริหารและพนักงานองค์การจัดการน้ำเสีย ร่วมให้การต้อนรับ ปัจจุบันปัญหาน้ำเสีย เป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ดังนั้น นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงมอบหมายให้องค์การจัดการน้ำเสียดำเนินงานแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง มีระบบและเข้าถึงทุกพื้นที่ โดยมุ่งเน้นการบำบัดน้ำเสีย อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่สร้างภาระให้กับชุมชน และสามารถนำน้ำทิ้งที่ผ่านการบำบัดแล้วได้คุณภาพกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้อย่างเหมาะสม รวมทั้ง มอบหมายให้องค์การจัดการน้ำเสียสนับสนุนชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้สามารถดูแล และลดปัญหาน้ำเสียได้อย่างครอบคลุมและรวดเร็ว โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีความสำคัญเร่งด่วน ภายใต้ 4 กลยุทธ์หลัก ได้แก่ การมีส่วนร่วมของชุมชน สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานรัฐ สร้างความรู้และความยั่งยืน และ มีแผนรับมือความเสี่ยงที่ชัดเจน ในการนี้ นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้กำหนดเป้าหมายขยายโครงการบำบัดน้ำเสียไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีปัญหารุนแรงจำนวน 464 แห่งทั่วประเทศ โดยในปีแรกจะดำเนินการทันทีอย่างน้อย 50 แห่ง ที่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่สุด รวมทั้ง ให้องค์การจัดการ น้ำเสียนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการดำเนินงานควบคู่กับการบูรณาการความร่วมมือกับกรุงเทพมหานคร เพื่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนที่ครอบคลุมและเห็นผลชัดเจน โดยจะดำเนินการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลความคืบหน้าทุกไตรมาส
เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2567 สำนักงานจัดการน้ำเสียสาขาสงขลา โดยนางสาวนิลลตา ภักดีวานิช เข้าร่วมประชุมคณะทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับจังหวัด ภายใต้โครงการพัฒนาแนวทางลดก๊าซเรือนกระจกระดับจังหวัด เพื่อมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero GHG Emissions) ณ ห้องประชุม CEO ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดสงขลา อำเภอ เมืองสงขลา จังหวัดสงขลา โดยมีนายมาหะมะพีสกรี วาแม รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานการประชุม ที่ประชุมรับทราบคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับจังหวัดสงขลาและความเป็นมาและรายละเอียดโครงการพัฒนาแนวทางลดก๊าซเรือนกระจกระดับจังหวัด เพื่อมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero GHG Emissions) และร่วมพิจารณาแผนการดำเนินงานโครงการพัฒนาแนวทางลดก๊าซเรือนกระจกระดับจังหวัด เพื่อมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero GHG Emissions) และรับฟังการบรรยายให้ความรู้จากศูนย์บริการวิชาการ สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์ เรื่องสถานการณ์โลกร้อนและความรู้พื้นฐานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กิจกรรมและเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการลดก๊าซเรือนกระจก
วันที่ 20 มีนาคม 2567 นายกิตติ ธีรสรเดช ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการน้ำเสีย และ น.ส. โรสรินทร์ อินทวงศ์ รักษาการผู้จัดการสำนักงานจัดการน้ำเสียสาขาพะเยา เข้าเยี่ยมชมสถานีผลิตน้ำดอยจอมทอง การประปาส่วนภูมิภาคสาขาพะเยา จังหวัดพะเยา
วันที่ 18 มีนาคม 2567 นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และคณะ เข้าสักการะอนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง และพบปะประชาชนชาวจังหวัดพะเยา โดยมี นายรัฐพล นราดิศร ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา พร้อมด้วยหน่วยงานท้องที่ ท้องถิ่น ตลอดจนประชาชนชาวจังหวัดพะเยา ให้การต้อนรับ ณ ลานอนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ในการนี้ นายกิตติ ธีรสรเดช ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการน้ำเสีย และ รักษาการผู้จัดการสำนักงานจัดการน้ำเสียสาขาพะเยา พร้อมด้วยพนักงาน เข้าร่วมให้การต้อนรับ
วันที่ 18 มีนาคม 2567 เวลา 13.30 – 15.00 น. คณะเจ้าหน้าที่ และผู้นำชุมชน จากองค์การบริหารส่วนตำบลในคลองบางปลากด จ.สมุทรปราการ เข้าเยี่ยมชมระบบ โดยแบ่งการเข้าเยี่ยมชมเป็น 3 รอบ รอบละ 93 คน จำนวน 2 รอบ และ 94 คน จำนวน 1 รอบ รวมทั้งหมด 280 คน ณ พื้นที่โรงปรับปรุงคุณภาพน้ำ เเละศูนย์การเรียนรู้ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร จังหวัดเพชรบุรี
วันที่ 18 มีนาคม 2567 เวลา 10.30 – 12.00 น. คณะเจ้าหน้าที่ จากสำนักข่าวกรองแห่งชาติ กรุงเทพฯ จำนวน 47 คน เข้าเยี่ยมชมระบบ ณ พื้นที่โรงปรับปรุงคุณภาพน้ำ เเละศูนย์การเรียนรู้ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร จังหวัดเพชรบุรี
เมื่อวันศุกร์ที่ 15 มีนาคม 2567 นายเกรียง กัลป์ตินันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เดินทางไปตรวจเยี่ยมการดำเนินงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพน้ำคลองแม่ข่า บริเวณชุมชนหัวฝาย และชุมชนกำแพงงาม จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีนายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย ผศ.ดร.วสันต์ จอมภักดี ที่ปรึกษาคณะกรรมการและคณะทำงานโครงการพัฒนาและแก้ไขปัญหาคลองแม่ข่า จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมผู้นำชุมชน และประชาชนจากชุมชมทั้ง 2 แห่ง ร่วมให้การต้อนรับ ในการนี้ นายเกรียง กัลป์ตินันท์ ได้มอบหมายให้องค์การจัดการน้ำเสียจัดฝึกอบรมการติดตั้งและดูแลรักษาถังดักไขมันให้กับประชาชนในชุมชน เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการลดความสกปรกของน้ำทิ้งจากครัวเรือน และเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่ช่วยสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพน้ำคลองแม่ข่า จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชนและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน อีกทั้งยังสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงมหาดไทยที่กำหนดให้การจัดการน้ำเสียชุมชนเป็นภารกิจสำคัญในระดับพื้นที่โดยมีเป้าหมายบำบัดน้ำเสียจากชุมชนให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้งชุมชนก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะอีกด้วย สามารถรับวีดีโอได้ที่นี่ : https://www.youtube.com/watch?v=v7vwFgQgFf8
เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2567 สำนักงานจัดการน้ำเสียสาขาสงขลา โดยนางสาวนิลลตา ภักดีวานิช เข้าร่วมประชุมคณะทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับจังหวัด ภายใต้โครงการพัฒนาแนวทางลดก๊าซเรือนกระจกระดับจังหวัด เพื่อมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero GHG Emissions) ณ ห้องประชุม CEO ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดสงขลา อำเภอ เมืองสงขลา จังหวัดสงขลา โดยมีนายมาหะมะพีสกรี วาแม รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานการประชุม ที่ประชุมรับทราบคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับจังหวัดสงขลาและความเป็นมาและรายละเอียดโครงการพัฒนาแนวทางลดก๊าซเรือนกระจกระดับจังหวัด เพื่อมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero GHG Emissions) และร่วมพิจารณาแผนการดำเนินงานโครงการพัฒนาแนวทางลดก๊าซเรือนกระจกระดับจังหวัด เพื่อมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero GHG Emissions) และรับฟังการบรรยายให้ความรู้จากศูนย์บริการวิชาการ สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์ เรื่องสถานการณ์โลกร้อนและความรู้พื้นฐานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กิจกรรมและเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการลดก๊าซเรือนกระจก
วันที่ 20 มีนาคม 2567 นายกิตติ ธีรสรเดช ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการน้ำเสีย และ น.ส. โรสรินทร์ อินทวงศ์ รักษาการผู้จัดการสำนักงานจัดการน้ำเสียสาขาพะเยา เข้าเยี่ยมชมสถานีผลิตน้ำดอยจอมทอง การประปาส่วนภูมิภาคสาขาพะเยา จังหวัดพะเยา
วันที่ 18 มีนาคม 2567 นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และคณะ เข้าสักการะอนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง และพบปะประชาชนชาวจังหวัดพะเยา โดยมี นายรัฐพล นราดิศร ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา พร้อมด้วยหน่วยงานท้องที่ ท้องถิ่น ตลอดจนประชาชนชาวจังหวัดพะเยา ให้การต้อนรับ ณ ลานอนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ในการนี้ นายกิตติ ธีรสรเดช ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการน้ำเสีย และ รักษาการผู้จัดการสำนักงานจัดการน้ำเสียสาขาพะเยา พร้อมด้วยพนักงาน เข้าร่วมให้การต้อนรับ
วันที่ 18 มีนาคม 2567 เวลา 13.30 – 15.00 น. คณะเจ้าหน้าที่ และผู้นำชุมชน จากองค์การบริหารส่วนตำบลในคลองบางปลากด จ.สมุทรปราการ เข้าเยี่ยมชมระบบ โดยแบ่งการเข้าเยี่ยมชมเป็น 3 รอบ รอบละ 93 คน จำนวน 2 รอบ และ 94 คน จำนวน 1 รอบ รวมทั้งหมด 280 คน ณ พื้นที่โรงปรับปรุงคุณภาพน้ำ เเละศูนย์การเรียนรู้ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร จังหวัดเพชรบุรี
วันที่ 18 มีนาคม 2567 เวลา 10.30 – 12.00 น. คณะเจ้าหน้าที่ จากสำนักข่าวกรองแห่งชาติ กรุงเทพฯ จำนวน 47 คน เข้าเยี่ยมชมระบบ ณ พื้นที่โรงปรับปรุงคุณภาพน้ำ เเละศูนย์การเรียนรู้ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร จังหวัดเพชรบุรี
เมื่อวันศุกร์ที่ 15 มีนาคม 2567 นายเกรียง กัลป์ตินันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เดินทางไปตรวจเยี่ยมการดำเนินงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพน้ำคลองแม่ข่า บริเวณชุมชนหัวฝาย และชุมชนกำแพงงาม จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีนายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย ผศ.ดร.วสันต์ จอมภักดี ที่ปรึกษาคณะกรรมการและคณะทำงานโครงการพัฒนาและแก้ไขปัญหาคลองแม่ข่า จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมผู้นำชุมชน และประชาชนจากชุมชมทั้ง 2 แห่ง ร่วมให้การต้อนรับ ในการนี้ นายเกรียง กัลป์ตินันท์ ได้มอบหมายให้องค์การจัดการน้ำเสียจัดฝึกอบรมการติดตั้งและดูแลรักษาถังดักไขมันให้กับประชาชนในชุมชน เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการลดความสกปรกของน้ำทิ้งจากครัวเรือน และเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่ช่วยสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพน้ำคลองแม่ข่า จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชนและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน อีกทั้งยังสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงมหาดไทยที่กำหนดให้การจัดการน้ำเสียชุมชนเป็นภารกิจสำคัญในระดับพื้นที่โดยมีเป้าหมายบำบัดน้ำเสียจากชุมชนให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้งชุมชนก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะอีกด้วย สามารถรับวีดีโอได้ที่นี่ : https://www.youtube.com/watch?v=v7vwFgQgFf8