องค์การจัดการน้ำเสีย กระทรวงมหาดไทย
ข่าวสารจากองค์กร
อัพเดทล่าสุด

เมื่อวันศุกร์ที่ 15 มีนาคม 2567 นายเกรียง กัลป์ตินันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เดินทางไปตรวจเยี่ยมการดำเนินงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพน้ำคลองแม่ข่า

เมื่อวันศุกร์ที่ 15 มีนาคม 2567 นายเกรียง กัลป์ตินันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เดินทางไปตรวจเยี่ยมการดำเนินงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพน้ำคลองแม่ข่า บริเวณชุมชนหัวฝาย และชุมชนกำแพงงาม จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีนายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย ผศ.ดร.วสันต์ จอมภักดี ที่ปรึกษาคณะกรรมการและคณะทำงานโครงการพัฒนาและแก้ไขปัญหาคลองแม่ข่า จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมผู้นำชุมชน และประชาชนจากชุมชมทั้ง 2 แห่ง ร่วมให้การต้อนรับ ในการนี้ นายเกรียง กัลป์ตินันท์ ได้มอบหมายให้องค์การจัดการน้ำเสียจัดฝึกอบรมการติดตั้งและดูแลรักษาถังดักไขมันให้กับประชาชนในชุมชน เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการลดความสกปรกของน้ำทิ้งจากครัวเรือน และเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่ช่วยสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพน้ำคลองแม่ข่า จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชนและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน อีกทั้งยังสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงมหาดไทยที่กำหนดให้การจัดการน้ำเสียชุมชนเป็นภารกิจสำคัญในระดับพื้นที่โดยมีเป้าหมายบำบัดน้ำเสียจากชุมชนให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้งชุมชนก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะอีกด้วย สามารถรับวีดีโอได้ที่นี่ : https://www.youtube.com/watch?v=v7vwFgQgFf8

อ่านรายละเอียด

นายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย เข้าร่วมการประชุมซักซ้อม แนวทางปฎิบัติเกี่ยวกับการยับยั้ง การแพร่ระบาดของโรคคิดตีอไวรัสโคโรนา2019 (โควิด19)

เมื่อวันที่9เมษายน 2563 นายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย เข้าร่วมการประชุมซักซ้อม แนวทางปฎิบัติเกี่ยวกับการยับยั้ง การแพร่ระบาดของโรคคิดตีอไวรัสโคโรนา2019(โควิด19) ที่ห้องประชุมราชสีห์ กระทรวงมหาดไทย โดยมีท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานการประชุม ร่วมกับท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ท่านนิพนธ์ บุญญามณี และ ท่านทรงศักดิ์ ทองศรี ผ่านระบบวีดีทัศน์ กับผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด และหัวหน้าหน่วยงานสังกัดกระทรวงมหาดไทย

อ่านรายละเอียด

“เดินหน้า” ช่วยชาวบ้าน สู้ภัยโควิด-19 นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) ร่วม นายสรรเพชญ บุญญามณี (ผู้ช่วยผู้ดำเนินงาน นายชวน หลีกภัย) เปิดครัวทำอาหารเลี้ยง รอบที่ 2 “ย้ำ”การช่วยเหลือปชช.ยังต้องทำอย่างต่อเนื่อง

“เดินหน้า” ช่วยชาวบ้าน สู้ภัยโควิด-19 นิพนธ์ ร่วม สรรเพชญ เปิดครัวทำอาหารเลี้ยง รอบที่ 2 “ย้ำ”การช่วยเหลือปชช.ยังต้องทำอย่างต่อเนื่อง เช้าวันนี้ 4 พ.ค.63 นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) พร้อมด้วยนายสรรเพชญ บุญญามณี ผู้ช่วยผู้ดำเนินงาน นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ร่วมกับภาคีเครือข่ายภาคประชาชน ร่วมจัดทำโรงครัวเพื่อร่วมผลิตอาหารข้าวบรรจุกล่อง พร้อมน้ำดื่ม นำไปแจกจ่ายช่วยเหลือให้กับพี่น้องประชาชนทั่วไปในชุมชน ซึ่งได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในขณะนี้ ณ บริเวณศูนย์ช่วยเหลือวัดและชาวบ้าน สนองพระดำริ เจ้าพระคุณฯ สมเด็จพระสังฆราช ณ วัดหัวป้อมในอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นรอบที่ 2 ของการแจกจ่ายอาหารให้แก่ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ โดยก่อนหน้านี้ รมช.มท. และนายสรรเพชญฯ ได้เปิดโรงครัวทำอาหารกล่องพร้อมรับประทาน พร้อมทั้งแจกจ่ายถุงยังชีพ ข้าวสาร น้ำดื่มฯลฯ เป็นประจำทุกวันแล้ว รมช.มท. กล่าวว่า “ครั้งนี้ได้มาเยี่ยมเยือนกลุ่มจิตอาสาในการทำข้าวกล่อง ให้กับชุมชนเทศบาลนครสงขลา หลังจากที่รัฐบาลได้มีมติต่อเนื่องไปอีกหนึ่งเดือน เห็นว่าพี่น้องประชาชนในเขตเทศบาลนครสงขลา ซึ่งเป็นชุมชนขนาดใหญ่ ถึง 55 ชุมชน ยังมีความเดือดร้อนในเรื่องของอาหารการกิน วันนี้จึงได้เข้ามาดูแลพี่น้องประชาชนของเหล่าจิตอาสา ซึ่งนับเป็นอีกเรี่ยวแรงหนึ่งที่มีความตั้งใจมาช่วย ผลิตอาหารกล่อง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในชุมชนเทศบาลนครสงขลา ซึ่งก็จะมีทีมงานนำไปแจกจ่ายให้กับประชาชนถึงในชุมชน โดยที่ไม่ต้องเดินทางมาที่โรงครัวฯแห่งนี้” พร้อมนี้ รมช.มท. ยังได้เชิญชวนภาคเอกชนที่มีความพร้อมให้มาร่วมด้วยช่วยกันผลิตถุงยังชีพหรืออาหารกล่องพร้อมรับประทานนำไปแจกจ่ายในพื้นที่ต่างๆ เพื่อช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 อีกด้วย

อ่านรายละเอียด

นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) ตั้งมั่นบรรเทาทุกข์เดินหน้าแจกถุงยังชีพ 2500 ชุด สู่ปัตตานี สู้ภัยโควิด พร้อมขอบคุณภาคปชช.ที่ไม่ทิ้งกัน ในยามยาก

สายวันนี้ 10 พ ค.2563 เวลา 09.00 น. นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) เดินทางไปยังสถานที่เก็บ และบรรจุถุงยังชีพ เพื่อตรวจความเรียบร้อยก่อนที่จะเริ่มทยอยขนขึ้นรถ ซึ่งได้รับการสนับสนุนรถจาก ศูนย์ป้องกันบรรเทาสาธารณภัย เขต12 สงขลา จำนวน 3 คันในการขนถุงยังชีพนำไปส่งยังจังหวัดปัตตานี นายนิพนธ์ บุญญามณี รมช.มท.กล่าวว่า สำหรับในวันนี้ จะได้นำถุงยังขีพไปแจกจ่ายให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ต่างๆ โดยเฉพาะในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ วันนี้จะนำลงในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ซึ่งเดิมคาดการณ์ว่าจะนำส่งทีเดียวใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ แต่เนื่องจากปริมาณน้ำหนักของยานพาหนะที่เตรียมไว้ไม่เพียงพอ จึงต้องทยอยจัดส่ง โดยในวันนี้ได้รับการสนับสนุนรถจาก ศูนย์ปภ.เขต12 สงขลา ในการนำรถมาข่วยบรรทุกข้าวสาร จำนวน 2500 ถุง ลงพื้นที่จังหวัดปัตตานี ส่วนวันพรุ่งนี้ก็จะทยอยส่งลงพื้นที่จังหวัดยะลา นราธิวาส สตูลและสงขลา ต่อไป รมช.มท.กล่าวต่อว่า จึงขอกราบเรียนพี่น้องประชาชนว่า สิ่งเหล่านี้ก็คือสิ่งของที่ภาคประชาชน ผู้มีกำลังช่วยเหลือกันในยามนี้ บริจาคทั้งปลากระป๋องและข้าวสาร ซึ่งตนมาดำเนินการแพ็คใส่ถุงยังชีพ เพื่อแก้ปัญหาบรรเทาความเดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชน โดยมีข้าวสาร 5 กิโล เป็นข้าวหอมจัสมิน และปลากระป๋อง 10 กระป๋อง นี่คือสิ่งที่พวกเราช่วยกันบรรเทาเยียวยาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนใน 5 จังหวัดชายแดนใต้ ก็ยังต้องเขิญชวนใครที่มีกำลังก็อยากให้ร่วมบริจาคสิ่งของ หรือจัดเป็นถุงยังชีพ และส่งไปให้ประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ที่ยังไม่สามารถประกอบอาชีพได้ อย่างน้อยทุกคนก็ยังมีข้าวรับประทาน ในช่วงที่ต้องฟันฝ่าวิกฤตโควิด-19 นี้อีกสักระยะหนึ่ง ซึ่งในส่วนของการรับบริจาคนั้น รมช.มท.กล่าวว่า ตนไม่ได้เปิดทั่วไป แต่ถ้าใครอยากมาร่วมบริจาคก็สามารถทำได้ หรือจะจัดกันเองก็ได้ในกลุ่ม ซึ่ง ยากจะให้ช่วยกันในหลายๆพื้นที่ ซึ่งอย่างหนึ่งที่ต้องใสขณะนี้คืิต้องเร่งทำในส่วนของการแจกข้าวสารอาหารแห้ง นอกจากในเรื่องของถุงยังขีพแล้ว ตนยังได้ร่วมกับเครือข่ายทั้งหมด ออกโรงครัวปรุงอาหารทุกวัน และยังทำอย่างต่อเนื่อง ในการดูแลพื้นที่ขุมชนเมือง และก็ยังเป็นสิ่งจำเป็นอยู่ ดังนั่นฝ้งรอบนอกเราจะแจกถุงยังขีพ ซึ่งก็พยายามทำทุกรูปแบบ เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในสภาวะอย่างนี้ โดยในเบื้องต้นตั้งใจจะทำทั้งหมด 50,000 ชุด แต่ขณะนี้เป็นที่น่ายินดีว่า เราได้ปลากระป๋องมาเพิ่ม ก็อาจจะมีการเพิ่มขึ้น นอกจากปลากระป๋อง 500,000 กระป๋องแล้ว ขณะนี้ได้เพิ่มอีก 50,000 กระป๋อง เป็นปลากระป๋องซ๊อส ก็จะพยายามจัดลำเลียงไปในพื้นที่ต่างๆให้รวดเร็วที่สุด จึงต้องขอบคุณทุกฝ่าย ที่มาช่วยกันก็จะได้จัดส่งลงพื้นที่ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เร็วที่สุด ทั้งนี้ส่วนหนึ่งได้มอบให้ ศอ.บต.นำลงพื้นที่ไปแจกจ่าย เพื่อที่จะข่วย กระจายออกไปให้ได้มากที่สุด

อ่านรายละเอียด

เปิดต้นแบบ “หน้ากากอนามัย” ผ่านมาตรฐาน สธ. สั่งท้องถิ่นเร่งผลิต 50 ล้านชิ้น แจกปชช.

วันนี้ 3 มี.ค.63 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีครั้งที่10/2563 มีการอนุมัติงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดทำหน้ากากอนามัยในการดำเนินโครงการพลังคนไทยร่วมใจป้องกันไวรัสโคโรนา 2019(COVID 19) ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 225 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดทำหน้ากากอนามัยจำนวน 50 ล้านชิ้นเพื่อแจกจ่ายให้แก่ประชาชนทั้งประเทศ โดยให้เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล ทั้ง 7,774 แห่งได้ดำเนินการผลิตเพื่อแจกจ่ายให้แก่ประชาชนในพื้นที่ที่รับผิดชอบ โดยหลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะรัฐมนตรี นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้นำต้นแบบหน้ากากอนามัย(แบบผ้า)​ที่กลุ่มชาวบ้านได้ผลิตขึ้นเพื่อใช้ในครัวเรือนเพื่อใช้ป้องกันไวรัสโคโรนา 2019(COVID 19) และ ฝุ่นละออง โดยนำแสดงเพื่อให้เป็นตัวอย่างการผลิตนำไปแจกจ่ายให้แก่ประชาชน ซึ่งต้นแบบหรือตัวอย่างที่นำมาแสดงแก่สื่อมวลชนนั้น ได้รับการรับรองมาตรฐานจากกระทรวงสาธารณสุข โดยภายในหน้ากาอนามัย(แบบผ้า)​นี้ ยังมีช่องสำหรับใส่แผ่นกรองความละเอียดเพื่อป้องกันได้มากขึ้น โดยกระทรวงมหาดไทยจะประสานไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เร่งดำเนินการโดยเร็ว พร้อมทั้ง ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดประสานไปยังเครือข่ายกลุ่มแม่บ้านและเครือข่ายOTOPชุมชน ให้ผลิตเพื่อรองรับการใช้งานให้ทันสถานการณ์เนื่องจากหน้ากากอนามัยที่มีจำหน่ายอยู่ในขณะนี้นั้นหาได้ยากขึ้น และยังเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายของประชาชนได้อีกด้วย

อ่านรายละเอียด

นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย หารือสวีเดน “การจัดการน้ำเสียของไทย” ยก อ้อมน้อย จ.สมุทรสาคร เป็นกรณีศึกษา

นิพนธ์ หารือสวีเดน “การจัดการน้ำเสียของไทย” ยก อ้อมน้อย จ.สมุทรสาคร เป็นกรณีศึกษา เมื่อเวลา 10.00 น. (ตามเวลาท้องถิ่น) วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563 สืบเนื่องจากการร่วมประชุมระดับสูงด้านความปลอดภัยทางถนน ครั้งที่ 3 (The 3rd Global Ministerial Conference on Road Safety) ณ กรุงสต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) พร้อมคณะ ได้ประชุมร่วมกับ นายกริสเตอร์ นิลส์สัน(Krister Nilsson)​ ผู้ช่วยรัฐมนตรีการค้าต่างประเทศและกิจการนอร์ดิก ประเทศสวีเดน เพื่อหารือถึงแนวทางการจัดการน้ำเสียของประเทศไทย ทั้งนี้เมื่อ พ.ศ.2554 ประเทศไทย โดยองค์การจัดการน้ำเสีย ได้รับการสนับสนุนด้านวิชาการจากรัฐบาลสวีเดนในการทบทวนความเหมาะสมและการออกแบบรายละเอียดสำหรับโครงการบำบัดน้ำเสียรวมพื้นที่เทศบาลนครอ้อมน้อย จังหวัดสมุทรสาคร โดยมีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นที่ปรึกษาโครงการ นายนิพนธ์ บุญญามณี รมช.มท. กล่าวอีกว่า การจัดการน้ำเสีย เป็นเรื่องจำเป็นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์การจัดการน้ำเสีย กระทรวงมหาดไทย จะต้องร่วมมือกันอย่างจริงจังเพื่อให้เกิดรูปธรรม โดยขณะนี้กำลังดำเนินการจัดทำแผนแม่บทเกี่ยวกับการจัดการน้ำเสียของทั้งประเทศ

อ่านรายละเอียด

การประชุมการบริหารจัดการภัยแล้งและเตรียมการเก็บน้ำฤดูฝนปี 2563

เมื่อวันที่2มีนาคม2563นายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย พร้อมด้วย รองผู้อำนวยการวิชาการและแผน เข้าร่วมการประชุมการบริหารจัดการภัยแล้งและเตรียมการเก็บน้ำฤดูฝนปี2563 ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล โดยมีพลเอกประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีมอบนโยบายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

อ่านรายละเอียด

นายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย เข้าร่วมการประชุมซักซ้อม แนวทางปฎิบัติเกี่ยวกับการยับยั้ง การแพร่ระบาดของโรคคิดตีอไวรัสโคโรนา2019 (โควิด19)

เมื่อวันที่9เมษายน 2563 นายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย เข้าร่วมการประชุมซักซ้อม แนวทางปฎิบัติเกี่ยวกับการยับยั้ง การแพร่ระบาดของโรคคิดตีอไวรัสโคโรนา2019(โควิด19) ที่ห้องประชุมราชสีห์ กระทรวงมหาดไทย โดยมีท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานการประชุม ร่วมกับท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ท่านนิพนธ์ บุญญามณี และ ท่านทรงศักดิ์ ทองศรี ผ่านระบบวีดีทัศน์ กับผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด และหัวหน้าหน่วยงานสังกัดกระทรวงมหาดไทย

อ่านรายละเอียด

“เดินหน้า” ช่วยชาวบ้าน สู้ภัยโควิด-19 นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) ร่วม นายสรรเพชญ บุญญามณี (ผู้ช่วยผู้ดำเนินงาน นายชวน หลีกภัย) เปิดครัวทำอาหารเลี้ยง รอบที่ 2 “ย้ำ”การช่วยเหลือปชช.ยังต้องทำอย่างต่อเนื่อง

“เดินหน้า” ช่วยชาวบ้าน สู้ภัยโควิด-19 นิพนธ์ ร่วม สรรเพชญ เปิดครัวทำอาหารเลี้ยง รอบที่ 2 “ย้ำ”การช่วยเหลือปชช.ยังต้องทำอย่างต่อเนื่อง เช้าวันนี้ 4 พ.ค.63 นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) พร้อมด้วยนายสรรเพชญ บุญญามณี ผู้ช่วยผู้ดำเนินงาน นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ร่วมกับภาคีเครือข่ายภาคประชาชน ร่วมจัดทำโรงครัวเพื่อร่วมผลิตอาหารข้าวบรรจุกล่อง พร้อมน้ำดื่ม นำไปแจกจ่ายช่วยเหลือให้กับพี่น้องประชาชนทั่วไปในชุมชน ซึ่งได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในขณะนี้ ณ บริเวณศูนย์ช่วยเหลือวัดและชาวบ้าน สนองพระดำริ เจ้าพระคุณฯ สมเด็จพระสังฆราช ณ วัดหัวป้อมในอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นรอบที่ 2 ของการแจกจ่ายอาหารให้แก่ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ โดยก่อนหน้านี้ รมช.มท. และนายสรรเพชญฯ ได้เปิดโรงครัวทำอาหารกล่องพร้อมรับประทาน พร้อมทั้งแจกจ่ายถุงยังชีพ ข้าวสาร น้ำดื่มฯลฯ เป็นประจำทุกวันแล้ว รมช.มท. กล่าวว่า “ครั้งนี้ได้มาเยี่ยมเยือนกลุ่มจิตอาสาในการทำข้าวกล่อง ให้กับชุมชนเทศบาลนครสงขลา หลังจากที่รัฐบาลได้มีมติต่อเนื่องไปอีกหนึ่งเดือน เห็นว่าพี่น้องประชาชนในเขตเทศบาลนครสงขลา ซึ่งเป็นชุมชนขนาดใหญ่ ถึง 55 ชุมชน ยังมีความเดือดร้อนในเรื่องของอาหารการกิน วันนี้จึงได้เข้ามาดูแลพี่น้องประชาชนของเหล่าจิตอาสา ซึ่งนับเป็นอีกเรี่ยวแรงหนึ่งที่มีความตั้งใจมาช่วย ผลิตอาหารกล่อง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในชุมชนเทศบาลนครสงขลา ซึ่งก็จะมีทีมงานนำไปแจกจ่ายให้กับประชาชนถึงในชุมชน โดยที่ไม่ต้องเดินทางมาที่โรงครัวฯแห่งนี้” พร้อมนี้ รมช.มท. ยังได้เชิญชวนภาคเอกชนที่มีความพร้อมให้มาร่วมด้วยช่วยกันผลิตถุงยังชีพหรืออาหารกล่องพร้อมรับประทานนำไปแจกจ่ายในพื้นที่ต่างๆ เพื่อช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 อีกด้วย

อ่านรายละเอียด

นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) ตั้งมั่นบรรเทาทุกข์เดินหน้าแจกถุงยังชีพ 2500 ชุด สู่ปัตตานี สู้ภัยโควิด พร้อมขอบคุณภาคปชช.ที่ไม่ทิ้งกัน ในยามยาก

สายวันนี้ 10 พ ค.2563 เวลา 09.00 น. นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) เดินทางไปยังสถานที่เก็บ และบรรจุถุงยังชีพ เพื่อตรวจความเรียบร้อยก่อนที่จะเริ่มทยอยขนขึ้นรถ ซึ่งได้รับการสนับสนุนรถจาก ศูนย์ป้องกันบรรเทาสาธารณภัย เขต12 สงขลา จำนวน 3 คันในการขนถุงยังชีพนำไปส่งยังจังหวัดปัตตานี นายนิพนธ์ บุญญามณี รมช.มท.กล่าวว่า สำหรับในวันนี้ จะได้นำถุงยังขีพไปแจกจ่ายให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ต่างๆ โดยเฉพาะในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ วันนี้จะนำลงในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ซึ่งเดิมคาดการณ์ว่าจะนำส่งทีเดียวใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ แต่เนื่องจากปริมาณน้ำหนักของยานพาหนะที่เตรียมไว้ไม่เพียงพอ จึงต้องทยอยจัดส่ง โดยในวันนี้ได้รับการสนับสนุนรถจาก ศูนย์ปภ.เขต12 สงขลา ในการนำรถมาข่วยบรรทุกข้าวสาร จำนวน 2500 ถุง ลงพื้นที่จังหวัดปัตตานี ส่วนวันพรุ่งนี้ก็จะทยอยส่งลงพื้นที่จังหวัดยะลา นราธิวาส สตูลและสงขลา ต่อไป รมช.มท.กล่าวต่อว่า จึงขอกราบเรียนพี่น้องประชาชนว่า สิ่งเหล่านี้ก็คือสิ่งของที่ภาคประชาชน ผู้มีกำลังช่วยเหลือกันในยามนี้ บริจาคทั้งปลากระป๋องและข้าวสาร ซึ่งตนมาดำเนินการแพ็คใส่ถุงยังชีพ เพื่อแก้ปัญหาบรรเทาความเดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชน โดยมีข้าวสาร 5 กิโล เป็นข้าวหอมจัสมิน และปลากระป๋อง 10 กระป๋อง นี่คือสิ่งที่พวกเราช่วยกันบรรเทาเยียวยาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนใน 5 จังหวัดชายแดนใต้ ก็ยังต้องเขิญชวนใครที่มีกำลังก็อยากให้ร่วมบริจาคสิ่งของ หรือจัดเป็นถุงยังชีพ และส่งไปให้ประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ที่ยังไม่สามารถประกอบอาชีพได้ อย่างน้อยทุกคนก็ยังมีข้าวรับประทาน ในช่วงที่ต้องฟันฝ่าวิกฤตโควิด-19 นี้อีกสักระยะหนึ่ง ซึ่งในส่วนของการรับบริจาคนั้น รมช.มท.กล่าวว่า ตนไม่ได้เปิดทั่วไป แต่ถ้าใครอยากมาร่วมบริจาคก็สามารถทำได้ หรือจะจัดกันเองก็ได้ในกลุ่ม ซึ่ง ยากจะให้ช่วยกันในหลายๆพื้นที่ ซึ่งอย่างหนึ่งที่ต้องใสขณะนี้คืิต้องเร่งทำในส่วนของการแจกข้าวสารอาหารแห้ง นอกจากในเรื่องของถุงยังขีพแล้ว ตนยังได้ร่วมกับเครือข่ายทั้งหมด ออกโรงครัวปรุงอาหารทุกวัน และยังทำอย่างต่อเนื่อง ในการดูแลพื้นที่ขุมชนเมือง และก็ยังเป็นสิ่งจำเป็นอยู่ ดังนั่นฝ้งรอบนอกเราจะแจกถุงยังขีพ ซึ่งก็พยายามทำทุกรูปแบบ เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในสภาวะอย่างนี้ โดยในเบื้องต้นตั้งใจจะทำทั้งหมด 50,000 ชุด แต่ขณะนี้เป็นที่น่ายินดีว่า เราได้ปลากระป๋องมาเพิ่ม ก็อาจจะมีการเพิ่มขึ้น นอกจากปลากระป๋อง 500,000 กระป๋องแล้ว ขณะนี้ได้เพิ่มอีก 50,000 กระป๋อง เป็นปลากระป๋องซ๊อส ก็จะพยายามจัดลำเลียงไปในพื้นที่ต่างๆให้รวดเร็วที่สุด จึงต้องขอบคุณทุกฝ่าย ที่มาช่วยกันก็จะได้จัดส่งลงพื้นที่ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เร็วที่สุด ทั้งนี้ส่วนหนึ่งได้มอบให้ ศอ.บต.นำลงพื้นที่ไปแจกจ่าย เพื่อที่จะข่วย กระจายออกไปให้ได้มากที่สุด

อ่านรายละเอียด

เปิดต้นแบบ “หน้ากากอนามัย” ผ่านมาตรฐาน สธ. สั่งท้องถิ่นเร่งผลิต 50 ล้านชิ้น แจกปชช.

วันนี้ 3 มี.ค.63 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีครั้งที่10/2563 มีการอนุมัติงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดทำหน้ากากอนามัยในการดำเนินโครงการพลังคนไทยร่วมใจป้องกันไวรัสโคโรนา 2019(COVID 19) ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 225 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดทำหน้ากากอนามัยจำนวน 50 ล้านชิ้นเพื่อแจกจ่ายให้แก่ประชาชนทั้งประเทศ โดยให้เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล ทั้ง 7,774 แห่งได้ดำเนินการผลิตเพื่อแจกจ่ายให้แก่ประชาชนในพื้นที่ที่รับผิดชอบ โดยหลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะรัฐมนตรี นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้นำต้นแบบหน้ากากอนามัย(แบบผ้า)​ที่กลุ่มชาวบ้านได้ผลิตขึ้นเพื่อใช้ในครัวเรือนเพื่อใช้ป้องกันไวรัสโคโรนา 2019(COVID 19) และ ฝุ่นละออง โดยนำแสดงเพื่อให้เป็นตัวอย่างการผลิตนำไปแจกจ่ายให้แก่ประชาชน ซึ่งต้นแบบหรือตัวอย่างที่นำมาแสดงแก่สื่อมวลชนนั้น ได้รับการรับรองมาตรฐานจากกระทรวงสาธารณสุข โดยภายในหน้ากาอนามัย(แบบผ้า)​นี้ ยังมีช่องสำหรับใส่แผ่นกรองความละเอียดเพื่อป้องกันได้มากขึ้น โดยกระทรวงมหาดไทยจะประสานไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เร่งดำเนินการโดยเร็ว พร้อมทั้ง ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดประสานไปยังเครือข่ายกลุ่มแม่บ้านและเครือข่ายOTOPชุมชน ให้ผลิตเพื่อรองรับการใช้งานให้ทันสถานการณ์เนื่องจากหน้ากากอนามัยที่มีจำหน่ายอยู่ในขณะนี้นั้นหาได้ยากขึ้น และยังเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายของประชาชนได้อีกด้วย

อ่านรายละเอียด

นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย หารือสวีเดน “การจัดการน้ำเสียของไทย” ยก อ้อมน้อย จ.สมุทรสาคร เป็นกรณีศึกษา

นิพนธ์ หารือสวีเดน “การจัดการน้ำเสียของไทย” ยก อ้อมน้อย จ.สมุทรสาคร เป็นกรณีศึกษา เมื่อเวลา 10.00 น. (ตามเวลาท้องถิ่น) วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563 สืบเนื่องจากการร่วมประชุมระดับสูงด้านความปลอดภัยทางถนน ครั้งที่ 3 (The 3rd Global Ministerial Conference on Road Safety) ณ กรุงสต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) พร้อมคณะ ได้ประชุมร่วมกับ นายกริสเตอร์ นิลส์สัน(Krister Nilsson)​ ผู้ช่วยรัฐมนตรีการค้าต่างประเทศและกิจการนอร์ดิก ประเทศสวีเดน เพื่อหารือถึงแนวทางการจัดการน้ำเสียของประเทศไทย ทั้งนี้เมื่อ พ.ศ.2554 ประเทศไทย โดยองค์การจัดการน้ำเสีย ได้รับการสนับสนุนด้านวิชาการจากรัฐบาลสวีเดนในการทบทวนความเหมาะสมและการออกแบบรายละเอียดสำหรับโครงการบำบัดน้ำเสียรวมพื้นที่เทศบาลนครอ้อมน้อย จังหวัดสมุทรสาคร โดยมีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นที่ปรึกษาโครงการ นายนิพนธ์ บุญญามณี รมช.มท. กล่าวอีกว่า การจัดการน้ำเสีย เป็นเรื่องจำเป็นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์การจัดการน้ำเสีย กระทรวงมหาดไทย จะต้องร่วมมือกันอย่างจริงจังเพื่อให้เกิดรูปธรรม โดยขณะนี้กำลังดำเนินการจัดทำแผนแม่บทเกี่ยวกับการจัดการน้ำเสียของทั้งประเทศ

อ่านรายละเอียด

การประชุมการบริหารจัดการภัยแล้งและเตรียมการเก็บน้ำฤดูฝนปี 2563

เมื่อวันที่2มีนาคม2563นายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย พร้อมด้วย รองผู้อำนวยการวิชาการและแผน เข้าร่วมการประชุมการบริหารจัดการภัยแล้งและเตรียมการเก็บน้ำฤดูฝนปี2563 ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล โดยมีพลเอกประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีมอบนโยบายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

อ่านรายละเอียด